<< Go Back

                      เพื่อให้นักเรียนสามารถสำรวจ ตรวจสอบ ระบุชนิดของหินตะกอน อธิบายลักษณะ เนื้อหินตะกอน   แหล่งที่พบและประโยชน์ของหินตะกอน

1. ชุดกล่องตัวอย่างหินและแร่ 1 ชุด 2. กรดไฮโดรคลอริก 1.0 โมล/ลิตร 10 cm3
3. หลอดหยด  2 อัน 4. ปากคีบโลหะ 1 อัน
5. แว่นขยาย1 อัน

                     1. สังเกต และบันทึกลักษณะทางกายภาพของหินตะกอนตัวอย่างที่ทราบชนิดด้วยตาเปล่าและแว่นขยาย
                     2. หยดกรดเกลือลงบนหินตะกอนตัวอย่าง สังเกตและบันทึกการเปลี่ยนแปลง
                     3. ศึกษาหินในท้องถิ่น โดยเปรียบเทียบกับหินตัวอย่างในห้องปฏิบัติการ

                     ผลการทดลองที่ได้ คือ

หิน
หมายเลขที่

ลักษณะเนื้อหิน

การทำปฏิกิริยากับ
กรดไฮโดรคลอริก

ชื่อหิน

1

เนื้อหยาบ มีหลายสี น้ำตาล แดง
ม่วง ประกอบด้วยกรวด เส้นผ่าน
ศูนย์กลางใหญ่กว่า 0.2 cm ฝังตัวอยู่ในเนื้อ

ไม่ทำปฏิกิริยา

หินกรวดมน

2

เนื้อหยาบ สีน้ำตาล ประกอบด้วย
เศษหินลักษณะเป็นเหลี่ยมเป็นมุม
ในเนื้อพื้นที่ละเอียด

ไม่ทำปฏิกิริยา

หินกรวด
เหลี่ยม

3

เนื้อหยาบปานกลาง มีหลายสี เช่น
แดง น้ำตาลแดง น้ำตาลเหลือง เทา
ขาว ประกอบด้วยเศษหินกลม  หรือเหลี่ยมขนาดเม็ดทราย

ไม่ทำปฏิกิริยา

หินทราย

4

เนื้อละเอียด สีน้ำตาลแดงประกอบ
ด้วยตะกอนขนาดทรายแป้ง
การแข็งตัวเป็นหินคล้ายกับหินทราย แต่หินทรายแป้งจะมีเนื้อละเอียดกว่า

ไม่ทำปฏิกิริยา

หินทรายแป้ง

5 เนื้อละเอียด มีหลายสี เช่น ดำ เทา
น้ำตาล แดง มีโครงสร้างเป็นชั้น
บาง แตกง่าย
ไม่ทำปฏิกิริยา หินดินดาน
6 เนื้อแน่น ละเอียด มีสีเทาจาง – เข้ม ดำ ประกอบด้วยแร่แคลไซต์ ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดร-คลอริก และมีฟองแก๊สผุดขึ้น หินปูน

สรุปได้ว่า

             1. หินตะกอนมีลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากแหล่งกำเนิดและกระบวนการเกิดของตะกอนแตกต่างกันจึงทำให้หินตะกอนมีสมบัติต่างกันเนื้อของหินตะกอน  ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเนื้อผสมประกอบด้วยตะกอนตั้งแต่เม็ดหยาบจนถึงเม็ดละเอียด
             2. การนำหินตะกอนมาใช้ประโยชน์จึงแตกต่างกันไปตามสมบัติของหินตะกอนนั้น เช่น หินทรายแป้ง เนื้อละเอียด มีขนาดเม็ดตะกอนระหว่าง 0.003 – 0.062 มิลลิเมตร ใช้ทำหินลับมีด หินประดับ พบมากในบริเวณที่ราบสูงโคราช


<< Go Back