ตะกอน คือ อินทรีย์วัตถุ หรือ อนินทรีย์วัตถุที่มีขนาดเล็กเช่น กรวด หิน ดิน ทราย ที่เกิดจากกระบวนการสลายตามธรรมชาติ ถูกพัดพาปะปนกับกระแสน้ำ และทับถมกันบริเวณด้านล่างที่กระแสน้ำไหลผ่าน ตะกอนมีหลายชนิดขึ้นอยู่กับสิ่งปะปนในกระแสน้ำนั้น ๆ เช่น ดิน หิน ทราย หรือตะกอนที่เป็นสารอินทรีย์ที่ย่อยสลาย ลักษณะเป็นสีคล้ำ มีความหยุ่น เรียกว่า โคลน อีกความหมายหนึ่งคือ อนุภาคที่แยกตัวออกมาจากสารละลาย เมื่อทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง เช่น น้ำผสมผงแป้ง เมื่อทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง ผงแป้งจะตกตะกอนลงสู่ด้านล่าง เห็นเป็นชั้นแป้งและน้ำอย่างชัดเจน
ลักษณะ
นักสมุทรศาสตร์ศึกษาตะกอนโดยการจำแนกลักษณะของตะกอนตามแหล่งที่มาดังนี้
1.
ตะกอนที่มาจากแผ่นดิน — เป็นตะกอนที่มีจำนวนมากที่สุดซึ่งจะมีแร่ควอตซ์ (ซึ่งแร่ชนิดนี้เป็นองค์ประกอบหลักของหินแกรนิต) และดินเหนียว (เป็นส่วนที่สลายมาจากแร่เฟลด์สปาร์) เป็นองค์ประกอบหลัก โดยตะกอนเหล่านี้จะถูกพัดพาลงมหาสมุทรโดย แม่น้ำ ลำธาร การชะล้างโดยน้ำฝน และลม ในแต่ละปีจะมีตะกอนจากแผ่นดินลงสู่มหาสมุทรจำนวนประมาณ 15,000 ล้านเมตริกตัน จากการพัดพาของแม่น้ำ และ อีกประมาณ 100 ล้านเมตริกตันถูกพัดพาโดยลม ตะกอนดินเหนียว เป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กจะถูกพัดพาไปได้ไกล และตกลงช้า ๆ สู่พื้นมหาสมุทรในที่สุด
2. ตะกอนที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต — เป็นตะกอนที่มี[ซิลิกา] และ Calcareous เป็นองค์ประกอบหลักซึ่งสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลนั้นสามารถสกัดเอาซิลิคอน และแคลเซียม ที่ละลายอยู่ในน้ำมาสร้างเปลือกหรือโครงกระดูกของมัน ตะกอนเหล่านี้บางส่วนมาจากเปลือกหอยขนาดใหญ่ ก้อนปะการัง และสิ่งมีชีวิตที่มีผลผลิตสูงในทะเลคือพวกแพลงก์ตอน ซึ่งเมื่อชีวิตเหล่านี้ตายลงเปลือกหรือซากของมันก็จะค่อย ๆ จมลงสู่พื้น สะสมเป็นชั้นหนาที่บริเวณพื้นมหาสมุทร ตะกอนที่มาจากสิ่งมีชีวิตในทะเลนั้นจะมีปริมาณมากรองลงมาจากตะกอนที่มาจากแผ่นดิน
3.
ตะกอนที่เกิดในทะเล — ได้แก่ พวกแร่ธาตุต่าง ๆ ที่สามารถตกตะกอนโดยตรงจากน้ำทะเล ซึ่งแร่ธาตุต่าง ๆ รวมทั้งหินและตะกอนที่จมตัวอยู่ในน้ำ
https://th.wikipedia.org/wiki/ตะกอน
|