<< Go Back

                      เพื่อให้นักเรียนสามารถสำรวจ ตรวจสอบลักษณะทั่วไปของ หิน  ทั้งทางกายภาพและทางเคมีของหินในท้องถิ่นได้

1. ก้อนหินในท้องถิ่นที่มีลักษณะแตกต่างกัน  3 ก้อน 2. แว่นขยาย  1 อัน
3. หลอดทดลองขนาดกลาง 3 หลอด 4. กรดไฮโดรคลอริก 1.0 โมล/ลิตร 15 cm3
5. ค้อน 1 อัน

                       1. สังเกตลักษณะทั่วไปของหินด้วยตาเปล่า และใช้แว่นขยายส่องดูเนื้อหิน บันทึกผล
                       2. ทดลองทุบ ขูด กะเทาะ สังเกตลักษณะ บันทึกผล
                       3. หยดกรดเกลือเจือจางลงบนหินแต่ละชนิด สังเกต และบันทึกผล

                       ผลลัพธ์ที่ได้ คือ

ก้อนหิน ก้อนที่

ผลการสังเกตลักษณะทางกายภาพ

เมื่อหยดกรดไฮโดรคลอริก
ก้อนหิน ใส่ลงไป

มีฟองแก๊ส

ไม่มีฟองแก๊ส

1

เนื้อแน่นเป็นเนื้อเดียวกันลักษณะสาก
มีสีเทาเข้ม แข็ง

-

2

เนื้อหยาบ สีแดงปนน้ำตาล แข็ง

-

3

เนื้อเนียน สีเทา มีริ้วสีขาว

-

สรุปได้ว่า

                       1. หินตัวอย่างในท้องถิ่นมีลักษณะทางกายภาพแตกต่างกันและเมื่อทดสอบสมบัติทางเคมีกับ กรดไฮโดรคลอริก   หินบางชนิดทำปฏิกิริยา บางชนิดไม่ทำปฏิกิริยา
                       2. สามารถจำแนกหินได้หลายกลุ่ม โดยใช้เกณฑ์ทางกายภาพ เช่น สี ลักษณะของเนื้อหินและทางเคมี เช่น ทำหรือไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับกรดไฮโดรคลอริก


<< Go Back