<< Go Back

การเคลื่อนที่ของตะกอนในทางน้ำ

            ความสามารถของทางน้ำที่จะเคลื่อนย้าย และทำให้เกิดการสะสมตัวของตะกอน ขึ้นกับ ความเร็วของกระแสน้ำ และชนิดของตะกอนที่ทางน้ำพามา

            ในช่วงฤดูน้ำหลาก หรือช่วงหน้าฝน สำหรับประเทศไทย (แต่สำหรับเขตหนาวช่วงฤดูน้ำหลากคือช่วงฤดูร้อน) ปริมาณน้ำมาก มีความเร็วของกระแสน้ำสูงขึ้น และทำให้ทางน้ำมีความสามารถในการพาตะกอนได้มากขึ้น ตะกอนที่เป็นของแข็ง และประจุต่างๆที่ละลายในน้ำ เรียกรวมว่า วัตถุนำพาของทางน้ำ สามารถเคลื่อนที่ได้ 3 ลักษณะใหญ่ๆ ที่แตกต่างกันดังนี้

            1) การแขวนลอย และเป็นอนุภาคที่ละลายน้ำ วัสดุแขวนลอยส่วนมากเป็นตะกอนขนาดเคลย์ อาจมี ตะกอนขนาดตะกอนทรายแป้งบ้าง วัสดุแขวนลอยเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำในทางน้ำขุ่น ส่วน อนุภาคที่ละลายน้ำ ประกอบด้วย Ca2+, K+, Cl-, SO42- และ CO32- วัสดุแขวนลอยจะ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วของกระแสน้ำ
            2) การเคลื่อนที่เป็นช่วง ส่วนใหญ่เป็นการเคลื่อนที่ของตะกอนขนาดทราย การเคลื่อนที่คล้ายกับ ตะกอนทรายกระโดดไปตามพื้นท้องน้ำ
            3) วัตถุพัดพาบนพื้นท้องน้ำ เป็นการเคลื่อนที่ของตะกอนที่มีขนาดใหญ๋มากกว่าตะกอนกรวด เคลื่อนที่โดยการ ไถล ครูด และกลิ้ง บริเวณพื้นน้ำ


 


                     http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/2227-00/

<< Go Back