<< Go Back

ไดโอด เป็นอุปกรณ์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ p-n สามารถควบคุมให้กระแสไฟฟ้าจากภายนอกไหลผ่านตัวมันได้ทิศทางเดียว ไดโอดประกอบด้วยขั้ว 2 ขั้ว คือ แอโนด (Anode ; A) ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด และ แคโธด (Cathode ; K) ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด ดังรูป

ไดโอดเปล่งแสง (LED)

รูปที่ 3.6 ไดโอดเปล่งแสง หรือหลอด LED

ไดโอดเปล่งแสง  (light-emitting diode : LED) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีขั้วต่อใช้งาน 2 ขั้ว คือขั้วแอโนด (Anode: A) หรือขั้วบวก ขั้วแคโธด (Cathode: K) หรือขั้วลบ หลักการทำงานมาจากพื้นฐานของไดโอดคือมีสานกึ่งตัวนำชนิด P และ N ต่อชนกัน มีคุณสมบัติยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลได้ทางเดียว ตัวหลอด LED นั้นถือเป็นไดโอดชนิดหนึ่ง เมื่อต่อแบบไบอัสตรง (ต่อถูกขั้ว) มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน จะปล่อยแสงที่มองเห็นได้ออกมา สีของแสงนั้นขึ้นอยู่กับสารที่นำมาทำหลอด LED

การดูขั้วของหลอด LED นั้น สามารถดูได้จากความยาวของขา โดยขายาว จะเป็นขาแอโนด หรือขั้วบวก ขาที่สั้นกว่า จะเป็นขาแคโธด หรือขั้วลบ และสามารถดูได้จากรอยตัดบนฐานของหลอด LED โดยด้านที่เป็นขั้วลบ จะมีรอยตัดออกไป

รูปที่ 3.7 สัญลักษณ์ของหลอด LED ในวงจรไฟฟ้า

ตัวถังของหลอด LED นั้น มีหลายรูปแบบ หลายขนาด ที่ใช้ในชุดบทความนี้ เป็นขนาด 5 มิลิเมตรแบบกลม นอกจากนี้ยังมีแบบสีทึบ และสีใส โดยสีใสจะให้ความสว่างมากกว่า และราคาแพงกว่าแบบสีทึบ

https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet7/trans.htm

<< Go Back