รังสีเป็นพลังงานที่ปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดเช่น ความร้อนหรือแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ คลื่นไมโครเวฟจากเตาไมโครเวฟ รังสีเอกซ์จากหลอดเอกซเรย์ และรังสีแกมมาจากสารกัมมันตรังสี เป็นต้น รังสีหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแต่ละชนิดมีความแตกต่างที่ความถี่และความยาวคลื่นได้แก่ คลื่นความร้อน คลื่นวิทยุ แสงอินฟาเรด แสงแดด แสงอัลต้าไวโอเลต รังสีเอกซ์และรังสีแกมมา (เรียงจากความถี่ต่ำมาสูง)
แถบพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
รังสีจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ รังสีก่อประจุ (ionizing radiation) และไม่ก่อประจุ (non-ionizing radiation) ในทางรังสีวิทยาส่วนมากจะใช้รังสีก่อประจุ ซึ่งได้แก่ รังสีเอกซ์ และ รังสีแกมมา ในการวินิจฉัยและรักษาโรค เมื่อพิจารณารังสีนี้ในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารังสีนี้อาจเรียกว่า โฟตอน ซึ่งเป็นกลุ่มพลังงานไม่มีประจุไฟฟ้า เดินทางด้วยความเร็วแสง 300,000 กม/วินาที หรืออาจพิจารณาในรูปของ อนุภาค โดยจะพิจารณาในส่วนประกอบที่เป็นโครงสร้างอะตอม (โปรตอน อิเลคตรอน เป็นต้น) ซึ่งอนุภาคเหล่านี้จะมีมวลและพลังงานจลน์ในการเคลื่อนที่
http://www.mt.mahidol.ac.th/e-learning/instrumentation/NMP_chap1_47/page/2_radiation.htm
|