<< Go Back

กระจกนูน คือ  กระจกเงาที่มีผิวโค้งเป็นผิวสะท้อนแสง  รังสีตกกระทบและรังสีสะท้อนอยู่คนละด้านกับจุดศูนย์กลาง
ความโค้ง  ด้านนูนเป็นด้านหน้า  ด้านเว้าเป็นด้านหลัง
กระจกนูน  มีสมบัติกระจายแสง

ตัวอย่างกระจกนูนในชีวิตประจำวัน เช่น

1. กระจกข้างของรถยนต์

2. กระจกตามทางโค้ง

3. กระจกข้างรถจักยานยนต์

    

การวาดภาพที่เกิดจากกระจกโค้ง
1. ลากเส้นแกนมุขสำคัญ
2. เขียนกระจกที่ต้องการ แล้วกำหนดจุด C, O และ F
3. วาดวัตถุ ณ ตำแหน่งที่ต้องการ
4. จากจุดยอดของวัตถุ ลากรังสีขนานกับเส้นแกนมุขสำคัญ ไปตกกระทบกระจก แล้วเขียนรังสีสะท้อนผ่านจุดโฟกัส F
5. จากจุดยอดของวัตถุลากรังสีผ่านจุดศูนย์กลางความโค้ง รังสีสะท้อนจะผ่านทางเดิม รังสีนี้ตัดกับรังสีในข้อ 4 ที่จุดใด ตำแหน่งนั้นคือจุดที่เกิดภาพ

ภาพที่เกิดจากกระจกนูน
ภาพที่เกิดจากกระจกนูนจะได้ภาพเสมือนเสมอ ไม่ว่าจะวางวัตถุที่ระยะใดๆ ซึ่งภาพเสมือนที่ได้ จะมีขนาดเล็กกว่าวัตถุ และอยู่หลังกระจกเสมอ

 

http://physicsworld.nanacity.com/physicsworld/lesson/light11.htm

<< Go Back