1. เพื่อให้นักเรียนสามารถทดลองและอธิบายลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุได้
2. เพื่อให้นักเรียนสำรวจลักษณะการเคลื่อนที่ของวัตถุในชีวิตประจำวัน
1. เตรียมกระดาษขนาดเท่ากัน 2 แผ่น โดยบีบแผ่นหนึ่งให้เป็นก้อนเล็ก ปล่อยแผ่นกระดาษ และก้อนกระดาษพร้อมกัน จากที่ระดับสูงเหนือพื้นห้องประมาณ 1.5 เมตรสังเกตและบันทึกลักษณะการตกของกระดาษ
2. ขว้างหรือโยนลูกบอลออกไปในแนวต่างๆ สังเกตและบันทึกการเคลื่อนที่ของลูกบอลในแต่ละกรณี
3. ผูกลูกบอลด้วยด้ายยาวประมาณ 1 เมตร จับอีกปลายหนึ่งของด้ายให้แน่นแล้วเหวี่ยงลูกบอลให้เคลื่อนที่วนรอบมือที่จับ สังเกตและบันทึกการเคลื่อนที่ของลูกบอล
4. นำลูกบอลที่ผูกด้ายในข้อ 3 มาแขวนให้ลูกบอลห้อยอยู่ในแนวดิ่ง แกว่งลูกบอลไปมาสังเกตและบันทึกผลการเคลื่อนที่ของลูกบอล
ผลการทดลองที่ได้คือ
1. เมื่อปล่อยแผ่นกระดาษและก้อนกระดาษพร้อมกันจากที่ระดับสูงเหนือพื้นห้องประมาณ 1.5 เมตรก้อนกระดาษตกก่อน
2. ขว้างหรือโยนลูกบอลออกไปในแนวระดับ ลูกบอลจะตกในวิถีโค้ง
3. เมื่อผูกลูกบอลด้วยด้ายยาวประมาณ 1 เมตร จับอีกปลายหนึ่งของด้ายให้แน่นแล้วเหวี่ยงลูกบอลให้เคลื่อนที่วนรอบมือที่จับ ลูกบอลจะเคลื่อนที่เป็นวงกลม
4. นำลูกบอลที่ผูกด้ายให้ลูกบอลห้อยอยู่ในแนวดิ่ง แกว่งลูกบอลไปมาลูกบอลจะเคลื่อนที่กลับไปกลับมา
สรุปได้ว่า การเคลื่อนที่ เป็นผลจากแรงที่ไปกระทำต่อวัตถุแล้วทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไป
|