1. เพื่อให้นักเรียนสามารถทดลองและอธิบายการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสารเมื่อเกิดการละลาย
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการละลายของสาร
3. เพื่อให้นักเรียนสามารถยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากความรู้เรื่องการละลายของสารในชีวิตประจำ วัน
1. โซเดียมคลอไรด์ 1 g
|
2. จุนสีสะตุ 1 g
|
3. นํ้ากลั่น 6 cm3
|
4. หลอดทดลองขนาดกลาง 2 หลอด
|
5. เทอร์โมมิเตอร์ 0 – 100 °C 1 อัน
|
6. ช้อนตักสาร เบอร์ 1 1 อัน
|
7. กระบอกตวงขนาด 10 cm3 1 ใบ
|
8. ที่ตั้งหลอดทดลอง 1 อัน
|
9. เครื่องชั่ง 1 ครื่อง
|
|
1. สังเกตลักษณะของโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) บันทึกผล
2. วัดมวลและอุณหภูมิของน้ำ 3 cm3 บันทึกผลแล้วละลายโซเดียมคลอไรด์ 1 g ในน้ำวัดอุณหภูมิ และชั่งมวลของสารละลาย
3. ทำการทดลองซ้ำ แต่เปลี่ยนจากโซเดียมคลอไรด์เป็นจุนสีสะตุ
หลอดที่ |
สาร |
อุณหภูมิของนํ้า (°C) |
อุณหภูมิของสารละลาย (°C) |
1
2
3
4
5
6
7 |
แอมโมเนียมไนเตรต
โซเดียมไฮดรอกไซด์
โซเดียมไนเตรต
โซเดียมคลอไรด์
แอมโมเนียมคลอไรด์
แคลเซียมคลอไรด์
จุนสีสะตุ |
28
28
28
28
28
28
28 |
19
53
22
26
20
49
48 |
สรุปได้ว่า เมื่อนำ สารไปละลายนํ้า อาจมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ เนื่องจากขณะที่สารเกิดการละลาย ถ้าพลังงานขณะที่ตัวละลายแยกตัวมีค่าน้อยกว่าพลังงานขณะที่ตัวละลายยึดเหนี่ยวกับตัวทำ ละลาย สารละลายจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น จัดเป็นการละลายประเภทคายความร้อน แต่ถ้าพลังงานขณะที่ตัวละลายแยกตัวมีค่ามากกว่าพลังงานขณะที่ตัวละลายยึดเหนี่ยวกับตัวทำ ละลาย สารละลายจะมีอุณหภูมิตํ่าลง จัดเป็นการละลายประเภทดูดความร้อน
|