1. เพื่อให้นักเรียนสามารถหาจุดหลอมเหลวของน้ำแข็ง และจุดเดือดของน้ำได้
ตอนที่ 1 จุดหลอมเหลวของน้ำแข็ง 1.ใส่น้ำแข็งก้อนเล็กๆประมาณ 20 g ลงในบิ๊กเกอร์ จุ่มเทอร์มอมิเตอร์ลงไปในน้ำแข็งให้กระเปาะเทอร์มอมิเตอร์อยู่ระหว่างก้อนน้ำแข็ง แล้วยึดเทอร์มอมิเตอร์กับขาตั้ง ระวังอย่าให้กระเปาะแตะข้างหรือก้นบิ๊กเกอร์ ผลการทดลองที่ได้ คือ
ซึ่งสามารถเขียนเป็นกราฟได้ ดังนี้ สรุปได้ว่า ความร้อนที่ทำให้น้ำแข็งหลอมเหลวมาจากสิ่งแวดล้อมคืออากาศซึ่งอยู่รอบๆบิ๊กเกอร์ และจากการคนน้ำแข็ง ตอนที่ 2 จุดเดือดของน้ำ 1. ต้มน้ำ 20 cm3 ในหลอดทดลองขนาดใหญ่ใส่เศษกระเบื้องที่สะอาด 3 ชิ้นเล็กๆ ลงในหลอด ปิดปากหลอดทดลองด้วยจุกยางที่มีเทอร์มอมิเตอร์และหลอดนำก๊าซเสียบอยู่ อ่านและบันทึกอุณหภูมิไว้ทุกๆ 1 นาที จนถึงนาทีที่ 10 บันทึกช่วงเวลาที่น้ำเดือด ผลการทดลองที่ได้ คือ
ซึ่งสามารถเขียนเป็นกราฟได้ ดังนี้ สรุปได้ว่า กราฟที่แสดงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำแข็งจนกลายเป็นน้ำเดือดมีลักษณะ ดังนี้ คือ ขณะที่น้ำแข็งหลอมเหลว กราฟเป็นเส้นขนานกับแกนนอน และเมื่อน้ำแข็งหลอมเหลวหมดแล้ว เส้นกราฟมีลักษณะชันขึ้นเป็นเส้นตรง เมื่อน้ำเดือด ไอน้ำออกมาทางหลอดนำก๊าซ เส้นกราฟจะเป็นเส้นขนานกับแกนนอน ช่วงที่อุณหภูมิคงที่มี 2 ช่วง คือ ขณะที่น้ำแข็งหลอมเหลว และขณะที่น้ำเดือดกลายเป็นไอน้ำ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าความร้อนที่น้ำได้รับใช้ไปทำให้น้ำแข็ง(ของแข็ง) เปลี่ยนสถานะเป็นน้ำ(ของเหลว) และน้ำเปลี่ยนเป็นไอน้ำ(ก๊าซ) อุณหภูมิขณะนั้นจะคงที่ |