<< Go Back

                   1. เพื่อให้นักเรียนสามารถเตรียมสารละลายที่เจือจางจากสารละลายที่เข้มข้นกว่าได้
                   2. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกความเข้มข้นของสารละลายที่เตรียมในหน่วยส่วนในพันส่วน (ppt) ได้

1.สารละลายคอปเปอร์(II)ซัลเฟต เข้มข้นร้อยละ 10 โดยมวลต่อปริมาตร         10   cm3

2.บิ๊กเกอร์ขนาด 50 cm3 (หรือขวดใส่ซุปไก่สกัดแทนก็ได้)       4     ใบ

3.แท่งแก้วคนสาร      1     อัน

4.กระบอกตวงขนาด 10 cm3     10   ใบ

5.หลอดหยด      10   อัน

 

                  1.เตรียมบิ๊กเกอร์ขนาด 50 cm3 จำนวน 4 ใบ ใส่น้ำ 9 cm3 ลงในบิ๊กเกอร์ใบที่ 2-4
                  2.แบ่งสารละลายคอปเปอร์(II) ซัลเฟตเข้มข้นร้อยละ 10 โดยมวลต่อปริมาตรเติมลงในบิ๊กเกอร์ใบที่ 1 จำนวน 10 cm3
                  3.ใช้หลอดหยดดูดสารละลายมาหยดลงในกระบอกตวงจนได้ปริมาตร เท่ากับ  1 cm3 นับจำนวนหยดของสารละลาย
                  4.ใช้หลอดหยดอันเดิมดูดสารละลายจากบิ๊กเกอร์ใบที่ 1 ใส่ในบิ๊กเกอร์ใบที่ 2 จำนวน 1 cm3 โดยใช้จำนวนหยดของสารละลายเท่ากับที่นับได้ในข้อ 3 ใช้แท่งแก้วคนให้สารละลายเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
                  5.ล้างหลอดหยดให้สะอาด แล้วนำมาดูดสารละลายจากบิ๊กเกอร์ใบที่ 2 จำนวน 1 cm3 ใส่ในบิ๊กเกอร์ใบที่ 3 ทำเช่นนี้จนถึงใบที่ 4
                  6.สังเกตสีของสารละลายในแต่ละบิ๊กเกอร์แล้วบันทึกผล

สารละลายในบิ๊กเกอร์ใบที่

สีของสารละลาย

อัตราส่วนระหว่างปริมาณตัวละลายกับสารละลาย

1

ฟ้า

1

2

ฟ้าอ่อน

1/10

3

ฟ้าอ่อน เกือบไม่มีสี

1/100

4

ฟ้าอ่อน เกือบไม่มีสี

1/1000

          สรุปได้ว่า

                 สารละลายในบิ๊กเกอร์ใบที่ 1 มีสีเข้มมากสุด และสารละลายในบิ๊กเกอร์ใบที่ 4 จะมีสีจางสุด
                 ถ้าสารละลายใบบิ๊กเกอร์ใบที่ 1 มีความเข้มข้นเป็น 1 ส่วน สารละลายในบิ๊กเกอร์ใบที่ 2 จะมีความเข้มข้นเท่ากับ 1/10 (หนึ่งส่วนในสิบส่วน) ส่วนสารละลายที่มีความเข้มข้น 1/1000 (หนึ่งส่วนในพันส่วน)คือสารละลายในบิ๊กเกอร์ใบที่ 4
                 จะใช้วิธีนี้เตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่าสารละลายเดิมได้ ถ้าสารละลายนี้มีตัวละลายเป็นของแข็งที่ไม่ระเหย หรือถ้าเป็นของเหลว ของเหลวนั้นต้องระเหยยาก จากนั้นก็นำสารละลายนี้ไประเหยตัวทำละลายออกไปให้เหลือปริมาตรตามต้องการ ก็จะได้สารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่าเดิม


<< Go Back