<< Go Back

                   1. เพื่อให้นักเรียนสามารถเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นตามหน่วยที่กำหนดได้
                   2. เพื่อให้นักเรียนสามารถระบุได้ว่าสารละลายที่เตรียมไว้   มีสารใดเป็นตัวละลาย และสารใดเป็นตัวทำละลาย

1. คอปเปอร์(II)ซัลเฟต   15   g

2. บีกเกอร์ขนาด 250 cm3     2   ใบ

3. น้ำกลั่น      200  cm3

4. กระบอกตวงขนาด 100 cm3      1   ใบ

5. แท่งแก้วคนสาร      1    อัน

6. ขวดน้ำกลั่น      1   ขวด

7. หลอดหยด    1           อัน

8. เครื่องชั่ง      1     เครื่อง

                  1.ใส่คอปเปอร์(II)ซัลเฟต (จุนสี) 5 g ลงในบีกเกอร์ขนาด 250 cm3
                  2.เติมน้ำกลั่น 20 cm3 คนให้คอปเปอร์(II)ซัลเฟต ละลายจนหมด
                  3.เทสารละลายในข้อ 2 ลงในกระบอกตวงขนาด 100 cm3 เติมน้ำกลั่นจำนวนเล็กน้อยลงในบีกเกอร์เพื่อล้างคอปเปอร์(II)ซัลเฟต ที่ติดอยู่ในบีกเกอร์ แล้วนำไปเทลงในกระบอกตวง ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง ให้แน่ใจว่าไม่มีคอปเปอร์(II)ซัลเฟตเหลืออยู่
                  4.เติมน้ำกลั่นลงในกระบอกตวงจนสารละลายมีปริมาตร 100 cm3
                  5.ทำการทดลองซ้ำ แต่เพิ่มปริมาณคอปเปอร์(II) ซัลเฟตที่ใช้เป็น 10 g สังเกตสีของสารละลายเปรียบเทียบกับสีของสารละลายที่เตรียมได้ในครั้งแรก

                 ได้สารละลายสีฟ้าทั้ง 2 บีกเกอร์โดยบีกเกอร์ที่ใช้คอปเปอร์(II)ซัลเฟต 10 g จะได้สารละลายที่มีสีฟ้าเข้มกว่า

          สรุปได้ว่า

                 การเตรียมสารละลายโดยละลายคอปเปอร์(II)ซัลเฟต 5 g ในน้ำ และเติมน้ำจนสารละลายมีปริมาตร 100 cm3 แสดงว่าในสารละลาย 100 cm3  มีตัวละลายอยู่ 5 g นั่นคือสารคอปเปอร์(II)ซัลเฟตมีความเข้มข้น 5g/100 cm3 การบอกปริมาตรตัวละลายที่เป็นของแข็งในสารละลาย จะบอกเป็นอัตราส่วนของมวลของตัวละลายต่อปริมาตรสารละลาย มีหน่วยเป็นร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร จึงกล่าวได้ว่าสารละลายคอปเปอร์(II)ซัลเฟตเข้มข้น 5g/100 cm3 มีความเข้มข้นร้อยละ 5 โดยมวลต่อปริมาตร หรือถ้าเตรียมสารละลายใหม่อีกครั้งโดยเพิ่มปริมาณคอปเปอร์(II)ซัลเฟตเข้มข้นเป็น 10 g ในสารละลาย 100 cm3 สารละลายนี้มีความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยมวลต่อปริมาตร


<< Go Back