<< Go Back

                   1.เพื่อให้นักเรียนสามรถแสดงวิธีการปรับค่าความเป็นกรด–เบสของสารละลายโดยการเติมสารที่มีสมบัติตรงกันข้าม
                   2.เพื่อให้นักเรียนสามารถยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์ความรู้เรื่องปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบสในชีวิตประจำวัน

1. สารละลายกรดไฮโดรคลอริก      1   cm3

2. โซเดียมไฮดรอกไซด์      1   cm3

3. กระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์     1   กล่อง

4. หลอดทดลองขนาดเล็ก หลอดหยด     1   หลอด

5. แท่งแก้วคนสาร     1   อัน

6. กระจกนาฬิกา     1   อัน

7. ที่วางหลอดทดลอง     1   อัน

 

                  1.เติมสารละลายกรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ) เจือจาง 20 หยด ในหลอดทดลองขนาดเล็กตรวจสอบ pH ของสารละลายด้วยกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์
                  2.ตรวจสอบ  pH  ของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (โซดาไฟ) เจือจาง  บันทึกผล แล้วเติมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 5 หยด ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริกใน ข้อ1 ตรวจสอบ pH ของสารละลาย บันทึกผล
                  3.เติมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงไปอีกครั้งละ 5 หยดจนครบ 20 หยด ตรวจสอบ pH ทุกครั้งที่เติม บันทึกผล
                  4.ทำการทดสอบซ้ำ แต่เปลี่ยนเป็นเติมสารละลายกรดไฮโดรคลอริกลงในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์แทน

 

                 ผลการทดลองที่ได้ คือ

สารละลายตัวอย่าง

ค่า pH
โดย
ประมาณ

เมื่อเติมสารละลาย โซเดียมไฮดรอกไซด์ลงใน สารละลายกรดไฮโดรคลอริก

ค่า pH
โดย
ประมาณ

เมื่อเติมสารละลายกรดไฮโดรคลอริก ลงในสารละลายโซเดียม
ไฮดรอกไซด์

ค่า pH
โดย
ประมาณ

สารละลายกรด
ไฮโดรคลอริก


สารละลายโซเดียม
ไฮดรอกไซด์

1



14

20 หยด + 5 หยด
20 หยด + 10 หยด
20 หยด + 15 หยด

20 หยด + 20 หยด

2.50
4.00
5.25

7.00

5 หยด + 20 หยด
10 หยด + 20 หยด
15 หยด + 20 หยด

20 หยด + 20 หยด

12.25
10.50
8.75

7.00


          สรุปได้ว่า

                  - การเติมสารละลายที่มีสมบัติตรงกันข้ามจะทำให้ความเป็นกรด –เบส ของสารละลายเปลี่ยนแปลง  ถ้าสารละลายที่เตรียมไว้มีความเข้มข้นแน่นอน  จะใช้จำนวนสารปริมาตรเท่ากันแล้วได้สารละลายที่เป็นกลางพอดี (pH =7)
                  - เมื่อเติมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ค่า  pH  ของสารละลายจะเพิ่มขึ้น  (ความเป็นกรดลดลง) และถ้าเตรียมสารละลายเข้มข้นเท่ากันจะใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์เพียง20 หยด ก็จะทำให้ค่า  pH  ของสารละลายเท่ากับ 7  เมื่อเติมสารละลายกรดไฮโดรคลอริกลงในสารละลายเบส ค่า pH ของสารละลายเท่ากับ 7 เมื่อเติมสารละลายกรดไฮโดรคลอริกลงในสารละลายเบสค่า pH ของสารละลายจะลดลง (ความเป็นเบสลดลง)  และถ้าสารละลายมีความเข้มข้นเท่ากัน เมื่อหยดกรดลงไป 20 หยด จะทำให้ค่า pH ของสารละลายเท่ากับ 7
                  -  เมื่อตรวจสอบสมบัติของสารละลายกรดที่เติมสารละลายเบสลงไป พบว่ามีค่า pH สูงขึ้นแสดงว่าเบสทำให้สารละลายมีความเป็นกรดน้อยลง ส่วนการเติมสารละลายกรดลงในสารละลายเบสก็ทำให้สารละลายมีความเป็นเบสน้อยลงได้เช่นกัน


<< Go Back