1.เพื่อให้นักเรียนสามารถทดลองและสรุปเกี่ยวกับการละลายของสารในตัวทำละลายต่างชนิดกันได้
2.เพื่อให้นักเรียนสามารถเขียนแผนภูมิแท่งแสดงการละลายของสารในตัวทำละลายต่างชนิดกันได้
1. สีผสมอาหาร 1 กรัม
|
2. เชลแล็ก 1 กรัม
|
3. หลอดทดลองขนาดกลาง 6 หลอด
|
4. ที่ตั้งหลอดทดลอง 1 อัน
|
5. ช้อนเบอร์ 1 2 อัน
|
6. หลอดฉีดยาขนาด 10 ลบ.ซม. 1 อัน
|
7. โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) 10 กรัม
|
8. แอลกอฮอล์ 20 ลบ.ซม.
|
9. น้ำกลั่น 20 ลบ.ซม.
|
|
1.ใช้หลอดฉีดยาดูดน้ำกลั่นและแอลกอฮอล์ใส่หลอดทดลองที่เตรียมมาทั้ง 6 หลอด หลอดละ 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร
2. นำหลอดทดลองที่ใส่น้ำและแอลกอฮอล์มาอย่างละ 1 หลอด จากนั้นใช้ช้อนเบอร์ 1 ตักโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) ลงในหลอดทดลองทั้งสอง หลอดละ 1 ช้อน แล้วทำเครื่องหมายระบุชนิดของสารบนหลอดทดลองด้วย จากนั้นเขย่าหลอดทดลองทั้งสองหลอด เมื่อโซเดียมคลอไรด์ในแต่ละหลอดละลายหมดแล้วให้ตักโซเดียมคลอไรด์เติมลงไปในหลอดทดลองทั้งสองทีละช้อนจนกว่าจะไม่ละลายต่อไป โดยเขย่าหลอดทดลองทุกครั้งที่เติม พร้อมกันนี้ให้นับจำนวนช้อนที่ตักสารเติมในแต่ละหลอด
3. ดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 2 แต่เปลี่ยนจากโซเดียมคลอไรด์เป็นสีผสมอาหาร และเชลแล็กตามลำดับ
ผลการทดลองที่ได้ คือ
สาร |
ปริมาณมากที่สุดของสารที่ละลายได้
(จำนวนช้อนต่อตัวทำละลาย 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร) |
แอลกอฮอล์ |
น้ำ |
โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) |
ไม่ละลาย |
ดูจากผลการทดลอง |
สีผสมอาหาร |
ไม่ละลาย |
ดูจากผลการทดลอง |
เชลแล็ก |
ดูจากผลการทดลอง |
ไม่ละลาย |
สรุปได้ว่า
สารละลายชนิดเดียวกันละลายในตัวทำละลายต่างชนิดได้ต่างกันสารต่างชนิดกันละลายในตัวทำละลายชนิดเดียวกันได้ต่างกัน การละลายของสารขึ้นอยู่กับชนิดของตัวถูกละลายและตัวทำละลาย
|