เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายหลักการเกิดปรากฏการณ์ทินดอลล์ และจำแนกชนิดของสารโดยอาศัยหลักการนี้ได้
1. สารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต 50 ลบ.ซม.
|
2. น้ำนม 50 ลบ.ซม.
|
3. บิ๊กเกอร์ขนาด 100 ลบ.ซม. 2 ใบ
|
4. กล่องกำเนิดแสง 1 กล่อง |
5.น้ำแป้ง 50 ลบ.ซม.
|
6.สารละลายโซเดียมคลอไรด์ 50 ลบ.ซม.
|
1.ใส่สารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต และน้ำนมปริมาตร 50 ลูกบาศก์เซนติเมตรลงในบิ๊กเกอร์อย่างละใบ
2. ฉายแสงจากกล่องกำเนิดแสงผ่านไปยังบิ๊กเกอร์ในข้อ 1
3. สังเกตแสงที่ผ่านของเหลวโดยมองจากด้านบน
4. เปลี่ยนสารที่ทำการทดลองเป็นน้ำแป้ง และสารละลายโซเดียมคลอไรด์แล้วทำการทดลองซ้ำข้อ 2
ผลการทดลองที่ได้ คือ
สาร |
ผลการสังเกต |
สารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต |
แสงกระจายทั่วบิ๊กเกอร์ |
น้ำนม |
มองเห็นเป็นลำแสง |
น้ำแป้ง |
มองเห็นเป็นลำแสง |
สารละลายโซเดียมคลอไรด์ |
แสงกระจายทั่วบิ๊กเกอร์ |
สรุปได้ว่า
น้ำนมและน้ำแป้งจัดเป็นสารชนิดเดียวกัน คือ คอลลอยด์ เนื่องจากอนุภาคเกิดการกระเจิงของแสงบนสารละลายคอปเปอร์ (II)ซัลเฟต และ สารละลายโซเดียมคลอไรด์จัดเป็นสารละลาย
|