1.เพื่อให้นักเรียนสามารถตรวจสอบและเปรียบเทียบขนาดของอนุภาคสารในน้ำโคลน นมสด และน้ำหวานสีแดงโดยใช้กระดาษกรองและเซลโลเฟนได้
2.เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ขนาดของอนุภาคสารเป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่มสารได้เป็นสารแขวนลอยคอลลอยด์และสารละลายได้
1. น้ำโคลน (หรือน้ำแป้งดิบ ) 20 cm3
|
2.
นมสด (หรือน้ำแป้งสุก ) 20 cm3
|
3. น้ำหวานที่ใส่สี (หรือน้ำสีผสมอาหาร ) 20 cm3
|
4. บิ๊กเกอร์ขนาด 50 cm3 6 ใบ
|
5. บิ๊กเกอร์ขนาด 250 cm3 3 ใบ
|
6. กระดาษกรองขนาด 11 cm3 3 แผ่น
|
7. กระดาษเซลโลเฟนขนาด 10 cm x 10 cm 3 แผ่น
|
8. กรวยพลาสติก 1 อัน
|
9. ขวดรูปกรวย ขนาด 250 cm3 1 ใบ
|
10. แท่งแก้วคนสาร 1 อัน
|
11. ขาตั้งพร้อมที่จับ 1 ชุด
|
12.
ยางรัดของ 1 เส้น
|
13. ช้อนตักสารเบอร์ 2 1 อัน
|
|
1.สังเกตและบันทึกลักษณะของของเหลวชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำโคลน นมสดและน้ำหวานสีแดงผสมน้ำ บันทึกผลการสังเกต
2.แบ่งของเหลวแต่ละชนิดออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งนำไปกรองด้วย กระดาษกรองอีกส่วนหนึ่งใส่ลงในบิ๊กเกอร์ที่บุเซลโลเฟนไว้ด้านใน รวบชายของเซลโลเฟนผูกให้เป็นถุง ผูกปากถุงให้แน่น เช็ดด้านนอกถุงให้สะอาด เติมน้ำลงในบิ๊กเกอร์ แช่ถุง เซลโลเฟนไว้ 10 นาที สังเกตและบันทึกผล
จากผลการทดลอง น้ำโคลน ไม่ผ่านกระดาษกรอง นมสด และสีผสมอาหารผ่านกระดาษกรองแช่ถุง เซลโลเฟนที่มีนมสด และโคลน ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนถุงสีผสมอาหารลอดผ่านกระดาษเซลโลเฟนได้
สรุปได้ว่า
น้ำโคลน ไม่ผ่านกระดาษกรอง นมสด และสีผสมอาหารผ่านกระดาษกรองแสดงว่าน้ำโคลนมีอนุภาคใหญ่กว่ากระดาษกรอง ส่วนสีผสมอาหาร และนมสด มีขนาดอนุภาคเล็กกว่ารูของกระดาษกรอง
เมื่อแช่ถุง เซลโลเฟนที่มีนมสด และโคลน ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนถุงสีผสมอาหารลอดผ่านกระดาษเซลโลเฟนได้ว่า สีผสมอาหารมีขนาดเล็กว่ารูของกระดาษเซลโลเฟนซึ่งสรุปได้ดังนี้ น้ำโคลนมีขนาดอนุภาคใหญ่รองลงมาคือนมสด และสีผสมอาหารตามลำดับ
การเปรียบเทียบ สารละลาย คอลลอยด์ และ สารแขวนลอย
การเปรียบเทียบ |
สารละลาย |
คอลลอยด์ |
สารแขวนลอย |
ตัวอย่างสาร |
สารละลาย CuSO4 |
นมสด |
นมสดผสมกรด |
ลักษณะเนื้อสาร |
เนื้อเดียว |
เนื้อเดียว |
เนื้อผสม |
ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลาง
ของอนุภาค |
น้อยกว่า 10-7 cm |
10-7 – 10-4 cm |
มากกว่า 10-4 cm |
การลอดผ่านกระดาษกรอง |
ได้ |
ได้ |
ไม่ได้ |
การลอดผ่านถุงเซลโลเฟน |
ได้ |
ไม่ได้ |
ไม่ได้ |
ปรากฏการณ์ทินดอลล์ |
ไม่เกิด |
เกิด |
เกิด |
|