1. เพื่อให้นักเรียนสามารถทดสอบและสรุปสมบัติของสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันได้
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถจำแนกประเภทของสารอาหารโดยใช้สมบัติบางประการของสารอาหารนั้นๆ
1. หลอดทดลองขนาดกลาง 9 หลอด
2. บิ๊กเกอร์ 250 cm3 1 ใบ
3. หลอดหยด 4 อัน
4. กระบอกตวงขนาด 10 ml 3 อัน
5. โกร่งบดยา 1 ชุด
6. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลมและตะแกรงลวด 1 ชุด
7. ไม้ขีดไฟ 1 กลัก
8. ที่จับหลอดทดลอง 1 อัน
9. ที่ตั้งหลอดทดลอง 1 อัน
10. กระดาษกรองหรือกระดาษสีขาวขนาด 4 cm × 10 cm 1 แผ่น
11. สารละลายน้ำตาลกลูโคส 1% 3 cm3
12. สารละลายไอโอดีน 1% 5 cm3
13. สารละลายเบเนดิกต์ 10 cm3
14. สารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต 0.1 mol/L 5 cm3
15. สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 2.5 mol/L 5 cm3
16. ไข่ขาวดิบ 1 ฟอง
17. น้ำมันพืช 5 cm3
18. แป้งมัน 1 กรัม
19. อาหารที่ต้องการทดสอบ เช่น ข้าวสุก ขนมปัง น้ำนมถั่วเหลือง เนย ถั่วลิสงดิบ เนื้อดิบ ชนิดละ 3 กรัม
ตอนที่ 1 วิธีการตรวจสอบอาหาร
1. การตรวจสอบแป้งและน้ำตาล
1.1 นำหลอดทดลองขนาดกลางมา 6 หลอด
หลอดที่ 1 และ 2 ใส่น้ำแป้งสุก 0.1% 3 cm3
หลอดที่ 3 และ 4 ใส่สารละลายน้ำตาลกลูโคส 1 % 3 cm3
หลอดที่ 5 และ 6 ใส่น้ำ 3 cm3
1.2 หยดสารละลายไอโอดีน 1 % จำนวน 2-3 หยด ในหลอดที่ 1,3 และ 5 เขย่าให้เข้ากัน แล้วสังเกตและบันทึกผล
1.3 เติมสารละลายเบเนดิกต์ 1 cm3 ในหลอดที่ 2,4 และ 6 เขย่าให้เข้ากันแล้วนำไปต้มในบิ๊กเกอร์ที่มีน้ำเดือด ประมาณ 1-2 นาที สังเกตและบันทึกผล
2. การตรวจสอบโปรตีน
2.1 ใส่ไข่ขาวดิบ 2 cm3 ลงในหลอดทดลองกลาง ทำให้เจือจางด้วยการเติมน้ำลงไปในหลอดทดลอง 1 cm3 แล้วเขย่าให้เข้า
2.2 หยดสารละลาย CuSo 0.1 mol/l ลงไป 5 หยด และสารละลาย NaOH 2.5 mol/1 ลงไป 3 หยด ในหลอดทดลอง เขย่าเบาๆ สังเกตและบันทึกผล
2.3 ทำซ้ำข้อ 2.1 โดยใช้น้ำแทนไข่ขาว
3. การตรวจสอบไขมัน
3.1 หยดน้ำมันพืช 2 หยดลงบนกระดาษ แล้วเกลี่ยหยดน้ำมันให้กระจาย
3.2 หยดน้ำ 2 หยดลงบนกระดาษชนิดเดียวกันอีกแผ่นหนึ่ง เกลี่ยให้กระจาย
3.3 รอจนกระดาษแห้ง สังเกตกระดาษบริเวณที่หยดน้ำมัน และกระดาษบริเวณที่หยดน้ำ ยกขึ้นส่องให้แสงผ่าน สังเกตการส่องผ่านของแสงและบันทึกผล
ตอนที่ 2 การตรวจสอบสารอาหารในอาหารต่างๆ
นำอาหารต่างๆ เช่น ข้าวสุก ขนมปัง น้ำนมถั่วเหลือง เนย ถั่วลิสงดิบเนื้อดิบ หรืออาหารอื่นๆ ที่นักเรียนสนใจ มาตรวจสอบสารอาหารแต่ละประเภท ถ้าเป็นอาหารแข็งต้องบดให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อย แล้วกรองส่วนที่เป็นของเหลวไปตรวจสอบตามวิธีการในกิจกรรมตอนที่ 1
ผลจากการทดลองตอนที่ 1 ได้ผลดังนี้
การตรวจสอบแป้งและน้ำตาล
หลอดที่ |
สารละลายไอโอดีน |
หลอดที่ |
สารละลายเบเนดิกต์ |
1 |
เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน |
2 |
ไม่เปลี่ยนแปลง |
3 |
ไม่เปลี่ยนแปลง |
4 |
ตะกอนสีแดงอิฐ |
5 |
ไม่เปลี่ยนแปลง |
6 |
ไม่เปลี่ยนแปลง |
การตรวจสอบโปรตีน
- ไข่ขาวดิบ เปลี่ยนเป็นสีม่วงแกมแดง
- น้ำ ไม่เปลี่ยนแปลง
การตรวจสอบไขมัน
- กระดาษที่หยดไขมัน ปรากฏเป็นรอย เมื่อส่องให้แสงผ่านจะโปร่งแสง
- กระดาษที่หยดน้ำ ไม่เปลี่ยนแปลง
ผลจากการทดลองตอนที่ 2 ได้ผลดังนี้
อาหาร |
การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ |
สารละลาย
ไอโอดีน |
สารละลาย
เบเนดิกต์ |
สารละลาย
ไบยูเร็ต |
ถูกับกระดาษ |
1. ข้าวสุก |
สีน้ำเงินอมม่วง |
ไม่เปลี่ยนแปลง |
สีชมพูอ่อน |
ไม่โปร่งแสง |
2. น้ำนมถั่วเหลือง |
ไม่เปลี่ยนแปลง |
เหลือง |
สีม่วง |
ไม่โปร่งแสง |
3. เนย |
ไม่เปลี่ยนแปลง |
ไม่เปลี่ยนแปลง |
ไม่เปลี่ยนแปลง |
โปร่งแสง |
4. ถั่วลิสงดิบ |
สีม่วง |
ไม่เปลี่ยนแปลง |
ม่วง |
โปร่งแสง |
5. เนื้อไก่ |
ไม่เปลี่ยนแปลง |
ไม่เปลี่ยนแปลง |
ม่วง |
ไม่โปร่งแสง |
ผลการทดสอบอาหารตัวอย่าง พบว่าอาหารแต่ละชนิดมีสารอาหารต่างๆกัน สามารถทราบสารอาหารหลักในอาหารแต่ละชนิดได้ เช่น สารอาหารหลักในข้าวสุก คือ แป้งซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรต ในเนยคือไขมัน ในเนื้อไก่คือโปรตีน และในถั่วลิสงมีสารอาหาร 3 ประเภทคือ ไขมัน โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตจำพวกแป้ง เป็นต้น
สรุปได้ว่า สารอาหารบางประเภทในอาหาร สามารถตรวจสอบได้โดยวิธีง่ายๆ และอาหารบางชนิดมีสารอาหารหลายประเภทเป็นส่วนประกอบ
|