<< Go Back

ระบบประสาท
         ระบบประสาท คือ ระบบการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ทำให้สัตว์สามารถตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างรวดเร็ว ช่วยรวบรวมข้อมูลเพื่อให้สามารถตอบ สนองได้ สัตว์ชั้นต่ำบางชนิด เช่น ฟองน้ำ ไม่มีระบบประสาท สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิดเริ่มมีระบบประสาท สัตว์ชั้นสูงขึ้นมาจะมีโครงสร้างของระบบประสาทซับซ้อนยิ่งขึ้น
หน้าที่ของระบบประสาท
         ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่างๆ ทำงาน ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้
เซลล์ประสาท ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ตัวเซลล์ (cell body) และ ใยประสาท (nerve fiber)
         – ตัวเซลล์ เป็นส่วนของไซโทพลาซึมและนิวเคลียส ตัวเซลล์มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ4 – 25 ไมโครเมตร ภายในมีออร์แกเนลล์ที่สำคัญ คือ ไมโทคอนเดรีย เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมและกอลจิคอมเพล็กซ์ จำนวนมาก
         – ใยประสาท ที่นำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์ เรียกว่า เดนไดรต์ (dendrite) ใยประสาทนำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ เรียกว่า แอกซอน (axon) เซลล์ประสาทแต่ละเซลล์จะมีเดนไดรต์แยกจากตัวเซลล์หนึ่งใยหรือหลายใย ส่วนแอกซอนมีเพียงใยเดียวเท่านั้น
            กรณีใยประสาทยาวซึ่งมักเป็นใยประสาทของแอกซอนจะมี เยื่อไมอีลิน (myelin sheath) มาหุ้มใยประสาท เยื่อไมอีลินมีสารจำพวกลิพิด เป็นองค์ประกอบเมื่อตรวจดูภาพตัดขวางของเยื่อไมอีลินด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พบว่าเยื่อไมอีลินติดต่อกับเซลล์ชวันน์ (schwann cell) ซึ่งเป็นเซลล์ค้ำจุนชนิดหนึ่งแสดงว่าเยื่อไมอีลินเป็นส่วนหนึ่งของเยื่อหุ้มของเซลล์ชวันน์ ส่วนของแอกซอนตรงบริเวณร่อยต่อระหว่างเซลล์ชวันน์แต่ละเซลล์เป็นบริเวณที่ไม่มี เยื่อไมอีลินหุ้มเรียกว่า โนดออฟแรนเวียร์ (node of Ranvier)
เซลล์ประสาทจำแนกตามหน้าที่ได้ 3 ชนิด ได้แก่
            1. เซลล์ประสาทรับความรู้สึก (sensory neuron) คือ เซลล์ประสาทที่รับกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึก แล้วถ่ายทอดกระแสประสาทไปยังเซลล์ประสาทสั่งการ อาจผ่านเซลล์ประสาทประสานงานหรือไม่ผ่านก็ได้ เซลล์เหล่านี้มีตัวเซลล์อยู่ที่ปมประสาทรากบนของไขสันหลัง
            2. เซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron) มักมีใยประสาทแอกซอนยาวกว่าเดนไดรต์ อาจยาวถึง 1 เมตร เพราะ เซลล์ประสาทสั่งการที่อยู่ในไขสันหลังต้องส่งกระแสประสาทออกจากไขสันหลัง เพื่อนำกระแสประสาทไปยัง หน่วยปฏิบัติงาน เช่น กล้ามเนื้อแขนขา ซึ่งอยู่ห่างไกลจากไขสันหลังมาก
เซลล์ประสาทประสานงาน (association neuron ) เซลล์ประสาทชนิดนี้อยู่ภายในสมองและไขสันหลัง จะเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท รับความรู้สึก กับเซลล์ประสาทสั่งการใยประสาทของเซลล์ประสาทประสานงานอาจมีความยาวเพียง 4 – 5 ไมโครเมตรเท่านั้น เซลล์ประสาทแบ่งตามจำนวนแขนงที่แยกออกจากตัวเซลล์ แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
            1. เซลล์ประสาทขั้วเดียว (unipolar neuron) เซลล์ประสาทประเภทนี้ส่วนของแอกซอนและเดนไดรต์ที่ใกล้ๆ ตัวเซลล์จะรวมเป็นเส้นเดียวกัน ทำให้มีแขนงแยกออกจากตัวเซลล์เพียงแขนงเดียว เดนไดรต์มักจะยาวกว่าแอกซอนมากพบที่ปมประสาทรากบน (dorsal root ganglion) ของไขสันหลัง
            2. เซลล์ประสาทสองขั้ว (bipolar neuron) เซลล์ประสาทมีแขนงแยกออกมาเป็น 2 แขนง โดยแขนงหนึ่งเป็นแอกซอน และอีกแขนงหนึ่งเป็นเดนไดรต์ ความยาวของแขนงทั้งสองนี้ใกล้เคียงกัน พบได้ที่เรตินาของลูกตา คอเคลียของหูและเยื่อดมกลิ่นของจมูก เซลล์ประสาทขั้วเดียวและเซลล์ประสาทสองขั้ว มักจะทำหน้าที่เป็นเซลล์ประสาทรับความรู้สึก
            3. เซลล์ประสาทหลายขั้ว (multipolar neuron) เซล์ประสาทจะมีหลายแขนงโดยเป็นแอกซอน 1 แขนง และเป็นเดนไดรต์ 2 หรือมากกว่าเซลล์ประสาทส่วนใหญ่ของร่างกายเป็นเซลล์ประสาทหลายขั้ว พบได้ในสมอง และไขสันหลัง มีแอกซอนยาว และเดนไดรต์สั้น ทำหน้าที่นำคำสั่งไปยังอวัยวะตอบสนอง
การทำงานของระบบประสาท จำแนกได้ 3 ประเภท คือ
           1. การทำงานของระบบประสาทสั่งการ การทำงานของเส้นประสาทในระบบประสาทรอบนอกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
                      – ส่วนที่รับความรู้สึก (sensory division) จะรับความรู้สึกจากภายในหรือภายนอกร่างกาย
                      – ส่วนที่สั่งการ (motor division) ถ้าการสั่งการเกิดขึ้นกับหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับได้ เช่น กล้ามเนื้อยึดกระดูก ก็จัดเป็น ระบบประสาทโซมาติก (somatic nervous system : SNS) ถ้าการสั่งการเกิดกับหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับไม่ได้ เช่น อวัยวะภายในและต่อมต่าง ๆ ก็จัดเป็น ระบบประสาทอัตโนวัติ (autonomic nervous system : ANS)
           2. ระบบประสาทโซมาติก (somaticnervous system : SNS) ระบบประสาทโซมาติก ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูก โดยเซลล์ประสาทรับความรู้สึกจะรับกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึกผ่านเส้นประสาทไขสันหลัง  หรือเส้นประสาทสมองเข้าสู่ไขสันหลังหรือสมอง และกระแสประสาทจะถูกส่งผ่านเส้นประสาทไขสันหลังหรือเส้นประสาทสมองไปยังหน่วยปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อยึดกระดูก บางครั้งอาจทำงานโดยผ่านไขสันหลังเท่านั้น เช่น การกระตุกขาเมื่อเคาะหัวเข่าเบา ๆ ระบบประสาทโซมาติก เป็นระบบที่ประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลายหรือ ระบบประสาทในอำนาจจิตใจ (voluntary nervous system) ได้แก่ เส้นประสาทสมองและเส้นประสาทไขสันหลัง ซึ่งมีใยประสาทนำคำสั่งไปควบคุมกล้ามเนื้อลายการตอบสนองสิ่งเร้าที่มากระตุ้น เช่น การกระตุกขาเมื่อเคาะหัวเข่าจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนวัติ เรียกว่า รีเฟล็กซ์ (reflex) กิริยาอาการที่แสดงออกมาเมื่อมีสี่งเร้ามากระตุ้นในระยะเวลาสั้น ๆ เรียกว่า รีเฟล็กซ์แอกชัน (reflex action)เป็นการตอบสนองของหน่วยปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นในทันทีทันใด โดยไม่มีการเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าเป็นการสั่งการของไขสันหลัง โดยไม่ต้องอาศัยคำสั่งจากสมอง
           3. ระบบประสาทอัตโนวัติ (autonomic nervous system : ANS ) เป็นระบบประสาทที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ (involuntary nervous system) เป็นระบบประสาทที่ควบคุมอวัยวะที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ เช่น กล้ามเนื้อเรียบและอวัยวะต่าง ๆ กล้ามเนื้อหัวใจที่หัวใจ และต่อมต่าง ๆ ให้ทำงานโดยอัตโนวัติ ทำให้ร่างกายดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ การทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติประกอบด้วย

 


http://www.krusarawut.net/wp/?p=4053

<< Go Back