<< Go Back

พฤติกรรมของมนุษย์ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า
          พฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้า ของมนุษย์เป็นปฎิกิริยาอาการที่แสดงออก เพื่อการโต้ตอบต่อสิ่งเร้า ทั้งภายในและภายนอกร่างกายเช่น
          - สิ่งเร้าภายในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน เอนไซม์ ความหิว ความต้องการทางเพศ เป็นต้น
          - สิ่งเร้าภายนอกร่างกาย เช่น แสง เสียง อุณหภูมิ อาหาร น้ำ การสัมผัส สารเคมี เป็นต้น
กิริยาอาการที่แสดงออกเพื่อ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก อาศัยการทำงานที่ประสาน กันระหว่างระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบต่อมมีท่อ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. การตอบสนองเมื่อมีแสงเป็นสิ่งเร้า
          เมื่อได้รับแสงสว่างจ้า มนุษย์จะมีพฤติกรรมการหรี่ตาเพื่อลดปริมาณแสงที่ตาได้รับ
2. การตอบสนองเมื่ออุณหภูมิเป็นสิ่งเร้า
          ในวันที่มีอากาศร้อนจะมีเหงื่อมาก เหงื่อจะช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกาย เพื่อปรับอุณหภูมิภายในร่างกาย ไม่ให้สูงเกินไป
          เมื่อมีอากาศเย็นคนเราจะเกิดอาการหดเกร็งกล้ามเนื้อ หรือเรียกว่า “ ขนลุก ”
3. เมื่ออาหารหรือน้ำเข้าไปในหลอดลม เกิดพฤติกรรมการไอหรือจาม เพื่อขับออกจากหลอดลม
4. การเกิดพฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ เป็นพฤติกรรมการตอบสนองหรือตอบโต้ ทันทีเพื่อความปลอดภัยจากอันตราย เช่น
          - เมื่อฝุ่นเข้าตามีพฤติกรรมการกระพริบตา เ
          - มื่อสัมผัสวัตถุร้อนจะชักมือจากวัตถุร้อนทันที
          - เมื่อเหยียบหนามจะรีบยกเท้าให้พ้นหนามทันที
          การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช สิ่งมีชีวิต ได้แก่ คน พืช และสัตว์ จะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา เมื่อมีสิ่งมากระตุ้น
          สิ่งเร้า คือ สิ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน สัตว์และพืช เช่น แสง ความร้อน สัมผัส
          พืชแต่ละชนิดมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าไม่เหมือนกัน เช่น บางชนิดมีการการตอบสนองต่อสัมผัส แต่บางชนิดไม่มีการตอบสนองต่อสัมผัส
          พืชมีการตอบสนองต่อแสงแตกต่างกัน เช่น พืชบางชนิดเจริญเติบโตได้ดีในที่กลางแจ้ง แต่พืชบางชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ร่ม ที่มีแสงรำไร
          พืชบางชนิดตอบสองต่ออุณหภูมิ เช่น ต้นสัก ต้นรัง จะมีการสลัดใบทิ้งในเวลาที่อากาศหนาว เพื่อลดการสูญเสียน้ำและจะแตกใบใหม่เมื่ออากาศอบอุ่น
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์
          สัตว์มีการตอบสนองต่อสัมผัสแตกต่างกัน เช่น กิ้งกือม้วนตัว หอยหุบเปลือก
          สัตว์มีการตอบสนองต่อความหนาวเย็นแตกต่างกันเพื่อที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหูมิต่ำ เช่น หมีขาวมีความทนทาน ต่ออากาศ ที่หนาวเย็น กบจำศีล


     http://supapornkorat.blogspot.com/2014/12/blog-post.html

<< Go Back