<< Go Back

              1. เพื่อให้นักเรียนสามารถระบุส่วนประกอบต่างๆ ของดอกไม้ได้
              2. เพื่อให้นักเรียนสามารถจำแนกประเภทของดอกไม้โดยใช้เกณฑ์ต่าง ๆ ได้

1. น้ำ 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร

  2. ดอกผักบุ้ง 1 ดอก

    3. ดอกบัวหลวง 1 ดอก

  4. ดอกกล้วยไม้ 1 ดอก

5. ดอกตำลึง 1 ดอก

      6. ใบมีดโกน 1 ดอก

      7. กาวลาเท็กซ์ 1 ดอก

  8. กระดาษวาดเขียน ขนาด
20 cm. x 30 cm. 1 แผ่น

    9. แว่นขยาย 1 อัน

    10. กล้องจุลทรรศน์ 1 กล้อง

    11. สไลด์และกระจกปิดสไลด์ 1 ชุด

12. เข็มหมุด 1 อัน

  13. แท่งแก้ว 1 อัน

    14. หลอดหยด 1 หลอด

 

              1. นำดอกไม้ที่เตรียมมา ได้แก่ ดอกผักบุ้ง ดอกบัวหลวง ดอกกล้วยไม้ และดอกตำลึงมาแกะส่วนประกอบแต่ละชั้นของดอก คือ กลีบเลี้ยง  กลีบดอก เกสรตัวผู้  และเกสรตัวเมีย  เพื่อสังเกตและเปรียบเทียบลักษณะ จากนั้นจึงนำไปติดในตารางบันทึกผลการทดลอง
              2. พิจารณาลักษณะของอับละอองเรณูของดอกไม้แต่ละชนิด จากนั้นจึงใช้ปลายเข็มหมุดเขี่ยอับละอองเรณูของดอกไม้แต่ละชนิด  ให้ละอองเรณูลงไปบนกระจกสไลด์ แล้วหยดน้ำลงไปบนละอองเรณู 1 หยด นำแท่งแก้วขยี้ให้ละอองเรณูแตกออก แล้วจึงนำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์  พร้อมทั้งวาดรูปสิ่งที่สังเกตพบ
              3. นำเกสรตัวเมียมาผ่าตามยาวด้วยมีด จากนั้นจึงสังเกตรังไข่และออวุลที่อยู่ภายในโดยใช้แว่นขยาย พร้อมทั้งวาดรูปสิ่งที่สังเกตพบ

              สรุปได้ว่า ดอกไม้นานาชนิดนั้น นอกจากจะมีสีต่างกันแล้วยังมีรูปร่าง ขนาด และโครงสร้างของดอกแตกต่างกัน  ดอกบางชนิดมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น บางชนิดมีกลีบดอกไม่มากนักและมีชั้นเดียว ดอกบางชนิดมีขนาดใหญ่มากบางชนิดเล็กเท่าเข็มหมุด นอกจากนี้ดอกบางชนิดมีกลิ่นหอมน่าชื่นใจ แต่บางชนิดมีกลิ่นฉุนหรือบางชนิดไม่มีกลิ่น  ความหลากหลายของดอกไม้เหล่านี้เกิดจากการที่พืชดอกมีวิวัฒนาการมายาวนาน  จึงมีความหลากหลายทั้งสี รูปร่างโครงสร้าง และกลิ่น
              การแบ่งประเภทของดอก  โดยใช้เกสรตัวผู้เกสรตัวเมียเป็นเกณฑ์ จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
              1. ดอกสมบูรณ์เพศ หมายถึง ดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เช่น กุหลาบ พู่ระหง พริก ต้อยติ่ง กล้วยไม้ บัว มะม่วง ชบา เป็นต้น
              2. ดอกไม่สมบูรณ์เพศ หมายถึง ดอกที่มีเฉพาะเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เช่น บวบ ฟักทอง ตำลึง มะพร้าว มะยม ตำลึง เป็นต้น



<< Go Back