<< Go Back

             1. เพื่อให้สามารถวาดภาพและชี้บ่งโครงสร้างของพืชที่ใช้ในการคายน้ำได้
             2. เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบจำนวนปากใบระหว่างด้านบนและด้านล่างของใบ

  1. ใบว่านกาบหอย 1 ใบ

    2. สไลด์และกระจกปิดสไลด์ 1 ชุด

3. น้ำกลั่น 5 cm3

  5. บิกเกอร์ 1 ใบ

   6. กล้องจุลทรรศน์ 1 ตัว

4. หลอดหยด 1 อัน

             1. สังเกตและบันทึกลักษณะผิวใบ ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบว่านกาบหอย หรือใบไม้ชนิดอื่นๆเช่น พลับพลึง ผักบุ้ง ตำลึง
             2. นำใบไม้ในข้อ 1 มาฉีกแฉลบ ให้เยื่อผิวใบด้านล่างลอกออกเป็นแผ่นบางติดอยู่กับ รอยฉีก ตัดเยื่อผิวใบด้านล่างเป็นชิ้นเล็กๆนำไปวางบนหยดน้ำที่อยู่บนสไลด์แล้วปิดด้วยกระจกปิดสไลด์
             3. ส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายต่ำและกำลังขยายสูงตามลำดับ วาดภาพเซลล์ที่เห็นตรวจดูเยื่อผิวใบด้านบน โดยปฏิบัติตาม ข้อ 1-3

ภาพเซลล์

             ผลการทดลองที่ได้ คือ เมื่อตรวจดูผิวใบพืชด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบเซลล์หลายเซลล์เรียงตัวกันเป็นแผ่นบาง เซลล์ส่วนใหญ่มีรูปร่างคล้ายคลึงกัน แต่มีบางเซลล์ที่มีรูปร่างแตกต่างจากเซลล์อื่นๆ กล่าวคือ มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วอยู่เป็นคู่และพบช่องเล็ก ๆ อยู่ตรงกลางระหว่าง 2 เซลล์ดังภาพ โดยพบเซลล์ที่มีลักษณะดังกล่าว บริเวณผิวใบด้านล่างมากกว่าที่ผิวใบด้านบน
สรุปได้ว่า
             1. เซลล์ส่วนใหญ่ที่พบบริเวณผิวใบมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน แต่มีเซลล์บางเซลล์ที่แตกต่างจากเซลล์อื่น เซลล์เหล่านี้มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วอยู่เป็นคู่ แต่ละเซลล์เรียกว่า "เซลล์คุม " ตรงกลางพบช่องเล็ก ๆ เรียกว่า "ปากใบ"
             2. ความหนาแน่นของปากใบบริเวณผิวใบด้านล่างมีมากกว่าด้านบน ดังนั้นการคายน้ำจึงเกิดขึ้นบริเวณผิวใบด้านล่างมากกว่าผิวใบด้านบน



<< Go Back