เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายโครงสร้างและการทำงานของระบบลำเลียงในพืชได้
1. ต้นเทียน 1 ต้น |
2. น้ำหมึกสีแดง 15 cm3 |
3. น้ำ 1 ลิตร |
4. ขวดปากกว้างสูงประมาณ 10-15 cm 1 ใบ |
5. ใบมีดโกน 1 ใบ |
6. สไลด์และกระจกปิดสไลด์ 1 ชุด |
7. กล้องจุลทรรศน์ 1 กล้อง |
8. หลอดหยด 1 หลอด |
|
1. ใส่น้ำหมึกแดงจำนวน 15 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในขวดปากกว้างที่มีน้ำอยู่ประมาณ 3/4 ของขวด
2. นำต้นเทียนที่ล้างน้ำสะอาดแล้วแช่ลงในขวดที่มีน้ำหมึกสีแดง แล้วนำไปวางไว้กลางแดดประมาณ 20 - 30 นาที สังเกตการเปลี่ยนแปลง และบันทึกผล
3. นำต้นเทียนออกมาล้างน้ำ ใช้ใบมีดโกนตัดลำต้นตามขวางตรงส่วนที่มีลำต้นอวบ ไม่มีกิ่ง ให้เป็นท่อนยาวประมาณ 3 เซนติเมตร
4. นำส่วนที่ตัดออกมาตัดตามขวางให้บางที่สุด แล้วนำไปวางบนสไลด์ หยดน้ำ 1 - 2 หยด ปิดด้วยกระจกปิดสไลด์ นำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ สังเกต วาดรูปแสดงตำแหน่งที่เห็นสีแดง และบันทึกผลที่ได้จากการสังเกต
5.นำส่วนที่ตัดออกมาตัดตามยาวบางๆ ยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร แล้วดำเนินการตามขั้นตอน เหมือนข้อ 4
หมายเหตุ
1. ในการทดลองควรใช้ต้นเทียนสูงประมาณ 20 เซนติเมตร เพราะจะได้ต้นอ่อนเพื่อตัดเป็นชิ้นบางๆ ได้ง่าย
2. ถ้าหาต้นเทียนไม่ได้ อาจใช้ผักกระสังหรือต้นขึ้นฉ่าย หรือพืชที่มีลำต้นขนาดเล็กและมีสีขาวแทนก็ได้
3. การถอนต้นเทียนต้องค่อยๆ ถอนต้นเทียนทั้งต้น พยายามให้รากติดมาให้มากที่สุด แล้วนำต้นเทียนมาล้างดินออกให้หมดทันที โดยจับส่ายเบาๆ ในน้ำ ก่อนที่จะจุ่มลงในน้ำหมึกสีแดง
4. นักเรียนต้องสังเกตการเปลี่ยนแปลงภายในราก ลำต้น และใบอย่างละเอียด
5. นักเรียนต้องตัดลำต้นตามขวางและตามยาวให้บางที่สุด ถ้าตัดลำต้นหนาจะทำให้มองเห็นลักษณะของเซลล์ไม่ชัด เพราะแสงไม่สามารถทะลุผ่านเซลล์ได้ หรือภาพเซลล์อาจจะซ้อนกันหนามาก
ผลการทดลองที่ได้ คือ
- น้ำสีมีการเคลื่อนที่จากราก ลำต้น ใบ และยอดตามลำดับ
สรุปได้ว่า รากพืชดูดน้ำจากภายนอกแล้วลำเลียงน้ำผ่านเซลล์ต่างๆ จากรากสู่ลำต้น กิ่ง ใบ โดยลำเลียงไปตามเนื้อเยื่อที่เซลล์เรียงต่อกันเป็นท่อต่อเนื่อง เนื้อเยื่อนี้อยู่เป็นกลุ่มๆ เฉพาะที่
|