<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถตั้งสมมติฐานและกำหนดตัวแปรต่าง ๆ ได้
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถสามารถทดลองการเกิดออสโมซิสในเซลล์พืช เมื่ออยู่ในสารละลายที่มีความเข้มข้นต่างกันได้


1. หัวหอม 1 หัว


2. ใบมีดโกน 1 ชุด


3. สารละลายน้ำตาลเข้มข้น 10% 30 cm3


4. สไลด์และกระจกปิดสไลด์ 1 ชุด


5. กล้องจุลทรรศน์ 1 กล้อง


6. น้ำกลั่น 30 cm3


7. กระดาษเยื่อ 4 - 5 แผ่น

1. ลอกเยื่อด้านนอกของหัวหอมโดยการปอกเยื่อหัวหอมด้านนอกออกให้หมด ตัดรากและปลายหัวหอมออก ใช้มีดผ่าครึ่งตามยาวจากนั้นใช้มีดกดเบาๆ ที่โคนกลีบ ค่อยๆ ลอกเนื้อเยื่อด้านนอกออก จะได้เนื้อเยื่อบางๆ ที่มีสีแดง นำเนื้อเยื่อบางๆ ที่ได้วางบนสไลด์
2. หยดสารละลายน้ำตาลเข้มข้น 10% บนเยื่อบางๆ ปิดด้วยกระจกปิดสไลด์นำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ บันทึกผลที่สังเกตได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 นาที วาดรูปที่สังเกตได้
3. เปลี่ยนจากสารละลายน้ำตาลเข้มข้น 10% เป็นน้ำกลั่น ใช้กระดาษเยื่อแตะตรงขอบกระจกปิดสไลด์อีกด้านหนึ่ง  เพื่อซับสารละลายน้ำตาลเข้มข้นที่ไหลออกมา
4. ดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อีกครั้ง บันทึกผลที่สังเกตได้ทุกๆ 3 นาที แล้ววาดรูปที่สังเกตได้เอาไว้
5. ให้นักเรียนออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาว่า ถ้าใช้ความเข้มข้นของสารละลายต่างกันจะมีผลต่อเซลล์พืชอย่างไร

ผลการทดลองที่ได้ คือ

รายการ

ลักษณะของเซลล์ที่ปรากฏ

หยดสารละลายน้ำตาลเข้มข้น 10%

เซลล์จะเหี่ยวลง

หยดน้ำกลั่น

เมื่อหยดน้ำกลั่นเซลล์จะค่อย ๆ เต่งขึ้น

สรุปได้ว่า หยดสารละลายน้ำตาลเข้มข้น 10% น้ำเคลื่อนที่เซลล์เยื่อหอมทำให้เซลล์จะเหี่ยวลง เมื่อหยดน้ำกลั่นเซลล์จะค่อยๆ เต่งขึ้นน้ำจะเคลื่อนที่เข้าสู่เซลล์เยื่อหอม การที่น้ำจะเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความหนาแน่นของน้ำมาก (สารละลายเจือจาง) ไปยังบริเวณที่มีความหนาแน่นของน้ำ (สารละลายเข้มข้น) เรียกว่า "การออสโมซิส"



<< Go Back