ด่างทับทิม หรือ โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (Potassium permanganate – สูตรทางเคมี : KMnO4) คือ สารเคมีประเภท Inorganic (อนินทรีย์) ชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นผลึกหรือเกล็ดสีม่วง สามารถละลายน้ำได้ดี เมื่อละลายน้ำแล้วจะได้สารละลายสีม่วงหรือสีชมพูอมม่วง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณและความเข้มข้น
โดยทางเคมีแล้วเราถือว่าด่างดับทิมเป็นเกลือชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างอ่อน ๆ และมีคุณสมบัติเป็นสารออกซิเดชัน (Oxidation) อย่างแรง ปัจจุบันมีการนำมาใช้ประโยชน์ในครัวเรือหรือในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
1. สามารถช่วยลดหรือบรรเทาอาการอักเสบและอาการโป่งบวมของแผลริดสีดวงทวารได้ โดยอาศัยฤทธิ์ฝาดสมาน (Astringent) ของด่างทับทิม
2. สามารถนำมาใช้ในการล้างแผลเพื่อฆ่าเชื้อโรคได้
3. ใช่ฆ่าเชื้อแผลที่เกิดจากอาการน้ำเหลืองเสีย (ทำให้แผลหายช้า หรือแม้หายแล้วก็ยังทิ้งรอย) โดยจะช่วยทำให้แผลหายดีขึ้น
4. นำมาใช้ในอุตสากรรมต่าง ๆ ในฐานะเป็นสารออกซิเดชั่น (Oxidation) เช่น อุตสาหกรรมการฟอกย้อมสิ่งทอ ฟอกขาวเส้นใยสิ่งทอ ย้อมสีไม้และผ้า เป็นต้น
5. นำมาใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา และเชื้อแบคทีเรียในผักผลไม้ได้เป็นอย่างดี ใช้แช่ผักผลไม้ รวมไปถึงเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยฆ่าเชื้อโรคได้เท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ล้างสารเคมีที่ตกค้างอยู่ในผักผลไม้ได้อีกด้วย
6. นำมาใช้เพื่อฆ่าเชื้อในน้ำ ต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ตลอดจนสาหร่าย และใช้เป็นสารฟอกขาวได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้กำจัดธาตุเหล็กและแมกนีเซียมที่เจือปนมาในน้ำ และยังสามารถกำจัดกลิ่นดินกลิ่นสาบของน้ำได้อีกด้วย
7. นำมาใช้ล้างทำความสะอาดตู้ปลา บ่อปลา อ่างปลา เพื่อฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา และกำจัดแบคทีเรีย
8. ใช้ทำความสะอาดอาหารสดที่ใช้เลี้ยงปลา เช่น ไรน้ำ หนอนแดง ลูกน้ำ ไส้เดือนแดง
9. ส่วนประโยชน์อื่น ๆ ก็เช่น ใช้ควบคุมกลิ่น ใช้ในการวิเคราะห์เหล็ก ฆ่าเชื้อไข่พยาธิ เป็นต้น
เนื่องจากบานคนอาจไม่มีเครื่องมือในวัด ตวง หรือชั่ง ดังนั้นจึงขอให้ใช้วิธีที่ง่ายที่สุด ด้วยวิธีการดูจากสี ซึ่งเป็นการประมาณการที่ใกล้เคียง ถ้าจะนำมาใช้ฆ่าเชื้อในน้ำ โดยค่อย ๆ ใส่ด่างทับทิมลงไปแล้วคนให้ละลายก่อน แล้วสังเกตดูสีว่าอยู่ในระดับไหน ซึ่งสีที่สามารถนำมาใช้ได้ในระดับปลอดภัยก็คือ สีชมพูอ่อน (ขวดที่ 5) หรือ สีม่วงอ่อน (ขวดที่ 3) (ส่วนขวดกลางหรือขวดที่ 3 จะเริ่มเข้มแล้ว และขวดที่ 1-2 จากซ้ายสุดจะเข้มมากเกินไป และเป็นอันตรายต่อผิวหนัง)
หากเป็นสีชมพูอ่อนก็ประมาณได้ว่าน่าจะมีความเข้มข้นประมาณ 1 ต่อล้านส่วน แต่หากสารละลายเป็นสีม่วงก็จะประมาณได้ว่ามีความเข้มข้นประมาณ 1 ส่วนต่อ 76,000 ซึ่งจะเริ่มเป็นอันตรายต่อผิวหนังแล้ว ส่วนถ้าใช้ด่างทับทิมเพื่อฆ่าเชื้อในน้ำก็ต้องทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาที จึงจะนำน้ำไปใช้ได้
แต่อย่างไรก็ตามการใช้ด่างทับทิมที่มีความเข้มข้นสูง ๆ ในการตัดใช้แต่ละครั้ง ให้นำมาชั่งโดยมีหน่วยน้ำหนักเป็นกรัม การชั่งตวงน้ำหนักให้ถูกต้องก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ และไม่แนะนำให้ตักวัดเป็นช้อนชา เพราะจะไม่แม่นยำและจะมีความเบี่ยงเบนมาก
https://medthai.com/ด่างทับทิม/
|