<< Go Back

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์ จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพืช

ออกซิเจนเป็นแก๊สที่มีความสำคัญมากต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ อากาศที่เราใช้หายใจทุกวันนี้มีออกซิเจนผสมอยู่เพียง 21% ในการดำรงชีพร่างกายของมนุษย์จำเป็นต้องใช้ออกซิเจน เราต้องหายใจเอาออกซิเจนเข้าไป เพื่อใช้ในขบวนการเผาผลาญสารอาหารต่างๆ ให้เป็นพลังงาน และเพื่อให้เซลล์ต่างๆ ของร่างกายใช้หายใจ ถ้าเซลล์ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้รับออกซิเจนลดลงหรือขาดออกซิเจน จะทำให้อวัยวะนั้นๆ ตายได้ ดังนั้นออกซิเจนจึงมีความสำคัญกับร่างกายของมนุษย์อย่างมาก

1. ไม่ติดไฟ แต่ช่วยให้ไฟติด
2. ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ในสภาพเป็นแก๊ส แต่ในสภาพของเหลวจะมีสีน้ำทะเลอ่อน
3. เป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ก๊าซ ของเหลว และของแข็ง
4. มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิ –183 C และกลายเป็นของแข็งที่อุณหภูมิ 218 C ออกซิเจนบริสุทธิ์ในสภาพของเหลวจะใช้ช่วยในการขับดันจรวด ส่วนออกซิเจนที่อยู่ในสภาพแก๊สจะบรรจุขวดใช้สำหรับช่วยในการหายใจของนักบิน และคนไข้ในงานแพทย์ ในส่วนของงานอุตสาหกรรมจะใช้ในงานเชื่อมและงานตัด ออกซิเจนเมื่อรวมตัวกับธาตุอื่นจะเกิดปฏิกิริยาเรียกว่า “ออกซิเดชัน” (Oxidation) การเกิดออกซิเดชันนี้ ถ้าเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจะมีความร้อนและมีแสงเกิดขึ้น ซึ่งเราเรียกว่า “การสันดาป” ตัวอย่างการเกิดออกซิเดชันได้แก่ การเกิดสนิมในเนื้อเหล็ก แต่ปฏิกิริยาได้เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ จึงมีความร้อนเกิดขึ้นน้อย ในขณะเดียวกันเหล็กที่กำลังร้อนจัด เมื่อเพิ่มออกซิเจนเข้าจะเกิดปฏิกิริยาขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อมีความดันลมช่วยเป่า ก็จะทำให้เนื้อเหล็กที่กำลังเกิดออกซิเดชันหลุดออก ทำให้เหล็กขาดออกจากกัน จากหลักการที่กล่าวมาจึงนำไปใช้กับการตัดเหล็กด้วยแก๊สได้เป็นอย่างดี และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้

ออกซิเจนช่วยเสริมสร้างการหายของบาดแผล โดยเฉพาะแผลเรื้อรัง เช่น แผลเบาหวาน แผลหลอดเลือด แผลที่เป็นผลจากการฉายรังสี การให้ออกซิเจนจะทำให้มีปริมาณออกซิเจนในเนื้อเยื่อรอบแผลเพิ่มมากขึ้น เซลล์ต่างๆที่ได้รับออกซิเจนทำงานได้ดีขึ้นสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ มีการสร้างเนื้อเยื่อและหลอดเลือดฝอยใหม่ขึ้นจึงทำให้แผลหาย อีกทั้งยังช่วยรักษาโรคปอดบวมและโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ

เมื่อร่างกายขาดออกซิเจน เซลล์ต่างๆทั่วร่างกายจะขาดออกซิเจนร่วมด้วย จึงทำให้เกิดอาการต่างๆดังนี้ คือ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ เมื่อยล้า ซึมเศร้า มึนศีรษะ กระสับกระส่าย ความจำเสื่อมหรือสูญเสียความจำ การไหลเวียนของโลหิตเสียไป การย่อยและการดูดซึมอาหารบกพร่อง มีกรดในกระเพาะเพิ่มขึ้น ภูมิต้านทานลดลง ติดเชื้อโรคได้ง่าย

http://www.arokaplus.com/index.php/importance-of-oxygen.html
http://oknation.nationtv.tv/blog/krunut/2010/11/26/entry-1

<< Go Back