<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถกำหนดปัญหาของการทดลองได้
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถตั้งสมมุติฐานจากปัญหาที่กำหนดได้
3. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ได้
4.เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกชื่อเลนส์ที่เป็นส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ได้
5.เพื่อให้นักเรียนสามารถคำนวณหากำลังขยายของกล้องจุลทรรศน์ได้
6.เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกประโยชน์ของกล้องจุลทรรศน์ได้

  1. กล้องจุลทรรศน์               1          กล้อง

   2. รูปกล้องจุลทรรศน์         

ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายและบันทึกการอภิปรายเกี่ยวกับกล้องจุลทรรศน์ในหัวข้อต่อไปนี้
1. ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องจุลทรรศน์
2. เลนส์ที่เป็นส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์
3. ตัวเลขที่กำกับไว้ที่เลนส์แต่ละอัน

ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ ส่วนที่เป็นตัวกล้อง ประกอบด้วย
1. ลำกล้อง (body tube) เป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างเลนส์ใกล้ตากับเลนส์ใกล้วัตถุ มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้แสงจากภายนอกรบกวน
2. แขน (arm) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ยึดระหว่างลำกล้องและฐานกล้องเป็นตำแหน่งที่ใช้จับกล้องในขณะเคลื่อนย้ายกล้องจุลทรรศน์
3. แท่นวางสไลด์ (stage) เป็นแท่นที่ใช้วางสไลด์ (slide) ตัวอย่างที่ต้องการศึกษาที่ตรงกลางแท่นวางสไลด์จะมีช่องให้แสงส่องทะลุจากเลนส์รวมแสงไปยังเลนส์ใกล้วัตถุและเลนส์ใกล้ตา
4. ที่หนีบสไลด์ (stage clips) เป็นแผ่นโลหะใช้จับหรือหนีบสไลด์ให้ติดอยู่กับแท่นวางสไลด์ ป้องกันไม่ให้แผ่นสไลด์เลื่อนหลุดจากแท่นวางสไลด์ แต่กล้องรุ่นใหม่มักมีที่ยึดสไลด์ชนิดใช้มือหมุนเลื่อนแผ่นสไลด์ (mechanical stage) แทนที่หนีบสไลด์ เพื่อควบคุมการเลื่อนสไลด์ไปทางด้านบน ด้านล่าง ด้านขวา หรือด้านซ้าย
5. ฐาน (base) เป็นส่วนล่างสุดของกล้องจุลทรรศน์ ทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวกล้องทั้งหมด
6. แป้นหมุนเลนส์ (revolving nosepiece) เป็นแป้นกลมหมุนได้ซึ่งมีเลนส์ใกล้วัตถุติดอยู่ทำหน้าที่หมุนเปลี่ยนกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุตามที่ต้องการ
เลนส์ที่เป็นส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์
- เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) เป็นเลนส์ที่อยู่ใกล้กับแผ่นสไลด์ หรือวัตถุ ปกติติดกับแป้นวงกลมซึ่งมีประมาณ 3-4 อัน แต่ละอันมีกำลังบอกเอาไว้ เช่น x3.2, x4, x10, x40 และ x100 เป็นต้น ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุเป็นภาพจริงหัวกลับ
- เลนส์ใกล้ตา (Eye piece) เป็นเลนส์ที่อยู่บนสุดของลำกล้อง โดยทั่วไปมีกำลังขยาย 10x หรือ 15x ทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดภาพที่ตาผู้ศึกษาสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ
- เลนส์รวมแสง (Condenser) ทำหน้าที่รวมแสงให้เข้มขึ้นเพื่อส่งไปยังวัตถุที่ต้องการศึกษา
ซึ่งตัวเลขที่กำกับไว้ที่เลนส์แต่ละอันหมายถึง กำลังขยายของเลนส์นั้นๆโดยที่
                                        กำลังขยายของกล้องจุลทรรศน์ = กำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ × กำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา



<< Go Back