การจัดการข้อมูล หมายถึง การป้อนข้อมูลเข้าและทำการแก้ไขข้อมูล เมื่อมีการพิมพ์ผิดหรือต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูล นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น การคัดลอกข้อมูลในกรณีที่มีข้อความเหมือนกันโดยที่ไม่ต้องทำการพิมพ์ซ้ำ ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาในการพิมพ์ การล้างข้อมูลที่ไม่ต้องการออก การแทรกข้อมูลเมื่อมีการพิมพ์ตกหล่น การค้นหาข้อมูล และการแทนที่ข้อมูลจากค่าหนึ่งไปเป็นอีกค่าหนึ่ง หลังจากตั้งค่าหน้ากระดาษเรียบร้อยแล้วในหน้าต่างเอกสารจะแสดงเคอร์เซอร์ I กะพริบในเอกสาร เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถพิมพ์ข้อความภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวเลข สัญลักษณ์ต่าง ๆ ลงไปได้เลย ซึ่งมีวิธีดังนี้ - ตำแหน่งที่เคอร์เซอร์กะพริบสามารถพิมพ์ข้อความลงไปได้ทันที ถ้าหากต้องการเว้นวรรคให้กดแป้นเว้นวรรคหรือ Spacebar - เมื่อต้องการขึ้นบรรทัดใหม่ให้กดแป้น Enter - เมื่อพิมพ์ข้อความต่อไปเรื่อยๆ โปรแกรมจะตัดคำหรือข้อความแต่ละบรรทัดให้อัตโนมัติ - หากต้องการพิมพ์ข้อความภาษาอังกฤษให้กดแป้น เพื่อเปลี่ยนภาษาจากนั้นพิมพ์ข้อความลงไป
กรณีที่พิมพ์ข้อมูลผิดหรือข้อความผิดแล้วต้องการแก้ไข สามารถแก้ไขโดยการพิมพ์ข้อความใหม่แทนที่ข้อความเดิม , การลบตัวอักษร , การเรียกข้อมูลมาแก้ไข , การแทรกตัวอักษร หรือโดยการแก้ไขส่วนรายละเอียดภายในข้อความจากแถบเมนูก็ได้ เพราะมีคำสั่งแก้ไขเลิกทำการป้อนข้อมูล , ทำซ้ำการพิมพ์ป้อน ในขณะเดียวกันเราสามารถใช้แป้นพิมพ์ หรือเมาส์ในการเลือกข้อความที่ผิดมาแก้ไข อีกทั้งผู้ใช้งานยังสามารถใช้แบบตัวอักษรที่มีความต่างกันได้คือ การเปลี่ยนแบบตัวอักษร ขนาดตัวอักษร และสีของตัวอักษรที่ไม่เหมือนข้อความโดยรวม มีวิธีแก้ไขข้อมูลดังนี้ - คลิกเมาส์เลือกตำแหน่งที่ต้องการแก้ไข ถ้าต้องการลบให้กดแป้น Backspace ดังรูป - ต้องการเว้นวรรคเพื่อพิมพ์ข้อความให้กดแป้น Spacebar 1 ครั้ง จากนั้นพิมพ์ข้อความที่ต้องการลงไป การเลื่อนไปยังตำแหน่งที่จะแก้ไขข้อมูลใช้ปุ่มต่อไปนี้ ปุ่มต่าง ๆ ที่แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการแก้ไขข้อมูล
การเลือกข้อมูล (Selection) หมายถึง การกำหนดกลุ่มข้อมูลเพื่อทำงานใด ๆ ในช่วงหนึ่งซึ่งในกรณีของการเลือกข้อมูลที่เป็นข้อความมักจะใช้คำว่า “การระบายแถบสี” ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับผู้ใช้งานในโปรแกรมต่างๆ ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ทั่วไป และมีส่วนดีในจุดที่มีหลักการทำงานคล้ายคลึงกันเกือบทุกโปรแกรม ข้อมูลที่ถูกเลือกไว้สามารถนำไปทำงานตามที่ต้องการได้ 3.1 การเลือกข้อความโดยการใช้เมาส์ 1) การเลือกข้อความตามต้องการ 2) การเลือกเฉพาะคำในเอกสาร 3) การเลือกทั้งบรรทัด 4) การเลือกทั้งย่อหน้า 5) การเลือกข้อความทั้งหมดในเอกสาร| 3.2 การเลือกข้อความโดยใช้คำสั่งเลือก คลิกแท็บคำสั่งหน้าแรกในแท็บคำสั่งย่อยการแก้ไข ซึ่งคำสั่งเลือกยังแบ่งเป็นคำสั่งย่อย ๆ อีก 3 คำสั่ง ได้แก่ เลือกทั้งหมด เลือกวัตถุ และ เลือกข้อความที่รูปแบบคล้ายกัน โดยวิธีการเลือกทำได้โดยนำเมาส์ไปคลิกที่ปุ่มคำสั่ง เลือก จะปรากฏกลุ่มคำสั่งย่อยขึ้น ดังนี้ 1. เลือกทั้งหมด เป็นการเลือกข้อความทั้งเอกสาร ซึ่งจะเหมือนกับการกดปุ่ม Ctrl+A ที่แป้นพิมพ์โดยมีวิธีการเลือก คือ นำเมาส์ไปคลิกที่เครื่องมือ เลือกทั้งหมด โปรแกรมจะทำการเลือกข้อความทั้งหมดในเอกสารให้ทันทีที่คลิก
การเคลื่อนย้ายข้อมูลในกระดาษทำการ หมายถึง การย้ายข้อมูลหรือข้อความ จากตำแหน่งหนึ่งไปยังตำแหน่งใหม่ การเคลื่อนย้ายข้อมูลต่างจากการคัดลอก คือ ผลจากการคัดลอกจะทำให้มีข้อมูลเพิ่มขึ้นจากเดิม ส่วนผลจากการเคลื่อนย้ายข้อมูลจะไม่ทำให้มีข้อมูลเพิ่มขึ้น เพียงแต่เป็นการย้ายข้อมูลจากที่เดิมไปอยู่ที่ตำแหน่งใหม่ วิธีที่ 1 การย้ายข้อมูลโดยการใช้เมาส์ วิธีที่ 2 การย้ายข้อมูลโดยการใช้คำสั่งตัด (Cut) และ วาง (Paste)
5.1 การคัดลอก การคัดลอก จะใช้เมื่อต้องการป้อนข้อมูลที่มีข้อความเหมือนกันในหลาย ๆ ตำแหน่งบนกระดาษ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถทำการคัดลอกข้อความนั้นๆ และนำไปวางในตำแหน่งอื่นๆได้ ซึ่งง่ายกว่าการป้อนข้อมูลลงไปใหม่หลาย ๆ ครั้งโดยที่เป็นข้อมูลเดียวกัน โดยก่อนการคัดลอกให้ผู้ใช้งานดรากเมาส์คลุมข้อความที่ต้องการคัดลอก จากนั้นไปที่แท็บคำสั่งหน้าแรก คลิกเลือกวาง แต่ถ้าผู้ใช้งานไม่ถนัดการใช้คำสั่งที่แท็บคำสั่ง ก็สามารถใช้การกดปุ่ม Ctrl + c ที่คีย์บอร์ดเพื่อทำการ Copy (คัดลอก) และใช้การกดปุ่ม Ctrl + v ที่คีย์บอร์ดแทนการใช้คำสั่ง paste (วาง) ที่แท็บ HOME (หน้าแรก) ก็ได้ 5.2 ตัวเลือกการวาง Past Option หลังจากที่วางข้อมูลด้วยคำสั่ง Past (วาง) แล้ว ผู้ใช้งานจะเห็นเครื่องหมาย อยู่ด้านหลังข้อความ เครื่องหมายนี้มีชื่อว่า Past Option (ตัวเลือกการวาง) ทำหน้าที่เป็นตัวเลือกว่าเราต้องการวางข้อมูลในลักษณะไหน โดยสามารถคลิกเลือกคำสั่งย่อยได้ ตัวเลือกการวางประกอบด้วย 3 ตัวเลือก ซึ่งแต่ละตัวเลือกมีความหมายดังนี้ Keep source Formatting (K) : ใช้รูปแบบเหมือนกับต้นฉบับ สำหรับวงเล็บตัวอักษร K, M และ T นั้นเป็นคำสั่งย่อ วิธีการใช้งานก็เพียงกดปุ่ม Ctrl เมื่อเห็น แสดงขึ้นมา จากนั้นค่อยกดปุ่ม K, M และ T 5.3 การค้นหาและการแทนที่ข้อมูล 5.3.1 การค้นหา 5.3.2 การแทนที่ข้อมูล
|