<< Go Back

1. อุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบแม่เหล็ก เช่น ฟลอปปีดิสก์ (Floppy disk/Diskettes) ฮาร์ดดิสก์ (Hard disks) เทปแม่เหล็ก (Magnetic tape) ซิปไดรฟ์ (Zip drive)
2. อุปกรณ์บันทึกข้อมูลชนิดแสง เช่น ซีดีรอม  ดีวีดีรอม  ซีดีอาร์  ซีดีอาร์ดับบลิว  ดีวีดีอาร์ลบ  ดีวีดีอาร์บวก  ดีวีดีอาร์ดับบลิว และล่าสุด บลูเรย์ดิสก์
3. อุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบดิจิตอล   เช่น  SD-card , MMC-card , CF-card , MS-card ,
Micro SD,  Thumb drive (หรือที่เรียกกันชื่ออื่นอีกว่า flash drive, travel drive) ฯลฯ

แผ่นดิสก์ (Diskette) คือ  แผ่นบางๆที่ใช้บันทึกข้อมูล สามารถนำไฟล์จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปใช้กับคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งได้ มีข้อดี คือพกพาได้ง่าย แต่มีข้อเสีย คือมีความจุน้อย เพียงแค่ 1.44  Megabyte * ซึ่งปัจจุบันไม่มีเป็นที่นิยม*

ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)  คือ  อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่ถูกติดตั้งไว้ในคอมพิวเตอร์เป็นการถาวรเพื่อทำหน้าที่เก็บไฟล์โปรแกรมและไฟล์ข้อมูล  มีข้อดี คือ มีความจุมากนับพันเท่าของแผ่นดิสก์ อีกทั้งยังมีความเร็วสูงสามารถเซฟและเปิดข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

               

แผ่นดิสก์  และ ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเขียนและอ่านข้อมูลซ้ำได้  คือ  สามารถบันทึก (Save) ข้อมูลลงไป แล้ว เปิด (Open) ข้อมูลนั้นกลับมาแก้ไขแล้วบันทึกซ้ำลงไปได้ แต่มีอุปกรณ์บันทึกข้อมูลอีกประเภทหนึ่งที่ไม่สามารถบันทึกไฟล์ซ้ำลงไปได้ ทำได้แต่เพียงเปิดไฟล์เพื่ออ่านเท่านั้น
อุปกรณ์นั้นคือ ซีดีรอม (CD-ROM)            

ซีดีรอม (CD-ROM) คือ อุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบอ่านได้อย่างเดียว มีข้อดีคือแผ่นหนึ่งจะมีความจุสูงถึง 700 Megabyte แต่มีราคาไม่กี่สิบบาท บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่จึงนิยมนำซอฟต์แวร์ของตนใส่ในซีดีรอมออกวางตลาด แต่ในปัจจุบันได้มีการผลิตซีดี-อาร์ดับบลิว (CD-RW)  ซึ่งเป็นแผ่นซีดีที่สามารถบันทึกซ้ำและลบข้อมูลทิ้งได้ โดยที่แผ่นซีดีนี้สามารถแบ่งการบันทึกเป็นหลายๆ Session ได้เช่นเดียวกับแผ่น CD-R แตกต่างกันตรงที่แผ่น CD-RW สามารถบันทึกซ้ำ และลบข้อมูลทิ้งได้ อย่างไรก็ตาม การนำแผ่นที่มีข้อมูลอยู่แล้วมาบันทึกซ้ำ หรือนำแผ่นที่มีข้อมูลเต็มแล้วกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง จำเป็นต้องลบข้อมูลทั้งแผ่นทิ้งไปก่อน แล้วจึงค่อยนำกลับมาใช้ใหม่เหมือนแผ่นเปล่านั่นเอง  และด้วยความสามารถที่เหนือกว่าแผ่น CD-ROM จึงทำให้แผ่น CD-RW มีราคาที่สูงกว่าแผ่น CD-ROM ทั่วไป

Thumb drive  คือ  อุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลต่างๆ ซึ่งสามารถนำไฟล์จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปใช้กับคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งได้คล้ายๆ กับแผ่นดิสก์  มีข้อดี คือพกพาได้ง่าย และ ยังมีพื้นที่ในการเก็บข้อมูลมากกว่าแผ่นดิสก์หลายเท่า เช่น 128 MB  , 256 MB , 2 GB  และ 4 GB  เป็นต้น



เราสามารถดูพื้นที่ว่างที่ยังไม่มีการใช้งาน หรือ ขนาดของของดิสก์ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิสก์เก็ต หรือ ฮาร์ดดิสก์ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น มีวิธีการดังนี้

เข้าที่หน้าต่าง Computer จะแสดงรายชื่อของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ และ อุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ถอดได้ เช่น แฟลชไดร์ฟ พร้อมทั้งชื่อ และ พื้นที่ว่างที่เหลือของพื้นที่ทั้งหมด ดังรูป

ในกรณีที่ต้องการที่จะทราบพื้นที่ที่ใช้งานไปแล้วด้วย ว่าในไดร์ฟนี้ใช้พื้นที่ไปแล้วเท่าไร สามารถทำได้โดยคลิกขวาที่ไดร์ฟที่ต้องการ แล้วเลือกที่คำสั่ง Properties จะปรากฏรายละเอียดของไดร์ฟนั้นๆ ดังรูป


การฟอร์แมต ( Format )  คือ  การจัดเรียงเนื้อที่ให้กับอุปกรณ์บันทึกข้อมูลต่างๆ   เช่น  Diskette , Thumb drive   หรือ  Hard disk  ให้เรียงลำดับจากแทรคแรกจนถึงแทรคสุดท้าย   ก่อนทำการบันทึกหรือเก็บข้อมูล   หรือในกรณีที่มีข้อมูลอยู่แล้ว และต้องการล้างข้อมูลข้างในทิ้งเพื่อให้มีพื้นที่ว่างเปล่าพร้อมที่จะใช้บันทึกข้อมูลใหม่    โดยการฟอร์เมตฮาร์ดดิสก์นั้นมีวิธีการดังนี้

และเมื่อทำการ Format เรียบร้อยแล้วก็ให้ปิดหน้าต่างของ  Computer Management  ลงไป

 

         ในกรณีที่ต้องการใช้คำสั่งฟอร์แมตทันที โดยไม่ต้องเข้าไปที่ Computer Management  ก่อนก็สามารถทำได้ โดยมีวิธีการดังนี้

<< Go Back