คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่าย และซับซ้อนตามคำสั่งของโปรแกรม ขั้นตอนการทำงานจะประกอบด้วย การรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ แล้วทำการคำนวณ เคลื่อนย้ายเปรียบเทียบ จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน เป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ Input Process และ output ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังภาพ 1. รับข้อมูลเข้า (Input) การนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่องถ้าเป็นการเขียนภาพ จะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น คอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เราเรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) ไปจนถึงคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เราเรียกว่า เมนเฟรม (Main Frame ) หรือ คอมพิวเตอร์ยักษ์ , ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer ) ต่างก็มีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 1. ส่วนที่ทำหน้าที่รับข้อมูลและคำสั่ง เราเรียกว่า " หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หรือ อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) " 1. หน่วยรับข้อมูล (input unit) 2. หน่วยการแสดงผล (output unit) 3. หน่วยจัดเก็บ (Storage unit) 4. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น ขั้นแรกคอมพิวเตอร์จะรับเอา ข้อมูล(Data) และ คำสั่ง (Instruction) เข้าไปเก็บไว้ใน หน่วยความจำ (Memory) ก่อน จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ของคอมพิวเตอร์ก็จะนำคำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำนี้ มาตีความหมาย แล้วแจกจ่ายงานและควบคุมให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานตามคำสั่งเหล่านี้ไปทีละคำสั่งเพื่อประมวลผล ข้อมูล จนได้ผลลัพธ์ตามที่เราต้องการ ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าเราป้อนคำสั่ง ผ่านทางแป้นพิมพ์ (Keyboard) เข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ดังรูป จากนั้น เมื่อเราสั่งให้คอมพิวเตอร์เริ่มทำงานตามคำสั่งคอมพิวเตอร์ CPU ก็จะนำคำสั่งแรกคือ A = 5 มาตีความหมายได้ว่า ให้จัดเตรียมพื้นที่ในหน่วยความจำไว้สัก 1 แห่ง ตั้งชื่อพื้นที่ตรงนั้นว่า A แล้วนำเลข 5 ไปเก็บไว้ในพื้นที่นั้น ดังรูป ลำดับต่อไป CPU ก็จะนำคำสั่งที่สอง คือ B = 6 มาตีความหมายได้ว่า ให้จัดเตรียมพื้นที่ในหน่วยความจำไว้สัก 1 แห่ง ตั้งชื่อพื้นที่ตรงนั้นว่า B แล้วนำเลข 6 ไปเก็บไว้ในพื้นที่นั้น ดังรูป จากนั้น เมื่อ CPU นำคำสั่งที่สาม คือ C = A + B มาตีความหมายก็จะได้ว่า ให้นำค่าของ A (คือ 5) และ B (คือ 6) จากหน่วยความจำ ส่งไปให้ CPU ทำการบวกกันได้ผลลัพธ์เป็น 11 นำกลับลงมาเก็บไว้ในหน่วยความจำโดยชื่อพื้นที่ตรงนั้นว่า C ดังรูป เมื่อเราดูที่เครื่อง (Case : เคส ) ของคอมพิวเตอร์ ก็จะพบว่ามีปุ่มที่สำคัญอยู่ 2 ปุ่ม ดังรูป 1. ปุ่ม Power เป็นปุ่มที่ใช้ เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และใช้ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เช่นกัน แต่ควรจะปิดด้วยการใช้คำสั่ง Turn Off หรือ Shut down มากกว่า การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใช้งานนั้น ให้กดที่ปุ่ม Power เพื่อให้กระแสไฟเข้าไปหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ต่าง ๆจากนั้นรอสักครู่ CPU ก็จะเริ่มทำการตรวจสอบอุปกรณ์ส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น หน่วยความจำ (Memory) ,แป้นพิมพ์ ( Keyboard) ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) , เครื่องอ่าน - บันทึกแผ่นดิสก์(Disk Drive) เป็นต้น ว่าอยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงานหรือไม่ หากมีอุปกรณ์ใดอยู่ในสภาพไม่พร้อมเช่น สายหลุด หลวม เครื่องก็จะรายงานเป็นข้อความออกมาให้เราทราบบนจอภาพ แต่หากทุกส่วนอยู่ในสภาพที่ปกติเครื่องก็จะอ่านโปรแกรม Dos จากในฮาร์ดดิสก์ ขึ้นมาทำหน้าที่ควบคุมและจัดการการทำงานของ CPU และอุปกรณ์ต่าง ๆ จากนั้น ก็จะแสดงเครื่องหมาย C:\ (เรียกว่าเครื่องหมาย ซี-พร๊อม (C-Prompt) แต่ในปัจจุบันได้มีการใช้ระบบปฏิบัติการเข้ามาใช้งานที่เรียกว่า Windows ซึ่งทำให้ระบบ DOS ไม่ค่อยมีบทบาทหรือนิยมใช้กัน ซึ่งหากเราใช้ระบบปฏิบัติการ Windows เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาก็จะพบกับหน้าจอของ Desktop ดังรูป หน้า Desktop โปรแกรม Windows 8 ในการปิดเครื่องอย่างถูกวิธีจำเป็นอย่างมากในการใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows ในปัจจุบัน เนื่องจากคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการจะต้องมีการลงโปรแกรม หรือ ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ มากมาย หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ถูกวิธี เช่น กดปุ่มPower หรือ ถอดปลั๊กไฟออกเลยนั้นจะทำให้ไฟล์โปรแกรมหรือฮาร์ดดิสก์ที่อยู่ในตัวเครื่องเกิดความเสียหาย หรือโปรแกรมเสียได้ง่าย ซึ่งในการปิดเครื่อง อย่างถูกวิธีคือการใช้คำสั่ง Turn Off หรือ Shut down จาก Windows นั่นเอง ชีวิตมนุษย์เราทุกวันนี้มีความผูกพันกับคอมพิวเตอร์ จนแทบจะไม่สามารถแยกออกจากกันได้ จนมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็น “ยุคแห่งคอมพิวเตอร์” ไปแล้ว และถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพียงไม่กี่สิบปี แต่ก็มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและถูกนำไปประยุกต์ใช้กับงานในด้านต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น งานด้านธุรกิจ การแพทย์ การศึกษา การคมนาคม ศิลปะ บันเทิงและอุตสาหกรรม เป็นต้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้ คอมพิวเตอร์กับการศึกษา ตามสถานศึกษาต่าง ๆ ในปัจจุบัน มักจะมีการเปิดสอนวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์กันอย่างมากมาย เริ่มตั้งแต่ระดับประถมศึกษาหรือชั้นอนุบาลกันเลยทีเดียว ซึ่งนอกจากจะมีการเรียนคอมพิวเตอร์เป็นวิชาในหลักสูตรต่างๆ แล้วยังมีการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้เพื่อประสิทธิภาพมากขึ้น ที่เราเรียกว่า “ ระบบ CAI (Computer Assists Instruction) ” คอมพิวเตอร์กับงานธุรกิจในทางธุรกิจนั้น มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยทำงานในเรื่องต่าง ๆเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การทำบัญชี การบริหารสต๊อกสินค้า และการให้บริการลูกค้าเพื่อเน้นความรวดเร็วและถูกต้อง เป็นต้น สำหรับในระดับของผู้บริหารนั้นก็มีการนำคอมพิวเตอร์มาเก็บข้อมูล และสรุปผลการทำงานในด้านต่าง ๆ เพื่อช่วยให้สามารถตัดสินใจบริหารงานทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น คอมพิวเตอร์กับอุตสาหกรรม ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในภาคอุตสาหกรรม โดยจะเห็นได้จากมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการออกแบบสินค้าต่าง ๆ ที่เราเรียกว่า “ ระบบ CAD (Computer Aided Designy) ” คอมพิวเตอร์กับงานธนาคาร ในระบบธนาคาร มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาจัดการงานหลัก ๆ ทั้งการรับฝาก-ถอนเงิน และทำบัญชีต่าง ๆ เพื่อให้ธนาคารสามารถ ให้บริการกับลูกค้าที่มาติดต่อได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง มีการนำระบบฝากถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) เข้ามาใช้ เพื่อให้ความสะดวกแก่ลูกค้า สามารถฝาก - ถอนได้ตลอด 24 ชั่วโมง คอมพิวเตอร์กับการทหาร สงครามในยุคปัจจุบันนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น “สงครามอิเลคโทรนิค” ทั้งนี้เนื่องจากอาวุธต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน เรือรบ รถถัง ตลอดจนจรวดและขีปนาวุธ ล้วนแล้วแต่เป็นอาวุธที่ถูกควบคุมการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น ทำให้อาวุธเหล่านี้เป็นอาวุธ ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถโจมตีเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ งานด้านวิทยาศาสตร์ อวกาศ-การบิน การสื่อสารและคมนาคมปัจจุบัน งานด้านวิทยาศาสตร์มีความเจริญรุดหน้าเป็นอย่างมากเนื่องจากมนุษย์เราสามารถทำการทดลองและสรุปผลในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นตัวช่วยในการวางแผนการทดลองควบคุมการทดลองและประเมินผลได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว คอมพิวเตอร์กับงานด้านบันเทิงและภาพยนตร์หากเราสังเกตให้ดีจะพบว่า ในระยะหลัง ๆ นี้มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานด้านบันเทิงและการสร้างภาพยนตร์เป็นอย่างมาก ตั้งแต่การทำเทคนิคพิเศษ ควบคุมแสงสี ตลอดจนการสร้างภาพและฉากที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ เช่น ฉากการต่อสู้ของยานอวกาศ หรือไดโนเสาร์พันธุ์ต่างๆ ที่เคลื่อนไหวได้อย่างสมจริง เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้นอกจากจะทำให้ผู้ชมได้รับความสนุกสนานแล้ว ยังก่อให้เกิดจินตนาการที่แปลกใหม่ในโลกภาพยนตร์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน คอมพิวเตอร์กับงานศิลปะ คอมพิวเตอร์กับการแพทย์ การใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นที่นิยมแพร่หลาย ซึ่งคอมพิวเตอร์นั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้กับทุกวงการ ซึ่งคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้ คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์ที่สร้างปัญหาให้กับผู้ใช้งานใหม่เสมอ เนื่องจากผู้ใช้งานใหม่มักพิมพ์ดีดได้ไม่คล่อง ดังนั้นผู้เรียนจึงควรฝึกพิมพ์ดีดแบบสัมผัสควบคู่ไปกับการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ด้วย โดยอาจจะเลือกฝึกพิมพ์ดีดจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรม Typing Tutor , โปรแกรมพิมพ์ไทย และโปรแกรมดวงจันทร์ เป็นต้น
เมาส์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ชี้ และควบคุมสิ่งต่าง ๆ ในจอภาพ โดยที่มีตัวแทนของตำแหน่งที่ชี้ เรียกว่า “ตัวชี้เมาส์ (Mouse Pointer)” ซึ่งมีสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้มากมาย แต่ที่ผู้เรียนมักพบบ่อย มีดังนี้
เลื่อนเมาส์ เลื่อนเมาส์ในมือคุณ เพื่อเลื่อนตัวชี้เมาส์ในจอภาพไปยัง ตำแหน่งต่าง ๆ ตามต้องการ
ระบบปฏิบัติการ (Operating System หรือ OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่ง และจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ หรือ จัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวพร้อมๆ กัน
ในอดีตการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ จะต้องเริ่มต้นที่ ms-dos เสมอ ซึ่ง MS-dos เองเป็นระบบ ปฏิบัติการเล็ก ๆ ตัวหนึ่งที่ทำงานได้เพียงครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ( Single Task ) และทำงานแบบ 16 บิต ( Ms -Dos Version 6.22 ) ตลอดจนการติดต่อกับผู้ใช้ยังเป็นแบบตัวอักษรล้วน ๆ |