นอกจากการทำงานในหน้า Satrt เพื่อเรียกใช้งานแอพต่างๆ ในหน้าจอแบบใหม่แล้ว การทำงานกับ Desktop แบบเดิมๆ เราก็คงยังใช้งานกันได้อยู่ เพราะว่าการจัดการกับงานบางอย่าง ยังคงต้องใช้โหมดนี้จัดการอยู่ เช่น การจัดการกับไฟล์และโฟลเดอร์ภายในเครื่อง (การสร้างโฟลเดอร์, ก๊อปปี้ไฟล์ , ลบไฟล์, ย้ายไฟล์, เปลี่ยนชื่อไฟล์) รวมถึงการจัดการกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เมื่อเปิดไอคอน This PC ขึ้นมา ก็จะบริหารจัดการกับไดรว์ต่างๆ การเลือกไดรว์ของฮาร์ดดิส, แผ่น CD/DVD ใน Windows 10 คุณยังสามารถแชร์ไฟล์รูปภาพจากโฟลเดอร์ขึ้นแอพต่างๆได้เลย ซึ่งรายละเอียดต่างๆ เราจะมาดูกันในบททนี้ การทำงานกับ Windows 10 นอกจากการใช้งานพื้นฐาน หรือเรียกใช้งานแอพที่อยู่บน Windows แล้วการจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ในเครื่องก็มีความสำคัญสูง เพราะการลงแอพ ลงโปรแกรม การเข้าอินเตอร์เน็ต หรือการบันทึกงานก็ดี ล้านต้องจัดเก็บลงในฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ของเครื่องทั้งสิ้น เราก็ต้องบริหารจัดการไฟล์เหล่านั้นได้ เช่น ค้นหา, เปิดใช้, ลบไฟล์, เปลี่ยนชื่อไฟล์, ย้ายตำแหน่ง, ก็อปปี้ หรือแบ่งกลุ่มเก็บเป็นโฟลเดอร์ (Folder) เพื่อจะได้จัดการง่ายๆ ซึ่งในการทำงานกับไฟล์ (File) และโฟลเดอร์ (Folder) เราจะทำงานบทเดสก์ทอปดังนี้ - การเข้าถึงไฟล์และโฟลเดอร์ที่ง่ายที่สุดคือ การเปิดไอคอน This PC ซึ่งจะแสดงอุปกรณ์ที่มีภายในเครื่อง และแสดงไดรว์ของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เก็บข้อมูลไดรว์ต่างๆ รวมถึงไดรว์แผ่นซีดี/ดีวีดี และ USB แฟลชไดรว์ ไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่คุณไม่ต้องการใช้งานแล้ว ก็ลบทิ้งออกจากเครื่องได้ โดยใช้คำสั่ง Delete ลบ แต่การลบในระบบ Windows นั้น โปรแกรมจะลบไฟล์จากที่เก็บไว้ในโฟลเดอร์ชื่อ Recycle Bin ก่อน เพื่อป้องกันการใช้คำสั่งผิดซึ่งคุณสามารถไปเปิด Recycle Bin เพื่อนำไฟล์ที่ลบคืนมา (Restore) ได้ หรือจะตามไปลบทิ้งแบบถาวรก็ได้เช่นกัน การจัดการ Recycle Bin คุณสามารถแชร์ไฟล์ไปยังแอพหรือโปรแกรมต่างๆได้โดยเพียงแค่เลือกไฟล์แล้วคลิกปุ่ม Share บนแท็บ Share ก็จะมีรายการแอพให้คุณเลือกว่าจะแชร์ผ่านแอพตัวไหน เช่น Facebook, Email, Dropbox, Twitter และอื่นๆ ขึ้นอยู่กับว่าเครื่องของคุณได้ติดตั้งเอาไว้ ดังตัวอย่างในภาพจะแชร์ขึ้น Facebook ก็ทำได้ดังนี้ คุณสามารถแชร์ไฟล์แนบไปกับอีเมลจากหน้าต่างไฟล์ได้ เพียงแค่คุณเลือกไฟล์แล้วคลิกปุ่ม Email บนแท๊บ Share ระบบก็จะเปิดโปรแกรมส่งเมลภายในเครื่องขึ้นมาให้อัตโนมัติ ถ้าเครื่องของคุฯมีโปรแกรมชุด Microsoft Office ก็จะเปิดโปรแกรม Microsoft Outlook ก็จะเปิดแอพ Mail ขึ้นมาห้ส่งเมลแทน การพิมพ์หลายๆภาพต่อ 1 หน้ากระดาษ ในขั้นตอนที่ 1 คุณต้องเลือกไฟล์ภาพมาหลายๆภาพด้วย โดยการคลิกลากคลุม หรือกดปุ่ม Shift และ Ctrl เลือกภาพที่จะพิมพ์มาให้ครบ คุณสามารถเปิดโฟลเดอร์ที่เก็บภาพขึ้นมาแล้วใช้คำสั่งในการจัดการไฟล์รูปภาพได้ โดยจะมีเครื่องมือชื่อ Picture Tools แสดงขั้นมาเมื่อคลิกที่รูปภาพและจะมีคำสั่งในแท็บ Manage ให้ใช้งานดังนี้ ตรวจสอบคุณสมบัติของไฟล์ (Properties) ไฟล์แต่ละไฟล์จะมีคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น เป็นไฟล์ประเภทไหน (Type), ขนาดเท่าไหร่ (Size), ใครสร้าง (Author), วันที่แก้ไข (Date taken) และอื่นๆ ตามลักษณะของไฟล์ หากต้องการจะดูคุณสมบัติพื้นฐานก็เลื่อนเมาส์ไปวางบนไฟล์แล้วดูได้ หรือจะคลิกปุ่ม Properties เพื่อดูคุณสมบัติอื่นๆก็ได้สำหรับการทำงานกับไฟล์รูปภาพนั้น เราอาจจะใช้แอพ Photo มาช่วยในการแสดงภาพได้ดีกว่าการใช้หน้าต่าง File Explorer เพราะจะแสดงผลรูปภาพให้ดูง่าย เป็นหมวดหมู่ และสวยงามกว่าการแสดงในหน้าต่างไฟล์ทั่วไป การแชร์ภาพผ่านแอพ Photos |