ในการใช้โปรแกรมต่างๆ บนระบบปฏิบัติการวินโดว์ เราจะสังเกตได้ว่าแต่ละโปรแกรมจะต้องมีเมนูเพื่อให้ผู้ใช้เลือกใช้โปรแกรมต่างๆ ได้สะดวก เมนูจะแสดงคำสั่งต่างๆ ที่โปรแกรมนั้นทำงาน โดยจะแสดงชื่อคำสั่งที่สั้นได้ใจความ และเข้าใจง่าย นอกจากนี้การสร้างและการออกแบบเมนูจะจัดกลุ่มและแสดงจุดประสงค์ของแต่ละกลุ่มเพื่อให้ผู้ใช้ค้นหาได้สะดวก เรียกใช้งานได้ถูกต้องบางเมนูอาจจะเห็นบ่อยๆ ในทุกๆโปรแกรม เช่น เมนู Edit > Cut, Copy และ Paste เพื่อใช้ในการคัดลอกออบเจ็กต์ต่างๆ เป็นต้น จากบทที่ผ่านมาเราได้สร้างโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนวินโดว์ โดยแสดงผลเป็นฟอร์มมาแล้ว สำหรับโปรแกรมขนาดใหญ่ที่มีฟังก์ชันการทำงานจำนวนมาก มักจะมีการสร้างเมนูไว้ในโปรแกรมเพื่อรวบรวมคำสั่งต่างๆ ให้เป็นหมวดหมู่ ทำให้ง่ายต่อการใช้งานโปรแกรมที่สร้างขึ้น ในโปรแกรม Visual Basic มีคอมโพเนนต์สำหรับสร้างเมนูให้ใช้งานทำให้สร้างเมนูแบบ PullDown Menu และ PopUp Menu ได้ง่ายมาก ในบทนี้จะกล่าวถึงการสร้างเมนูและการใช้งานคุณสมบัติพื้นฐานของคอมโพเนนซ์ที่นำมาสร้างเมนู เมนูเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของโปรแกรมบนวินโดวส์ เพราะเป็นที่เก็บคำสั่งต่างๆ ที่โปรแกรมมีไว้ให้ผู้ใช้เรียกใช้ ส่วนประกอบต่างๆ ของเมนูแสดง สำหรับการออกแบบเมนูที่ดีเราจำเป็นต้องจัดกลุ่มคำสั่งต่างๆ เป็นหมวดหมูและนำมาไว้ในแต่ละเมนูโดยอาจจะแบ่งคำสั่งบางชุดออกจากกันด้วยเส้นแบ่ง ดังที่เห็นในรูป เมนูที่ใช้กันในโปรแกรมประยุกต์นั้นส่วนใหญ่แบ่งได้สองประเภทคือ PullDown Menu และ PopUp Menu เมนูแบบ PullDown เป็นเมนูที่มีตำแหน่งอยู่บนโปรแกรมแน่นอน เมื่อผู้ใช้งานเลือกเมนูนี้ก็อาจมีคำสั่งหรือเมนูย่อยๆ ให้เลือกใช้งานอีก ส่วนเมนูแบบ PopUp เป็นเมนูที่ไม่มีตำแหน่งที่แน่นอนในโปรแกรม ผู้ใช้อาจต้องคลิกที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในโปรแกรมจึงจะแสดงเมนูออกมา สำหรับในหัวข้อนี้จะแสดงการสร้างเมนูแบบ PullDown 2. สัญลักษณ์ของคอมโพเนนต์ MenuStrip จะแสดงบริเวณด้านล่างของ Form Designer ส่วนบนฟอร์มจะแสดงเมนูว่างเปล่าออกมา และปรากฏช่อง "Type Here" สำหรับพิมพ์รายการต่างๆของเมนูย่อยดังรูป 3. ทดลองสร้างเมนูย่อย โดยกำหนดให้เป็นเมนู File และมีคีย์ลัดคือคีย์ F โดยพิมพ์ &File ลงไปในช่อง Type Here เมื่อพิมพ์ข้อความลงไป โปรแกรมจะแสดงช่องสำหรับสร้างรายการย่อยต่อไปอีก และแสดงหน้าต่างคุณสมบัติของเมนู File ออกมาด้วย ดังรูป ในเมนูที่สร้างขึ้นหัวข้อหลักจะเรียกว่า เมนูบาร์ (Menu Bar) รายการแต่ละเมนูเรียกว่า เมนูไอเท็ม (Menu Item) ส่วนรายการย่อยของเมนูไอเท็มเรียกว่า เมนูย่อยหรือซับเมนู (Sub Menu) 4. ให้ทดลองสร้างเมนูที่สองเป็นเมนู "Edit" เมนูที่ต้องการให้เมนูย่อยทำได้โดยคลิกเมนูย่อยทางขวามือของรายการนั้นๆ ให้ทดลองเพิ่มรายการลงไปในเมนูดังรูป 5. เมื่อต้องการออกจากเมนูย่อยเพื่อกลับไปเมนูหลัก ก็สามารถใช้เมาส์คลิกที่เมนูหลักได้ทันที ตัวอย่างเช่น ใช้เมาส์คลิกที่เมนู File จะเป็นการเพิ่มเติมเมนูย่อยให้กับเมนู File 6. ให้ทดลองเพิ่มรายการเข้าไปในเมนู File ดังรูปต่อไปนี้ ในการเพิ่มรายการนั้นถ้าหากต้องการให้เป็นเมนูในลักษณะใด เช่น ให้เป็นเท็กซ์บ็อกซ์ (TextBox) หรือคอมโบบ็อกซ์ (ComboBox) หรือมีการแทรกรายการใหม่ให้คลิกเมาส์ขวาแล้วเลือก Insert ดังรูป 7. ทดลองเพิ่มเมนูรายการต่างๆลงไปดังรูป ถ้าหากต้องการให้เมนูไอเท็มหรือรายการใดแสดงเครื่องหมายเช็ค (Checked) ด้านหน้าเมนู เพื่อแสดงว่าได้เลือกรายการนั้นอยู่สามารถกำหนดได้ในหน้าต่างคุณสมบัติ เลือก คุณสมบัติ Checked ให้เป็น True ก็จะแสดงเครื่องหมายเช็คออกมา ดังรูป 8. ในการสร้างเมนูนั้นถ้าหากป้อนรายการไอเท็มผิดพลาด หรือต้องการแก้ไขลำดับเมนูเพื่อเรียงลำดับก่อนหลังใหม่ สามารถทำได้โดยการคลิกเมาส์ค้างไว้ที่ไอเท็ม แล้วลากไปยังตำแหน่งที่ต้องการ หรือถ้าต้องการให้มีเส้นคั่นระหว่างไอเท็ม สามารถทำได้โดยการพิมพ์เครื่องหมาย – ไปที่รายการนั้นดังรูป
4. โปรแกรมจะสร้างอีเวนต์ของรายการ Exit ออกมา ให้เขียนโค้ดสำหรับการจบโปรแกรมดังต่อไปนี้ 5. สำหรับไอเท็ม Summary ในเมนู Display นั้นจะมีเครื่องหมายเช็คอยู่หน้าไอเท็มดังนั้นรายการนี้จะเป็นได้สองกรณีคือ เลือกและไม่เลือก เราสามารถกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับการเช็ครายการนี้ได้โดยกำหนดในหน้าต่างคุณสมบัติ 6. เมื่อนำเมาส์คลิกที่ไอเท็ม Summary แล้วต้องการเลือกรายการเปลี่ยนกลับไปมาทำได้โดยการสร้างอีเวนต์ให้กับไอเท็มนี้ แล้วเขียนโค้ดเพื่อกำหนดคุณสมบัติให้กับไอเท็ม Summary เพื่อให้เลือกหรือไม่เลือกได้ดังต่อไปนี้
End Sub 7. เพิ่มอีเวนต์ให้กับเมนู Help โดยเขียนโปรแกรมให้แสดงกล่องข้อความออกมาเมื่อคลิกเมนู Help โดยเขียนดังตัวอย่างต่อไปนี้ ทดลองรันโปรแกรมแล้วให้คลิกเมนูต่างๆ ที่ได้สร้างมา ถ้าหากคลิกปุ่ม Help โปรแกรมจะแสดงกล่องข้อความออกมาดังนี้ ในการพัฒนาโปรแกรมที่มีรายการของเมนูเป็นจำนวนมาก บางครั้งเราอาจต้องการจัดอันดับเมนูใหม่ หรือเพิ่มลงเมนู เราสามารถใช้หน้าต่าง Items Collection มาช่วยได้ โดยหน้าต่างนี้ถ้าเป็น MenuStrip จะเรียกหน้าต่างนี้ผ่านคุณสมบัติ Items ซึ่งเป็นคุณสมบัติแบบคอลเลคชัน (Collection) แต่ถ้าเป็นคอนโทรล ToolStripMenuItem จะเรียกหน้าต่างนี้ผ่านคุณสมบัติ DropDownItems หน้าต่าง Items Collection Editor จะช่วยให้การจัดการเมนูไอเท็มทำได้ง่ายขึ้น เช่น การเพิ่ม การลบ การจัดเรียงลำดับเมนูไอเท็ม ส่วนทางฝั่งขวาจะแสดงคุณสมบัติของเมนูไอเท็มที่เราเลือก ซึ่งสามารถแก้ไขได้ตามต้องการ และถ้าเราต้องการเพิ่มเมนูไอเท็มที่เป็นลูกของลูกก็สามารถทำได้โดยการไปที่คุณสมบัติ Items หรือ DropDownItems ของไอเท็มลูกนั้น เพื่อเรียกหน้าต่าง Items Collection Editor ตัวใหม่ที่ขึ้นมาซ้อนทับหน้าต่างเดิม ไดอะล็อกเป็นฟอร์มประเภทหนึ่งที่นิยมใช้ในการติดต่อกับผู้ใช้ โดยจะแสดงออกมาเป็นหน้าต่างบนโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ เพื่อให้ผู้ใช้เลือกรายการต่างๆ หรือป้อนค่าตามที่แสดงไว้ในไดอะล็อก ตัวอย่างเช่นในโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด เมื่อเลือกเมนูบันทึกไฟล์ก็จะปรากฏไดอะล็อกออกมา ไดอะล็อกที่กล่าวมาทุกตัวจะมีเมธอด ShoeDialog สำหรับแสดงไดอะล็อกที่กำหนดจากนั้นผู้ใช้งานสามารถกระทำการต่างๆ กับไดอะล็อกนั้นได้ การให้โปรแกรมแสดงไดอะล็อกทำได้โดยเขียนคำสั่งดังต่อไปนี้
• Color เป็นค่าสีที่ได้จากการเลือก หลังจากกดปุ่ม OK ตัวอย่างการใช้งานไดอะล็อกจัดการฟอนต์ 5. เขียนโค้ดให้กับอีเวนต์ Click โดยเมื่อคลิกที่ไอเท็ม Font จะต้องให้โปรแกรมแสดงไดอะล็อกของฟอนต์ขึ้นมา แล้วให้ผู้ใช้เปลี่ยนฟอนต์ของตัวอักษรที่แสดงบนฟอนต์ได้ เขียนโค้ดได้ดังนี้ จากคำสั่งที่เขียนจะเป็นการสั่งให้ FontDidlog1 แสดงไดอะล็อกออกมา เมื่อผู้ใช้เลือกฟอนต์ตัวใดค่าที่เลือกจะอยู่ใน FontDialog1.Font จากนั้นก็จะกำหนดค่านี้ให้เป็นฟอนต์ของข้อความที่อ้างโดย Label1 เมื่อรันโปรแกรมแล้วเลือกไอเท็ม Font จะเป็นดังนี้ ตัวอย่างการใช้งานไดอะล็อกจัดการสี 2. นำ ColorDialog จากทูลบ็อกซ์มางวางบนฟอร์ม เมื่อทดลองรันโปรแกรมแล้วเลือก Color โปรแกรมจะแสดงไดอะล็อกจัดการค่าสีออกมาดังรูป เมื่อใช้เมาส์คลิกเลือกสีแล้วกด OK โปรแกรมจะทำให้สีของตัวอักษรเปลี่ยนไปตามสีที่เลือก เมนูแบบ PopUp เป็นเมนูที่จะแสดงขึ้นเมื่อใช้เมาส์คลิกขวาที่คอนโทรลตัวใดตัวหนึ่ง จากนั้นผุ้ใช้โปรแกรมสามารถเลือกรายการต่างๆ ที่อยู่ในเมนูได้ ในโปรแกรม Visual Basic สามารถสร้างเมนูแบบ Popup ได้โดยใช้คอมโพเนนต์ ContextMenuStrip โดยทำได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 2. ปรับไตเติลของฟอร์มตามต้องการ แล้วสร้างออบเจ็กต์สำหรับเป็นจุดที่ต้องการแสดงเมนูแบบ Popup โดยนำลาเบลมาวาง สร้างข้อความคำว่า "คลิกตรงนี้เลยครับ" และกำหนดชื่อออบเจ็กต์เป็น Label1 4. จากนั้นคลิกที่สัญลักษณ์ contexMenuStrip1 ที่อยู่ในด้านล่างฟอร์ม โปรแกรมจะแสดง ContexMenuStrip ออกมา ให้ทดลองพิมพ์ลงไปสามรายการดังรูป คือ Color.., Font.., และ Exit.. 6. นำ ColorDialog และ FontDialog มาวางบนฟอร์ม ทดลองรันโปรแกรม เมื่อนำเมาส์ไปวางบนตัวอักษรแล้วคลิกขวาโปรแกรมจะแสดงเมนูแบบ PopUp ออกมา ให้ทดลองเลือกรายการต่างๆแล้วสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวอักษรที่แสดงผลอยู่ โปรแกรมที่ 1 ตัวอย่างนี้จะทดลองสร้างโปรแกรมแสดงรูปภาพ โดยสามารถเลือกภาพจากโฟลเดอร์ที่ต้องการได้ โดยนำคอมโพเนนต์ต่างๆ ที่ได้ศึกษามาแล้วมาใช้งาน โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ 3. สร้างเมนู File โดยมีไอเท็ม Load สำหรับเปิดภาพ และไอเท็ม Exit สำหรับออกจากโปรแกรม 4. เขียนโค้ดให้กับโปรแกรม เมื่อเลือกไอเท็ม Load ในเมนู File โปรแกรมจะให้เลือกไปยังโฟลเดอร์ที่ใช้เก็บภาพตามที่ต้องการ เมื่อเลือกชื่อไฟล์ภาพที่ต้องการ โปรแกรมจะแสดงภาพนั้นทางพิกเจอร์บ็อกซ์ และแสดงชื่อไฟล์นั้นทางเท็กซ์บ็อกซ์ ดังนั้นโค้ดโปรแกรมสำหรับอีเวนต์ของ ไอเท็ม Load เขียนได้ดังนี้ จากโค้ดที่เขียนขึ้น เริ่มแรกจะแสดงไดอะล็อกค้นหาโฟลเดอร์ (1) เพื่อให้ผู้ใช้เลือกโฟลเดอร์ที่เก็บรูปภาพที่ต้องการแสดงผล จากนั้นจะเรียกใช้คุณสมบัติ SelectedPath (2) เพื่อนำพาธของโฟลเดอร์ที่ต้องการติดต่อมาเก็บไว้ใน dpath เพื่อใช้สำหรับเรียกรูปภาพขึ้นมาแสดงผล สำหรับการใช้ไดอะล็อกเปิดไฟล์นั้นจะต้องกำหนดพาธที่ต้องการแสดงไดอะล็อกเสียก่อน โดยนำค่าจาก dpath ไปกำหนดให้กับ InitialDirectory (3) ต่อมาแสดงไดอะล็อกเปิดไฟล์ (4) แล้วนำชื่อไฟล์ที่เลือกไปแสดงผลทางเท็กซ์บ็อกซ์ (5) จากนั้นนำชื่อไฟล์ไปกำหนดให้กับคุณสมบัติ ImageLocation เพื่อเสดงภาพทางพิกเจอร์บ็อกซ์ (6) 2. ให้ใช้เมาส์เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเปิดภาพ ในที่นี้จะเลือกโฟลเดอร์ Picture แล้วคลิกปุ่ม OK จากนั้นโปรแกรมจะแสดงไดอะล็อกเปิดไฟล์ออกมาดังรูป 3. ให้ใช้เมาส์เลือกรูปภาพที่ต้องการแสดงผลจากนั้นคลิกปุ่ม Open โปรแกรมจะแสดงรูปที่เลือกออกมา
ในโปรแกรมนิยมนำคำสั่งหรือฟังก์ชันการทำงานที่ใช้บ่อยๆ มารวมไว้เป็นทูลบาร์ โดยแสดงเป็นปุ่มหรือตัวอักษรเล็กๆ เรียงกันอยู่ด้านบนของโปรแกรม ทำให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานโปรแกรมได้รวดเร็ว การสร้างเมนูแบบทูลบาร์นี้ทำได้โดยใช้คอนโทรล ToolStrip ซึ่งมีการใช้งานคล้ายกับ MenuStrip เมื่อนำคอนโทรลตัวนี้มาวางบนฟอร์ม โปรแกรมจะแสดงตัวเลือกว่าจะใช้คอนโทรลตัวใดดังรูป สำหรับปุ่มต่างๆ ที่แสดงผลบนทูลบาร์สามารถเลือกได้ดังนี้ ถ้าหากเปิดหน้าต่างคุณสมบัติของปุ่มออกมา จะพบว่ามีคุณสมบัติอยู่หลายรายการ สำหรับรายการที่ใช้บ่อยๆ มีดังนี้ 3. ถ้าหากคลิกเมาส์ขวาโปรแกรมจะแสดงเมนูออกมา ถ้าหากเลือก Set Image โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างให้เลือกรูปภาพมาใช้กับปุ่ม 4. สร้างปุ่มต่อไปโดยเลือกเป็นแบบ Label แล้วพิมพ์ข้อความว่า "เปิดไฟล์" ในหน้าต่างคุณสมบัติ โปรแกรมจะแสดงคำว่าเปิดไฟล์บนปุ่ม ปุ่มต่างๆที่สร้างขึ้นมาเป็นทูลบาร์ เมื่อเลือกที่ไอคอน Events จะทำให้เพิ่มการจัดการอีเวนต์ให้กับปุ่มต่างๆได้ โปรแกรมบางประเภทอาจต้องสร้างฟอร์มขึ้นมามากกว่าหนึ่งฟอร์ม โปรแกรม Visual Basic สามารถสร้างฟอร์มขึ้นมาใช้งานเพิ่มในโปรเจ็กต์ได้เช่นกัน โดยฟอร์มแต่ละฟอร์มจะมีชื่อโปรแกรมแยกออกจากกัน แต่สามารถเรียกมาใช้งานร่วมกันได้ การสร้างฟอร์มใหม่ศึกษาได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 2. โปรแกรมจะแสดงหน้าต่าง Add New Item ออกมา ให้เลือก Windows Form แล้วตั้งชื่อฟอร์มเป็น HelpInfo.vb จากนั้นคลิก Add 3. ฟอร์มที่สองจะมีชื่อว่า HelpInfo.vb แล้วจะถูกเพิ่มเข้าไปในโปรเจ็กต์ ถ้าหากดูในหน้าต่าง Solution จะเห็นไฟล์ของฟอร์มนี้แสดงออกมา 4. สร้างโปรแกรมของฟอร์มที่สอง โดยนำคอนโทรลลาเบล เท็กบ็อกซ์ และปุ่มกด มาวางบนฟอร์ม 6. ปรับตำแหน่งของออบเจ็กต์ให้สวยงามดังรูป สำหรับรายละเอียดในเท็กซ์บ็อกซ์สามารถพิมพ์ได้ตามต้องการ 7. เขียนโปรแกรมให้กับปุ่ม OK โดยใช้คำสั่ง Close() เพื่อใช้เปิดหน้าต่าง 9. เขียนโปรแกรมให้กับปุ่ม Help ดังต่อไปนี้ การเขียนลักษณะนี้ที่เริ่มต้นด้วยคำว่า My จะเป็นการบอกว่าในฟอร์มที่กำลังแอคทีฟอยู่นี้ให้เรียกไฟล์ HelpInfo ขึ้นมาแสดงผล โดยระหว่างการพิมพ์คำสั่ง โปรแกรมของ VB จะหาไฟล์ของฟอร์มออกมาได้เองดังรูป ให้ทดลองรันโปรแกรมและศึกษาสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น จากที่ได้ศึกษามาทั้งหมดเราได้กล่าวถึงคอนโทรลและคอมโพเนนต์พื้นฐานที่ใช้งานกันทั่วๆไปมาแล้ว ซึ่งจะพบว่าออบเจ็กต์ที่นำมาวางบนฟอร์มแล้วมีรูปร่างหน้าตาที่ติดต่อกับผู้ใช้ได้เราจะเรียกว่าคอนโทรล ส่วนคอมโพเนนต์ก็คือคอนโทรลที่ไม่มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ ใน .NET Framework ยังมีคอนโทรลอื่นๆและคอมโพเนนต์อีกมากมาย ในหัวข้อนี้จะยกตัวอย่างคอนโทรลและคอมโพเนนต์บางตัวที่น่าสนใจ
คอนโทรลตัวนี้ใช้สำหรับปรับค่าตัวเลข โดยจะเพิ่มหรือลดตัวเลขเป็นลำดับต่อเนื่องในช่วงที่กำหนด ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตของตัวเลขได้ การป้อนตัวเลขจะมีลูกศรคลิกเพิ่มค่าหรือลดค่าตามต้องการ ในโปรแกรมนิยมนำคอนโทรลตัวนี้มาแทนการป้อนข้อมูลตัวเลขเข้าทางเท็กซ์บ็อกซ์ทำให้ข้อมูลที่ป้อนเป็นตัวเลขเสมอ ไม่ต้องเขียนโปรแกรมดักจับข้อผิดพลาดว่าเป็นตัวเลขจริงหรือไม่ คุณสมบัติที่สำคัญของคอนโทรลตัวนี้ได้แก่ โปรแกรมที่ 2 การสร้างโปรแกรมป้อนข้อมูลนักศึกษา โดยให้ป้อนชื่อ ชั้นปี และจำนวนวิชาที่เรียนลงไป โดยสร้างโปรเจ็กต์ใหม่ นำคอนโทรล NumericUpDown มาใช้ แล้วกำหนดชื่อให้ออบเจ็กต์ต่างๆ ดังนี้ โปรแกรมที่ออกแบบขึ้นจะใช้เท็กซ์บ็อกซ์ในการรับชื่อ – นามสกุล ให้ผู้ใช้ป้อนชื่อและนามสกุลเข้าไป และจะนำ NumericUpDown มาใช้สองจุด คือใช้รับค่าชั้นปี โดยกำหนดค่าต่ำสุดเป็น 1 และค่าสูงสุดเป็น 5 และใช้รับจำนวนวิชาที่เรียนโดยกำหนดค่าต่ำสุดเป็น 1 และค่าสูงสุดเป็น 10 โปรแกรมที่ออกแบบขึ้นต้องการให้คลิกปุ่ม “บันทึก” แล้วแสดงข้อมูลที่ป้อนออกมาทางกล่องข้อความดังนั้นจะต้องสร้างอีเวนต์ให้กับปุ่ม “บันทึก” และเขียนโค้ดให้อ่านข้อมูลที่ป้อนเข้าไปมาแสดงผลโดยข้อมูลที่ป้อนเข้าไปทางเท็กซ์บ็อกซ์จะเป็นข้อความสตริง แต่ข้อมูลที่เลือกจาก NumericUpDown จะเป็นตัวเลข เราสามารถใช้คุณสมบัติ Value อ่านค่าออกมาได้ โค้ดที่เขียนขึ้นจะเป็นดังนี้ จากโปรแกรมจะพบว่าจะนำข้อมูลทั้งหมดมารวมกันเป็นสตริง strShow ดังนั้นจะต้องนำค่าที่ได้จาก NumericUpDown มาเปลี่ยนเป็นข้อความสตริงเสียก่อนโดยใช้เมธอด ToString สำหรับ Environment.NewLine จะเป็นรหัสควบคุมสำหรับขึ้นบรรทัดใหม่ เมื่อรันโปรแกรมผลลัพธ์จะเป็นดังนี้ คอนโทรล DateTimePicker
เมื่อกดปุ่ม "บันทึก"จะให้โปรแกรมแสดงผลลัพธ์ออกมาด้วยว่าลงทะเบียนเมื่อวันที่เท่าไหร่ดังนั้นจะต้องปรับโค้ดโปรแกรมของอีเวนต์ปุ่มบันทึกใหม่ ดังนี้ เมื่อรันโปรแกรมแล้วป้อนข้อมูลต่างๆ เข้าไปดังรูป เมื่อคลิกป้อนวันลงทะเบียน โปรแกรมจะแสดงเป็นปฏิทินให้เลือก ถ้าเลือกแล้วให้คลิกปุ่ม “บันทึก” โปรแกรมจะแสดงผลลัพธ์ออกมา คอนโทรล MonthCalendar โปรแกรมที่ 4 ตัวอย่างโปรแกรมลงทะเบียนเรียนของโรงเรียนกวดวิชา โดยให้ผู้ใช้ป้อนชื่อเข้าไป แล้วเลือกวิชาที่ต้องการเรียน และวันที่เริ่มเรียน โดยออกแบบโปรแกรมและกำหนดชื่อให้กับออบเจ็กต์ต่างๆดังนี้ โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นจะให้ผู้ใช้ป้อนชื่อ เลือกวิชาเรียน เลือกวันเริ่มต้นที่จะเรียน โดยในโปรแกรมจะนำลิสต์บ็อกซ์มาใช้โดยกำหนดวิชาลงไป 4 วิชาดังรูป เมื่อรันโปรแกรมแล้วนำเมาส์ไปเลือกวิชาที่อยู่ในลิสต์ บ็อกซ์จะทำให้อ่านชื่อวิชาออกมาได้ เมื่อนำคอนโทรล MonthCalendar มาวางบนฟอร์ม คอนโทรลจะแสดงเป็นรูปปฏิทินพร้อมกับแสดงวันที่ปัจจุบัน สำหรับค่าคุณสมบัติต่างๆ จะใช้ตามที่กำหนดเป็นค่าเริ่มต้น สำหรับอีเวนต์ของปุ่ม “ตกลง” จะเขียนได้ดังนี้ เมื่อรันโปรแกรมแล้วทดลองป้อนชื่อลงไปเลือกวิชาที่จะเรียน เลือกวันที่เริ่มเรียน เมื่อคลิกปุ่ม “ตกลง” โปรแกรมจะแสดงผลลัพธ์ดังต่อไปนี้ คอนโทรล TrackBar คุณสมบัติที่สำคัญของคอนโทรลตัวนี้มีดังนี้ โปรแกรมที่ 5 ตัวอย่างนี้จะพัฒนาโปรแกรมบวกเลขโดยนำคอนโทรล TravkBar มาใช้โดยโปรแกรมจะนำค่า A มาบวกกับค่า B โดยที่ค่าทั้งสองนี้จะได้จากการปรับตัวเลื่อนที่มีค่าตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 10 ในการออกแบบโปรแกรมให้นำออบเจ็กต์ต่างๆมาวางบนฟอร์มแล้วตั้งชื่อออบเจ็กต์ต่างๆ ดังนี้ ชื่อของเท็กซ์บ็อกซ์ทั้งสามตัวเป็นดังนี้ เมื่อรันโปรแกรมแล้วลองปรับค่า A และ B ผลลัพธ์จะเป็นดังนี้ คอนโทรล ProgressBar คอมโพเนนต์ Timer
โปรแกรมที่ 6 ตัวอย่างการใช้คอนโทรลโปรเกรสบาร์และไทเมอร์ โดยให้กดปุ่มแล้วไทเมอร์เริ่มทำงานเป็นจำนวน 100 ครั้ง แล้วแสดงการทำงานทางโปรเกรสบาร์ ถ้าให้ไทเมอร์ทำงานเมื่อเวลาเดินมาถึงค่าที่กำหนดใน Interval โปรแกรมสามารถไปทำ อีเวนต์ Tick ได้ ดังนั้นจะต้องสร้างการจัดการอีเวนต์ให้กับคอมโพเนนต์ Timer ด้วย เมื่อรันโปรแกรมแล้วคลิกปุ่ม “ทำงาน” จะเห็นแถบเสดงการทำงานดังรูป โปรแกรมที่ 7 ตัวอย่างนี้จะแสดงการสร้างโปรแกรมสำหรับดูข้อมูลเกี่ยวกับเวลา ผู้ใช้สามารถเลือกดูวันที่ หรือเวลาได้ การพัฒนาโปรแกรมทำได้ดังขั้นตอนต่อไปนี้ 2. นำลาเบลสำหรับแสดงข้อมูลมาวางกึ่งกลางฟอร์ม จากนั้นปรับคุณสมบัติของ Label1 ดังนี้ จากนั้นปรับหน้าต่างของโปรแกรมให้มีลักษณะดังนี้ 3. ดับเบิลคลิกที่เมนู Date เพื่อเขียนคำสั่งให้แสดงวันที่ จากนั้นพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ 4. ดับเบิลคลิกที่เมนู Time เพื่อเขียนคำสั่งให้แสดงเวลา จากนั้นพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ โปรแกรมที่เขียนทั้งหมดจะเป็นดังนี้ เมื่อทดลองรันโปรแกรมแล้วเลือกเมนูต่างๆ จะได้ผลลัพธ์ดังนี้ การสร้างคีย์ลัด เมื่อเลือกคีย์ลัดแล้ว คีย์ที่เลือกจะแสดงบนเมนูด้วย |