<< Go Back

          สำหรับการใส่ข้อความในภาพนิ่งนี้จะมีรูปแบบของข้อความที่มักใส่ลงในภาพนิ่ง 3 รูปแบบคือ ?กรอบเค้าโครง เป็นข้อความเค้าโครงเรื่องของเนื้อหา ซึ่งเกิดจากการสร้างเค้าโครงใน Outline หรือ การสร้างข้อความจากเค้าร่างที่โปรแกรมมีเป็น Layout มาให้ โดยการใช้กรอบเค้าโครงนี้จะมีการนำเค้าโครง สำเร็จรูปจากคำสั่งเค้าโครงมาใช้งาน ผู้เรียนเพียงแต่พิมพ์ข้อความ ในกรอบข้อความ ที่มีอยู่ในเค้าโครงของภาพนิ่งเท่านั้นเอง

 

         กล่องข้อความ (Text box)  เป็นกล่องข้อความที่ผู้เรียนใส่เพิ่มเติมลงไปในภาพนิ่ง โดยจะไม่มีผลต่อโครงร่าง หรือโครงเรื่องในมุมมอง Outline

       อักษรศิลป์  เป็นข้อความที่ได้ออกแบบทั้งรูปแบบ สีสัน และ แสงเงามาให้เรียบร้อยแล้ว  เพียงแต่เราใส่ข้อความตามที่ต้องการลงก็จะได้ข้อความศิลป์ตกแต่งในภาพนิ่งอย่างสวยงาม

          เมื่อผู้เรียนทำการสร้างข้อความแล้วในเรื่องต่อไปก็คือการปรับแต่งข้อความที่สร้างขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ โดยข้อความในภาพนิ่ง จะแสดงอยู่ในบริเวณกรอบสี่เหลี่ยม หรือ กรอบข้อความ ซึ่งผู้เรียนสามารถปรับแต่งข้อความเหล่านี้ได้ โดยการคลิกเมาส์ที่กรอบข้อความแล้วจึงทำการปรับแต่งในรูปแบบต่าง ๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

การเลือกข้อความทั้งหมด                                                  
            การเลือกข้อความทั้งหมดในภาพนิ่งนั้น   สามารถทำได้โดยการคลิกแท็บ  หน้าแรก  บน  Ribbon  แล้วคลิกปุ่มคำสั่ง    เลือก   จะมีเมนูย่อยให้เลือกคำสั่ง  เลือกทั้งหมด    จะเป็นการเลือกข้อความและวัตถุต่าง ๆ ที่วางบนภาพนิ่งนั้น โดยมีกรอบของตัวเลือกวัตถุคลุมวัตถุหรือ ข้อความ ดังรูป

หรือ
    กดปุ่ม Ctrl+A  บนแป้นพิมพ์ทั้งในมุมมองปกติ  และมุมมองเค้าร่าง  จะเป็นการเลือกวัตถุหรือข้อความในภาพนิ่งทุกภาพนิ่งบนแฟ้มข้อมูล 

คลิกที่ข้อความนั้น จะปรากฏขอบเขตล้อมรอบข้อความนั้น

1.  คลิกเลือกกล่องข้อความที่ต้องการคัดลอก 
2.  คลิกเมาส์ทางขวาของกล่องข้อความ  เลือกคำสั่ง  หรือ คลิกแท็บ  หน้าแรก คลิกปุ่มคำสั่ง  คัดลอก  
3.  ไปที่บริเวณที่ต้องการวางกล่องข้อความ คลิกเมาส์ทางขวา เลือกคำสั่ง วาง หรือ คลิกที่ปุ่ม วาง บนแท็บ หน้าแรก เช่นเดียวกัน  

          จะได้ข้อความที่คัดลอกแล้วบนภาพนิ่ง  โดยการใช้คำสั่ง  คัดลอก 1 ครั้ง  จะสามารถใช้คำสั่ง  วาง  เพื่อคัดลอกกล่องข้อความกี่ครั้งก็ได้โดยการคลิกปุ่มคำสั่ง  วางไปเรื่อย ๆ ดังรูป 

           การกำหนดรูปแบบของข้อความ เช่น เปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร , สีตัวอักษร จะทำให้ภาพนิ่งมีความสวยงาม และ น่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดของการปรับแต่ง ดังนี้

การเปลี่ยนแบบอักษร
           1. คลิกเมาส์ที่กล่องข้อความ 
           2. คลิกแท็บ  หน้าแรก  จากนั้น  เลือกปุ่มคำสั่ง  ฟอนต์ โดยคลิกเมาส์ที่ปุ่ม สามเหลี่ยมเล็กๆ  เพื่อเลื่อนดูรายชื่อของแบบอักษร  โดยเลื่อนสกอร์บาร์ของคำสั่งดูแบบอักษรทั้งหมด   โดยคลิกที่ชื่อของแบบอักษร ที่ต้องการเปลี่ยนรูปแบบได้ทันที แบบอักษรที่ต้องการจะแทนที่แบบอักษรเดิม  แต่การเลือกแบบอักษรที่เป็นภาษาไทย  จะต้องเลือกแบบอักษรที่มีนามสกุล  New   หรือ  UPC

การเปลี่ยนขนาดอักษร

           1.  คลิกเมาส์ที่กล่องข้อความ 
           2.  คลิกแท็บ  หน้าแรก  จากนั้น  เลือกปุ่มคำสั่ง  ขนาดฟอนต์  โดยคลิกเมาส์ที่ปุ่ม เพื่อเลื่อนดูขนาดของแบบอักษร โดยเลื่อนสกอร์บาร์ของคำสั่งดูขนาดของตัวอักษร โดยคลิกที่ขนาดแบบอักษรที่ต้องการเปลี่ยนได้ทันที หรือ สามารถพิมพ์ตัวเลขเป็นขนาดของตัวอักษรที่ต้องการลงในช่อง ขนาดฟอนต์ แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อเปลี่ยนขนาดของตัวอักษร

           นอกจากนี้ยังใช้ปุ่มคำสั่ง  เพิ่มขนาดฟอนต์         เพื่อเพิ่มขนาดตัวอักษรให้ใหญ่ขึ้น  และ  ใช้ปุ่มคำสั่ง  ลดขนาดฟอนต์ เพื่อลดขนาดตัวอักษรให้เล็กลง  โดยการใช้งานปุ่มคำสั่ง  ให้คลิกเลือกกล่องข้อความที่ต้องการแล้วคลิกเมาส์ปุ่มเพิ่ม หรือ ลดขนาด ไปเรื่อย ๆ ตัวอักษรจะเปลี่ยนแปลงตามการคลิกเมาส์ 

การกำหนดตัวหนา  ตัวเอียง และ ขีดเส้นใต้ข้อความ 
           1.  คลิกเมาส์ที่กล่องข้อความ
           2.  คลิกแท็บ  หน้าแรก  จากนั้น  เลือกปุ่มคำสั่งต่าง ๆ ดังนี้ 

ตกแต่งข้อความโดยการใช้สี     
            1.  คลิกเมาส์ที่กล่องข้อความ 
           2.  คลิกแท็บ  หน้าแรก  จากนั้น  เลือกปุ่มคำสั่ง  สีฟอนต์ โดยคลิกที่ปุ่ม เพื่อเลือกสีตามต้องการ  โดยโปรแกรมจะมีสีมาให้เลือกมากมาย  ดังรูป 

**ผลลัพธ์ที่ได้จากการเปลี่ยนสีตัวอักษร  

การปรับระยะห่างให้กับข้อความ
           ผู้เรียนสามารถปรับระยะห่างระหว่างตัวอักษรในข้อความ  เพื่อให้ข้อความมีระยะที่ไม่ติดกัน หรือ ห่างกันมากเกินไป  และเพื่อให้เกิดความสวยงามในการจัดวางข้อความด้วย  โดยมีวิธีการปรับระยะห่างของข้อความ  ดังนี้ 

** ตัวอย่างของการปรับระยะห่างของข้อความ 

          นอกจากนี้ยังสามารถปรับแต่งระยะห่างของตัวอักษรเพิ่มเติมได้จากปุ่มคำสั่งที่โปรแกรมมีมาให้  โดยการคลิกที่คำสั่ง  ระยะห่างเพิ่มเติม......  จะปรากฏกรอบคำสั่งสำหรับการปรับแต่งระยะห่างของข้อความ  ดังนี้ 

การเปลี่ยนตัวพิมพ์
           ผู้เรียนสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของตัวพิมพ์สำหรับตัวอักษรภาษาอังกฤษได้ด้วยปุ่มคำสั่งในโปรแกรม PowerPoint  เช่น เปลี่ยนรูปแบบตัวพิมพ์ใหญ่ เป็น ตัวพิมพ์เล็ก  เป็นต้น 

** ตัวอย่างของการปรับเปลี่ยนตัวพิมพ์

คัดลอกการตกแต่งและรูปแบบข้อความ  

           สำหรับรูปแบบการใช้งานของคำสั่งคัดลอกการตกแต่ง และรูปแบบข้อความนี้ จะเป็นการคัดลอกรูปแบบของข้อความ ที่ผู้เรียนได้ทำการตกแต่ง ให้กับข้อความต้นฉบับจนเป็นที่พอใจแล้ว และต้องการตกแต่งรูปแบบของข้อความอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ถ้าไม่ใช้วิธีการคัดลอกนี้ผู้เรียนจะต้องทำการตกแต่งรูปแบบ ของตัวอักษรใหม่ แต่หากใช้คำสั่งการคัดลอกรูปแบบนี้ก็จะเป็นการลดเวล าและลดขั้นตอนของการทำงาน ได้อย่างมาก โดยรูปแบบของการตกแต่งจากต้นฉบับจะนำมาอยู่บนข้อความที่ต้องการใหม่แทนที่เดิม โดยการใช้คำสั่งจะใช้ปุ่มคำสั่ง ตัวคัดวางรูปแบบ (Format Painter) ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 

ขั้นตอนของการคัดลอกรูปแบบข้อความมีดังนี้

การล้างการจัดรูปแบบข้อความ     
            เมื่อผู้เรียนทำการตกแต่งข้อความในรูปแบบต่าง ๆ แล้วในเวอร์ชั่น 2016  นี้จะมีปุ่มคำสั่งที่ใช้ยกเลิกรูปแบบต่าง ๆ ที่ทำการตกแต่งไปทั้งหมดให้เป็นรูปแบบเริ่มต้นของข้อความ  โดยคลิกที่ปุ่มคำสั่ง   บนแท็บ  หน้าแรก ของ Ribbon  ดังขั้นตอนต่อไปนี้ 

         ผู้เรียนสามารถจัดข้อความให้ดูเป็นระเบียบ และอ่านง่ายโดยการจัดวางข้อความ ปรับแนวการวางข้อความ และการปรับระยะห่างของบรรทัด และ ย่อหน้า โดยใช้กุล่มคำสั่ง  ย่อหน้า  ซึ่งอยู่ในแท็บ  หน้าแรก  ใน Ribbon  ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 

การจัดวางข้อความในกล่องข้อความในแนวตั้ง 
         1.  เลือกข้อความที่ต้องการจัดวางตำแหน่ง 
         2.  เลือกตัวเลือกสำหรับการจัดวางข้อความในแนวตั้ง  คือ

ตัวอย่างของการใช้ปุ่มคำสั่งการจัดวางข้อความในกล่องข้อความในแนวตั้ง

การจัดวางข้อความในกล่องข้อความในแนวนอน 
            1.  เลือกข้อความที่ต้องการจัดวางตำแหน่ง 
            2.  เลือกตัวเลือกสำหรับการจัดวางข้อความในแนวนอน  คือ

ตัวอย่างของการใช้ปุ่มคำสั่งการจัดวางข้อความในกล่องข้อความในแนวนอน 

การแบ่งข้อความเป็นหลายคอลัมน์  
              1.  เลือกข้อความที่ต้องการแบ่งคอลัมน์
            2.  เลือกตัวเลือกสำหรับการแบ่งคอลัมน์   คือ

**ตัวอย่างของการใช้ปุ่มคำสั่งการแบ่งคอลัมน์

การปรับทิศทางการวางข้อความ
              1.  เลือกข้อความที่ต้องการปรับทิศทางการวางข้อความ  
            2.  เลือกตัวเลือกสำหรับการปรับทิศทางการวางข้อความ  คือ

**ตัวอย่างของการใช้ปุ่มคำสั่งการแบ่งคอลัมน์

การจัดระยะห่างของบรรทัด
              1.  เลือกข้อความที่ต้องการปรับทิศทางการวางข้อความ  
            2.  เลือกตัวเลือกสำหรับการปรับทิศทางการวางข้อความ  คือ

**ตัวอย่างของการใช้ปุ่มคำสั่งระยะห่างระหว่างบรรทัด

การเพิ่มหรือลดระดับย่อหน้าให้กับข้อความ
              1.  เลือกข้อความที่ต้องการปรับระดับข้อความ
              2.  เลือกตัวเลือกสำหรับการปรับทิศทางการวางข้อความ  คือ

** ตัวอย่างของการใช้ปุ่มคำสั่งเพิ่ม หรือ ลดระดับรายการ


            ในการใช้งานโปรแกรม PowerPoint หากมีการวางโครงเรื่องใน Outline หรือมุมมองเค้าร่าง โปรแกรมก็จะใส่  Bullets  (สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย)      หรือ สัญลักษณ์นำหน้าแต่ละหัวข้อให้โดยอัตโนมัติ  เพื่อที่จะแยกอย่างชัดเจนว่าข้อความส่วนใดเป็นหัวข้อ หรือ หัวข้อย่อย    โดยผู้เรียนยังสามารถปรับแต่งรูปแบบของสัญลักษณ์นี้ได้ด้วย  โดยปุ่มคำสั่งนี้จะ มี 2 รูปแบบคือ แบบเป็นรายการหรือรูปภาพ และเป็นแบบตัวเลข และ ตัวอักษร

การแสดง หรือ ยกเลิกสัญลักษณ์หน้าหัวข้อ

การยกเลิกสัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

การแสดง หรือ ยกเลิกตัวเลขหน้าหัวข้อ 

การยกเลิกสัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

การเปลี่ยนสัญลักษณ์หน้าข้อความ  

           1. เลื่อนตัวบอกตำแหน่งการพิมพ์ ไปยังตำแหน่งที่จะใส่อักขระพิเศษ
           2.  คลิกแท็บ แทรก จากนั้นคลิกปุ่มคำสั่ง สัญลักษณ์   จะปรากฏกรอบคำสั่งให้เลือกรูปแบบ ของสัญลักษณ์ที่ต้องการ แทรก ลงบนภาพนิ่ง 
           3.  คลิกเลือกรูปแบบของสัญลักษณ์ที่ต้องการแทรก  
           4.  คลิกปุ่ม แทรก สัญลักษณ์ที่เลือกจะปรากฏบนตำแหน่งที่เลือก

        ในการนำเสนอผลงานหรือข้อมูลต่าง ๆ นั้น ถ้าในภาพนิ่งของเรามีข้อความที่สะกดผิด อาจทำให้ผู้ชมที่ดูงานนำเสนอขาดความเชื่อถือในข้อมูล ดังนั้นการตรวจและแก้ไขคำผิดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในงานนำเสนอ

การตรวจคำผิดอัตโนมัติ
       ในการตรวจคำผิดนี้ปกติโปรแกรมจะตั้งค่าการตรวจอัตโนมัติเอาไว้แล้ว  โดยการใช้งานหากมีการพิมพ์คำผิดลงไปในภาพนิ่งโปรแกรม จะแสดงเป็นเส้นสีแดงใต้คำผิดนั้น  วิธีแก้ไขคำผิดให้คลิกเมาส์ทางขวาของคำผิด   จากนั้นเลือกคำที่ถูกต้องแทนที่คำผิด

การกำหนดให้ตรวจคำผิดอัตโนมัติ
           หากในโปรแกรมไม่มีการตรวจคำผิดในขณะที่พิมพ์ข้อความ   อาจจะเกิดจากการที่ยกเลิกรูปแบบของคำสั่งนี้ไป   ซึ่งสามารถเข้าไปกำหนด การตรวจคำผิดอัตโนมัตินี้ได้ด้วยตนเอง ดังนี้ 

การตรวจคำผิดด้วยคำสั่ง  Spelling 
           คำสั่งนี้เป็นการสั่งให้โปรแกรมตรวจสอบคำผิด โดยเมื่อโปรแกรม พบคำที่สะกดผิดจะแสดงคำที่คาด ว่าจะถูกต้องให้ผู้เรียนได้เลือกใช้งานมาแทนที่ คำที่สะกดผิดนั้น  โดยมีขั้นตอนของการใช้งานการตรวจคำผิดในภาพนิ่ง  ดังนี้ 

         สำหรับการค้นหาและแทนที่ข้อความนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ  การค้นหาคำ หรือ ข้อความ เพื่อนำมาใช้งาน  และการค้นหาและแทนที่ข้อความที่ต้องการแก้ไข หรือ เพิ่มเติมข้อความก็ได้เช่นเดียวกัน

การค้นหาข้อความ 

การค้นหาและแทนที่ข้อความ 

          

         เมื่อสิ้นสุดการค้นหาและแทนที่ในงานนำเสนอ  จะมีข้อความแจ้งว่าได้ทำการค้นหาและแทนที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะสรุปจำนวนคำที่ค้นหาและแทนที่มาให้ด้วย

การเรียกใช้ Office Clipboard

           การแสดงข้อมูลคลิปบอร์ด จะแสดงข้อมูลตัวอย่างให้เราทราบ เช่นหากเราทำการ  Copy    รูปภาพจะแสดงภาพตัวอย่างที่ทำการคัดลอก   ถ้าทำการคัดลอกข้อความก็จะแสดงเป็นข้อความตัวอย่างเช่นกัน

การนำข้อมูลจาก Office Clipboard ไปใช้
           1.  ไปยังตำแหน่งที่ต้องการวางข้อมูล
          2.  หากต้องการวางเฉพาะรายการที่ต้องการ ให้คลิกที่รูปรายการนั้นในบานหน้าต่าง Clipboard หากต้องการวางรายการทั้งหมดในคลิปบอร์ด ให้คลิกที่ 

การล้างข้อมูลใน Office Clipboard
          1.  หากต้องการลบรายการทีละรายการในคลิปบอร์ดให้คลิกลูกศรที่อยู่ติดกับรายการที่ต้องการลบ ในบานหน้าต่าง Clipboard จะมีคำสั่งขึ้นมาให้คลิกคำสั่ง ลบ

2.  คลิกที่ปุ่ม  ใน  Clipboard Toolbar   หากต้องการล้างรายการในคลิปบอร์ดทุกรายการ

การตั้งค่า  Clipboard
           นอกจากการใช้งานดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในส่วนคลิปบอร์ดสามารถกำหนดการตั้งค่าต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน โดยการคลิกที่ปุ่มตัวเลือก  ในบานหน้าต่าง คลิปบอร์ด  แล้วกำหนดจากคำสั่งดังรายละเอียดต่อไปนี้

การปิด Office คลิปบอร์ด

  1. เปิดใช้ไม้บรรทัดโดยใช้แท็บ มุมมอง  เลือกคลิกที่คำสั่ง ไม้บรรทัด
  2. คลิกที่ข้อความที่จะปรับระยะ
  3. ลากสัญลักษณ์กำหนดระยะไปยังตำแหน่งที่ต้องการ

ระยะกระโดด มีอยู่ด้วยกัน 4  ชนิด  คือ

การย้ายตำแหน่งกรอบข้อความ

การหมุนกรอบข้อความ

การตกแต่งสีกรอบข้อความ

การกำหนดพื้นหลังและเส้นขอบของกรอบข้อความ

          พื้นหลัง

          เส้นขอบ

ตกแต่งกรอบข้อความด้วยรูปแบบสำเร็จรูป

ตกแต่งกรอบข้อความด้วยลักษณะพิเศษ

ตกแต่งข้อความด้วยลักษณะอักษรศิลป์

การใช้ลักษณะด่วนเพื่อตกแต่งตัวอักษรในกรอบข้อความ


 

<< Go Back