<< Go Back

วิธีที่ 1 : คลิกแท็บ VIEW (มุมมอง) แล้วไปที่กลุ่มคำสั่ง  Presentation Views (มุมมองการนำเสนอ) จากนั้นให้คลิกปุ่มเพื่อกำหนดมุมมองตามต้องการ
วิธีที่ 2 : คลิกปุ่มกำหนดมุมมองที่แท็บมุมมองสไลด์ (View Shortcuts)

โดยแต่ละมุมมองจะเหมาะสำหรับการทำงานที่แตกต่างกันไป โดยมีรายละเอียดดังนี้

Normal (ปกติ)
เหมาะสำหรับใช้ในการป้อนข้อมูล ออกแบบ หรือแก้ไขพรีเซนเตชั่น โดยทางด้านซ้ายจะมีหน้าต่างแสดงรูปตัวอย่างสไลด์ (Thumbnails Pane) ของสไลด์แต่ละแผ่นดังรูป

Outline View (มุมมองเค้าร่าง)
มุมมองนี้ก็เหมาะสำหรับใช้ป้อนข้อมูล ออกแบบ หรือแก้ไขพรีเซนเตชั่นเช่นกัน แต่จะต่างจากมุมมองปกติ (Normal) ตรงที่ทางด้านซ้ายจะมีหน้าต่างแสดงข้อความบนสไลด์แต่ละแผ่น (Outline Pane) เวลาจะดูสไลด์แผ่นไหนก็ให้คลิกปุ่มตรงหมายเลขสไลด์ดังรูป

Slide Sorter (ตัวเรียงลำดับสไลด์)
มุมมองนี้เหมาะสำหรับใช้ในการจัดเรียงสไลด์ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องอการย้าย ตัด คัดลอก หรือจัดลำดับสไลด์ใหม่ งานของคุณจะเสร็จอย่างง่ายดายถ้าเปลี่ยนมาใช้มุมมองนี้

Notes Page (หน้าบันทึกย่อ)
มุมมองนี้ใช้สำหรับแสดงโน้ตย่อของสไลด์แต่ละแผ่น หากใครต้องการดูรายละเอียด หรือแก้ไขโน้ตย่อของสไลด์แผ่นไหน ขอแนะนำให้ใช้มุมมองนี้จะสะดวกที่สุด

Reading View (มุมมองการอ่าน)
มุมมองนี้เหมาะสำหรับกรณีที่เราต้องการดูตัวอย่างหรือตรวจสอบพรีเซนเตชั่นควบคู่ไปกับการดูไฟล์อื่น แต่ก่อนที่จะเปิดมุมมองนี้ ขอนะนำให้ย่อหน้าต่าง PowerPoint ให้มีขนาดเล็กลงก่อน หน้าต่างของแต่ละไฟล์จะได้ไม่บังกัน

Slide Show (การนำเสนอสไลด์)
มุมมองนี้เป็นมุมมองที่ใช้สำหรับฉายพรีเซนเตชั่น โดยเวลาจะฉายก็ให้คลิกที่ปุ่ม  ตรงแท็บมุมมองสไลด์ (View Shortcuts) ดังรูป

 

สำหรับการเปิดไฟล์งานนำเสนอในโปรแกรมสามารถเปิดได้หลาย ๆ ไฟล์พร้อมกันเพื่อสะดวกในการใช้งาน  ซึ่งคำสั่งที่ใช้สำหรับการจัดการหรือควบคุมหน้าต่างไฟล์งานนำเสนอนั้นจะใช้คำสั่งในแท็บ มุมมอง  ในกลุ่มคำสั่ง  หน้าต่าง  ซึ่งรายละเอียดต่าง ๆ ของปุ่มคำสั่งมีดังนี้

หน้าต่างใหม่

เป็นการสร้างหน้าต่างไฟล์งานนำเสนอที่เปิดใช้งานอยู่ขึ้นมาเป็นไฟล์อีกหนึ่งไฟล์  หรือเป็นการคัดลอกไฟล์นั่นเอง 

 

จัดเรียงทั้งหมด

เป็นการจัดเรียงหน้าต่างแฟ้มงานนำเสนอทั้งหมดที่เปิดใช้งานให้สามารถมองเห็นภาพรวมได้ทั้งหมด

 

แบบเรียงซ้อน

 

สลับหน้าต่าง

 

การปรับขนาดมุมมอง
ในการสร้างพรีเซนเตชั่นเราควรปรับขนาดสไลด์ให้เหมาะสมเพื่อความสะอาดในการทำงานโดยการปรับขนาดสไลด์สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

การใช้ Zoom Slider
วิธีนี้เป็นการปรับขนาดการแสดงผลของสไลด์โดยการใช้ Zoom Slider ที่อยู่ตรงด้านล่างของหน้าต่าง PowerPoint ดังรูป

โดยการปรับขนาดสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 : คลิกปุ่ม Zoom Out  (ปุ่ม - ) เพื่อย่อสไลด์ หรือคลิกปุ่ม Zoom In (ปุ่ม + ) เพื่อขยายสไลด์
วิธีที่ 2 : คลิกเมาส์ค้างที่แท่งสเกลบน Zoom Slider แล้วเลื่อนไปทางซ้ายเพื่อย่อสไลด์ หรือเลื่อนไปทางขวาเพื่อขยายสไลด์
วิธีที่ 3 : คลิกปุ่ม Zoom Level แล้วกำหนดขนาดสไลด์ตามต้องการ

การปรับขนาดด้วยคำสั่ง Zoom
วิธีนี้จะเป็นการปรับขนาดในลักษณะเดียวกับการใช้ปุ่ม Zoom Level ที่ Zoom Slider โดยมีขั้นตอน ดังนี้

นอกจากนี้ยังสามารถคลิกที่ปุ่ม    เพื่อให้ภาพนิ่งปรับขนาดให้พอดีกับหน้าต่างของงานนำเสนอ   

การเริ่มสร้างภาพนิ่ง
ในกรณีที่ผู้เรียนสร้างงานนำเสนอใหม่และต้องการสร้างภาพนิ่งขึ้นมาใช้เอง คือ เป็นการเพิ่มภาพนิ่งเข้าไปในงานนำเสนอในตำแหน่งที่ต้องการ  ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน  โดยมีวิธีการสร้างภาพนิ่ง   
1.    คลิกแท็บ  หน้าแรก  บน  Ribbon 
2.   ในกลุ่มคำสั่ง  สไลด์  ให้คลิกปุ่มคำสั่ง  สไลด์ใหม่  จะปรากฏกรอบคำสั่งให้เลือกรูปแบบย่อยของภาพนิ่ง  ซึ่งจะมีต้นแบบต่าง ๆ ให้เลือก  เช่น  ภาพนิ่งชื่อเรื่อง  , ชื่อเรื่องและเนื้อหา  ซึ่งภายในภาพนิ่งที่สร้างจะมีรูปแบบตามรูปแบบย่อยที่เป็นตัวอย่างที่ให้มาในสไลด์  ซึ่งผู้เรียนสามารถใส่เนื้อหา หรือ รูปภาพตามต้นแบบที่เลือกได้ทันที

การใส่ข้อความในมุมมองปกติ
หลังจากที่ผู้เรียนได้สร้างภาพนิ่งจากรูปแบบที่เลือกได้แล้ว  ขั้นตอนต่อไปคือการใส่ข้อความและส่วนอื่น ๆ ตามที่เลือกรูปแบบลงในสไดล์   สำหรับในขั้นตอนนี้จะเป็นการใส่ข้อความในสไลด์หรือกล่องข้อความที่เลือก  โดยการทำงานกับข้อความต่าง ๆ จะทำในมุมมองปกติ  ซึ่งเป็นมุมมองที่ง่ายและสะดวกที่สุดสำหรับสร้างและตกแต่งข้อความ  โดยวิธีการใส่ข้อความมีดังนี้

เมื่อผู้เรียนได้ทำการพิมพ์ข้อความในกล่องข้อความตามต้องการแล้วและต้องการตกแต่งแบบอักษร  ให้คลิกเมาส์ที่กล่องข้อความที่ต้องการตกแต่งแบบอักษร  จากนั้นคลิกแท็บ  หน้าแรก บน  Ribbon  ในกลุ่มคำสั่ง  แบบอักษร  สามารถทำการตกแต่งแบบอักษรได้ทั้งหมด เช่น สีตัวอักษร , ลักษณะแบบอักษร , ชนิดของแบบอักษร  เป็นต้น 

การเปลี่ยนรูปแบบภาพนิ่ง
หลังจากที่ได้สร้างภาพนิ่งและเลือกรูปแบบย่อยตามที่ต้องการบนงานนำเสนอแล้ว    และต้องการจะเปลี่ยนรูปแบบของภาพนิ่งเป็นรูปแบบอื่น ๆ  ก็สามารถเปลี่ยนรูปแบบได้เช่นเดียวกัน  ดังขั้นตอนต่อไปนี้ 
1.  คลิกที่ภาพนิ่งที่ต้องการเปลี่ยนรูปแบบ 
2.  คลิกแท็บ  หน้าแรก  บน  Ribbon 
3.  ในกลุ่มคำสั่ง สไลด์ ให้คลิกปุ่มคำสั่ง เค้าโครง จะปรากฏกรอบคำสั่งให้เลือกรูปแบบย่อยของภาพนิ่ง ให้เลือกรูปแบบของภาพนิ่งที่ต้องการเปลี่ยนรูปแบบจากแบบเดิม 

การคัดลอกภาพนิ่ง
สำหรับการคัดลอกภาพนิ่งนี้จะเป็นเพิ่มภาพนิ่งขึ้นมาอีกหนึ่งภาพนิ่ง  ซึ่งรายละเอียดต่าง ๆ ของภาพนิ่งทั้งหมดที่อยู่ในภาพนิ่งจะถูกคัดลอกเป็นภาพนิ่งใหม่และภาพนิ่งเดิมก็จะยังคงอยู่เช่นเดียวกัน  โดยการคัดลอกภาพนิ่งจะทำให้ผู้เรียนสร้างงานนำเสนอในภาพนิ่งใหม่ที่ง่ายและรวดเร็วโดยไม่ต้องสร้างภาพนิ่งใหม่เพียงแต่เปลี่ยนรายละเอียดเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น  สำหรับการคัดลอกภาพนิ่งนี้ผู้เรียนสามารถทำได้จากหลายมุมมองเช่นเดียวกับการเพิ่มหรือแทรกภาพนิ่ง  ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 

มุมมองปกติ 

การคัดลอกภาพนิ่งจากไฟล์งานนำเสนอื่น
สำหรับการคัดลอกภาพนิ่งจากไฟล์งานนำเสนออื่นนี้เป็นการคัดลอกทั้งภาพนิ่งจากไฟล์อื่นที่ได้มีการสร้างรูปแบบต่าง ๆ มาแล้ว  ซึ่งการคัดลอกนี้จะนำมาแทรกเป็นสำเนาลงในไฟล์งานนำเสนอปัจจุบัน   จากนั้นจึงค่อยปรับแต่งเพิ่มเติมเนื้อหาหรือรูปแบบอื่น ๆ ได้ตามต้องการ  โดยมีขั้นตอนการคัดลอกดังนี้   

 

สำหรับการเปลี่ยนแปลงลำดับภาพนิ่งนั้นผู้เรียนสามารถทำได้กับมุมมองปกติ และ มุมมองตัวเรียงลำดับภาพนิ่ง  ทั้งนี้เพื่อให้ลำดับขั้นและรูปแบบของงานนำเสนอเป็นไปอย่างเหมาะสม  และตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุด  สำหรับวิธีการทำงานในหัวข้อนี้มีดังนี้



สไลด์ในงานนำเสนอนั้นประกอบไปด้วยหลายสไลด์ ซึ่งอาจจะมีบางสไลด์ที่ไม่ได้ใช้งาน และต้องลบทิ้งไป ซึ่งเราก็สามารถทำได้โดย

  1. คลิกเลือกสไลด์ที่ต้องการลบ
  2. แล้วคลิกขวาบนภาพนิ่งที่ต้องการลบเพื่อเลือกรายการ ลบสไลด์

การยกเลิกการทำงานที่ผิดพลาดด้วย  Undo 
ในส่วนของการยกเลิกการทำงานที่ผิดพลาดนั้นหลาย ๆ โปรแกรม และในทุกเวอร์ชั่นของโปรแกรม Office  จะมีการทำงานของคำสั่งนี้อยู่ด้วย  ซึ่งคำสั่ง Undo นี้จะเป็นคำสั่งที่ใช้ยกเลิกคำสั่งที่ได้กระทำลงไป  โดยสามารถทำการยกเลิกได้หลายครั้ง

นอกจากนี้ยังมีปุ่มคำสั่งอีกคำสั่งหนึ่งที่มาพร้อมกับปุ่ม Undo คือคำสั่ง  Redo      เป็นคำสั่งที่ยกเลิกหรือย้อนกลับการทำคำสั่ง Undo  ซึ่งคำสั่งนี้จะปรากฏขึ้นก็ต่อเมื่อมีการใช้คำสั่ง  Undo  เท่านั้น  ยกตัวอย่างเช่น  มีการลบข้อความทิ้งไปแล้วใช้คำสั่ง  Undo เพื่อยกเลิกการลบข้อความนั้น  แต่เกิดเปลี่ยนใจอีกครั้งหนึ่งต้องการลบข้อความนั้นทิ้งจริง ๆ ก็ให้ใช้คำสั่ง Redo  เพื่อยกเลิกการใช้คำสั่ง Undo  ข้อความก็จะถูกลบทิ้งไปทันที    ซึ่งปุ่มคำสั่ง Redo  ก็จะอยู่บน Quick Access  Toolbar เช่นเดียวกับปุ่มคำสั่ง  Undo 

การใช้ไม้บรรทัดและเส้นตารางในภาพนิ่ง 

<< Go Back