Photoshop เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างและตกแต่งภาพที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมากที่สุด อันเนื่องมาจากคุณสมบัติเด่นซึ่งมีอยู่อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความสามารถจัดการกับไฟล์สารพัดชนิดที่ใช้ในงานประเภทต่าง ๆ ทั้งรูปที่จะนำไปผ่านกระบวนการพิมพ์ และรูปที่นำไปใช้ในเว็บเพจหรือส่งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์ มีความสามารถเป็นเยี่ยมในการแก้ไขตกแต่งภาพ และการสร้างเอฟเฟ็คต์พิเศษต่าง ๆ มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นสูง สามารถบันทึกขั้นตอนที่ต้องทำซ้ำ ๆ ไว้เรียกใช้ภายหลังตลอดจนมีผู้ผลิตปลั๊กอิน (plug-in) ให้เป็นจำนวนมาก ซึ่งปลั๊กอินก็คือโปรแกรมเสริมสำหรับช่วยให้การทำงานที่ซับซ้อนสำเร็จลงได้อย่างรวดเร็ว ความสามารถพื้นฐานของ Adobe Photoshop ความสามารถพื้นฐานของ Adobe Photoshop มีอยู่มากมายอย่างที่เรานึกไม่ถึงแต่ที่เป็นความสามารถหลักๆ ของตัวโปรแกรมเองจะถูกแบ่งเป็น 2 เรื่อง คือ แก้ไขตกแต่งภาพถ่าย:งานนี้เป็นงานถนัดของ Photoshop เช่น การแก้ไขภาพที่มือให้สว่างการลบ ริ้วรอยที่ไม่ต้องการ ออกจากภาพรวมถึงตัดต่อนาภาพหลายๆภาพมารวมกันโดยในส่วนนี้จะเรียกว่าเป็นส่วนของงานรีทัชออกแบบ สร้างสรรค์งานกราฟิก:ใช้ Photoshop ช่วยในการสร้างภาพสามิติความสามารถในส่วนนี้จะเป็นเรื่องของการขีดๆ เขียนๆออกแบบสร้างงานกราฟิกเช่นการวาภาพตัวการ์ตูนหรือการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดต่างๆ 1. งานออกแบบสิ่งพิมพ์ 2. งานออกแบบเว็บไซต์ 3. งานแก้ไขซ่อมแซมภาพ 4. งานตัดต่อตัดแปลงภาพหรือสร้างสรรค์งานกราฟิกสมัยใหม่ เว็บกราฟิก และ Adobe PhotoShop องค์ประกอบสำคัญในการทำ Web ให้ดูน่าสนใจ คงหนีไม่พ้นรูปภาพที่นำมาตกแต่ง ซึ่งผู้พัฒนาหลายๆ คน บ้างก็นำภาพสำเร็จมาใช้งาน บ้างก็นำภาพจากเว็บอื่นๆ ที่ดูสวยงามมาใช้ และก็มีไม่น้อยที่สร้างภาพเอง โดยอาศัยโปรแกรมกราฟิกต่างๆ เช่น PhotoShop, Photo Impact, Paint Shop เป็นต้น โปรแกรม PhotoShop นับว่าเป็นโปรแกรมกราฟิกสุดฮิต ที่นิยมใช้ในการปรับแต่งภาพ หรือสร้างภาพ เพื่อนำมาใช้งานในเว็บ เนื่องจากมีฟังก์ชันการทำงาน ที่หลากหลาย มีฟิลด์เตอร์เพื่อปรับแต่งภาพ จากค่ายต่างๆ ทำให้ง่ายต่อการปรับแต่งภาพตามต้องการ เดิมทีนิยมใช้ PhotoShop เพื่องานสื่อสิ่งพิมพ์ (Desktop Publishing) แต่ปัจจุบัน Web Design มีบทบาทในงานธุรกิจและงานการศึกษาสูงมาก จึงนำ PhotoShop มาใช้ในงานนี้ด้วย ส่วนประกอบในหน้าต่าง Photoshop CC A= Menu bar เป็นที่เก็บคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรมเอาไว้ และแยกหมวดหมู่ตามรูปแบบการใช้งาน B= Option bar เป็นส่วนที่ใช้สำหรับกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมของเครื่องมือต่างๆที่เลือกใช้ขณะนั้น เช่น เปลี่ยนขนาดหัวพู่กันหรือยางลบ C= Tool box เป็นเครื่องมือสำหรับการทำงานสำหรับตกแต่งภาพและกราฟฟิก โดยแยกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะการทำงาน D= Panel หน้าต่างควบคุมรายละเอียดปลีกย่อยในการทำงาน ซึ่งแต่ละพาเนลจะควบคุมการทำงานแต่ละส่วนแตกต่างกันไป E= Artboard พื้นที่ทำงาน เป็นพื้นที่สำหรับเปิดไฟล์งานขึ้นมาแก้ไข หรือสร้างงานใหม่ F= Workspace รูปแบบในการทำงานโดยเราสามารถเลือกรูปแบบต่างๆให้เพราะสมกับงานเราได้ การรีทัชภาพ
PhotoShop CC new features รีทัชลบสิ่งที่ไม่ต้องการออกจากภาพ มี 2 วิธี วิธีที่ 1 ด้วย Spot Healing Brush Tool
วิธีที่ 2 1. เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการ 2. เลือกเครื่องมือสร้างSelection เดรกเมาส์สร้างSelectionรอบวัตถุที่ต้องการลบ 3. คลิกเมนู Edit>Fill คลิกเลือก Content-Aware > OK 4. รอประมวลผล กด Ctrl+D เพื่อลบ Selection และจะได้ภาพที่ลบส่วนที่ไม่ต้องการออก นอกจากลบสิ่งที่ต้องการออกแล้ว ยังสามารถเพิ่มส่วนประกอบได้ด้วย 1. คลิกเลือกเครื่องมือ Content-Aware Move Tool 2. เปลี่ยน mode เป็น Extend 3. แดรกเมาส์สร้าง Selection รอบวัตถุที่ต้องการ 4.แดรกเมาส์ย้ายตำแหน่งภาพ 5. แดรกเมาส์ปรับขนาดภาพตามต้องการ 6. กดปุ่ม Enter เมื่อย้ายและปรับขนาดเรียบร้อยแล้ว
7. กดปุ่ม Ctrl+D เพื่อยกเลิก Selection ทำภาพซ้อนด้วย layer mask 1. เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการ 2 ภาพ (ภาพวิวกับดวงจันทร์) 2. ใช้ move tool ลากดวงจันทร์มาวางทับภาพวิว 3. เลือกเครื่องมือ Elliptical MarQuee Tool ปรับค่า Feather=10px เพื่อเพิ่มความฟุ้งให้เส้นขอบ 4. กดปุ่ม Shift ค้างไว้แล้วลากเมาส์เพื่อสร้าง Selection รูปวงกลมรอบดวงจันทร์ 5. คลิก Add Layer Mask พื้นสีดำที่อยู่นอก Selection จะถูกซ่อน
6. กดปุ่ม Ctrl+D ที่คีย์บอร์ด เพื่อยกเลิก Selection 7. คลิกเครื่องมือ Brush Tool ปรับค่าขนาดหัวแปรงให้ใหญ่ขึ้นและใช้แบบขอบฟุ้ง 8. สลับกล่องสี ให้สีดำอยู่ด้านบน
9. ลากเมาส์ที่ด้านล่างของดวงจันทร์เพื่อลบส่วนที่ไม่ต้องการออก
ปรับแต่งข้อความ 1. สร้างชิ้นงานตามขนาดที่ต้องการ 2. เลือกเครื่องมือ Rectangle Tool เลือกรูปทรงที่ต้องการ 3. สร้างรูปทรงใส่สีตามที่ต้องการ 4. คลิกที่เครื่องมือ เพื่อเพิ่มข้อความ 5. เลือกเครื่องมือ Horizontal type tool คลิกลงบนพื้นที่ที่ต้องการพิมพ์ข้อความและพิมพ์ข้อความที่ต้องการ 6. แดรกเมาส์คลุมข้อความ เปลี่ยนฟอนต์ ขนาดตัวอักษร สีตัวอักษร ตามต้องการ สามารถเปลี่ยนได้ทั้ง ส่วนที่ 2 และ 3 เมื่อปรับเรียบร้อยแล้ว กด Enter 7. ใส่ style ให้กับข้อความ 8. เลือกเลเยอร์ข้อความที่ต้องการ 9. คลิก Add a layer style 10. จะปรากฏหน้าต่าง Layer Style ขึ้นมา 11. คลิกเลือกเมนู Drop Shadow 12. ปรับค่า Dintance Spreed Size ตามต้องการ 13. เมื่อปรับค่าต่างๆตามต้องการเรียนร้อยแล้วคลิก OK
14. คลิกที่เครื่องมือ เพื่อใส่ข้อความเพิ่มเติม แดรกเมาส์สร้างกล่องเพื่อพิมพ์ข้อความ 15.ใส่ข้อความที่ต้องการ จะเห็นว่าข้อความจะอยู่ภายในกรอบเส้นปะที่เราสร้างไว้ และปรับเปลี่ยนรูปแบบข้อความตามต้องการ |