<< Go Back

การพัฒนาของโปรแกรม   MicroWorlds  Pro นั้นจะเพิ่มขีดความสามารถได้หลายอย่าง  ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ผู้เรียนสามารถนำเสียงเพลงมาใช้ในโปรแกรม    MicroWorlds  Pro  ได้  โดยไฟล์เสียงเพลงที่นำมาใช้ในโปรแกรมจะต้องเป็นไฟล์   MIDI  files  เท่านั้น  วิธีการนำไฟล์เพลงเข้ามาใช้ในโปรแกรมทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้

1.  คลิกปุ่ม  File  บนเมนูบาร์   ปรากฎป๊อปอัพเมนู

2.  เลือกคำสั่ง  Import  เลือกคำสั่งย่อย  Music  จะปรากฏไดอะล๊อคบล๊อกซ์

3.  เลือกไฟล์เพลงที่ต้องการโดยคลิกเมาส์ที่ชื่อไฟล์  แล้วคลิกปุ่ม  Open

4.  จะพบกับไอคอนเพลง ซึ่งมีชื่อไฟล์บอกอยู่หน้าจอบนพื้นที่ทำงาน หากต้องการฟังเพลงที่เราสร้างมานี้ให้คลิกเมาส์ที่ 
ไอคอน  1  ครั้ง

หากเราต้องการกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ของไอคอนแทรกเสียงเพลงให้คลิกที่การกำหนดคุณสมบัติโดยคลิกที่  แล้วคลิกที่ไอคอนเพลงจะปรากฏไดอะล๊อคบล๊อกซ์สำหรับการปรับแต่งคือ

Name :  ตั้งชื่อไอคอนซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นชื่อเดียวกับชื่อเพลง
Show  Name :  แสดงชื่อของไอคอนด้านล่างไอคอน
Visible  :   กำหนดให้มี หรือ ไม่มีไอคอน

การนำเสียงเพลงเข้ามาใช้ในโปรแกรมนี้จะไม่สามารถแก้ไข หรือ ปรับแต่งตามความต้องการได้

ผู้เรียนสามารถสร้างดนตรีขึ้นมาใช้เองได้จากโปรแกรม   MicroWorlds Pro วิธีการนำไฟล์เพลงเข้ามาใช้ในโปรแกรมทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้     
1.  คลิกที่ไอคอน  บนแถบเครื่องมือด้านบน            
2.  ปรากฎหน้าต่างสำหรับการปรับแต่งเสียงดนตรี  Melody  Editor  ซึ่งเราสามารถเลือกชนิดของดนตรีได้  โดยคลิกที่รูปดนตรีที่ต้องการสร้างเสียงเพลง  แล้วคลิกที่คีย์บอร์ดของเปียโน   ตัวโน๊ตที่ต้องการจะปรากฏในช่องว่างด้านบน    ซึ่งเราสามารถตัด คัดลอก  หรือเปลี่ยนจังหวะได้  หรือจะแทรกตัวโน๊ตเข้าไปในกลุ่มที่สร้างไว้แล้วก็ได้   โดยคลิกบริเวณที่ต้องการแทรกแล้วคลิกที่โน้ตของเปียโน  เมื่อสร้างเพลงแล้วต้องการทดสอบ  ให้คลิกที่ปุ่ม  Play  ถ้าต้องการหยุดเพลงกดปุ่ม   Stop  ต้องการปรับเสียงเลื่อนสไลด์ที่ช่อง   Volume  เมื่อคลิกปุ่ม Ok แล้วจะพบไอคอนเพลงที่เราสร้างขึ้น

Name :  ตั้งชื่อเพลง
Show  Name :  แสดงชื่อของไอคอนด้านล่างไอคอน
Visible  :   กำหนดให้มี หรือ ไม่มีไอคอน

เมื่อต้องการฟังเพลงที่สร้างให้คลิกเมาส์ 1 ครั้งที่ไอคอน   และถ้าต้องการหยุดเพลงให้คลิกเมาส์ที่ไอคอนอีกครั้ง  หากเราต้องการกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ของไอคอนแทรกเสียงเพลงให้คลิกที่   เพื่อกำหนดคุณสมบัติ  แล้วนำไปคลิกที่ไอคอนเพลงจะปรากฏ ไดอะล๊อคบล๊อกซ์สำหรับการปรับแต่งอีกครั้ง  ให้ทำการเปลี่ยนคุณสมบัติและโน้ตเพลงตามต้องการ

ผู้เรียนสามารถนำเสียงต่าง ๆ  มาใช้ในโปรแกรม    MicroWorlds  Pro  ได้  โดยไฟล์เสียงเพลงที่นำมาใช้ในโปรแกรมจะต้องเป็นไฟล์   Wave  ซึ่งต่างจากการนำไฟล์เพลงเข้ามาซึ่งจะเป็นเสียงอะไรก็ได้  เช่น  เสียงที่เกิดจากการบันทึกคำพูดต่าง ๆ  ,  หรือ เสียงนกร้อง  ,  ฟ้าร้อง  เป็นต้น    วิธีการนำไฟล์เพลงเข้ามาใช้ในโปรแกรมทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ 

1.  คลิกปุ่ม  File  บนเมนูบาร์   ปรากฎป๊อปอัพเมนู

2.  เลือกคำสั่ง  Import  เลือกคำสั่งย่อย  Music  จะปรากฏไดอะล๊อคบล๊อกซ์

3.  เลือกไฟล์เพลงที่ต้องการโดยคลิกเมาส์ที่ชื่อไฟล์  แล้วคลิกปุ่ม  Open
4.  จะพบกับไอคอนของเสียง ซึ่งมีชื่อไฟล์บอกอยู่หน้าจอบนพื้นที่ทำงาน หากต้องการฟัง    เพลงที่เราสร้างมานี้ให้คลิกเมาส์ที่ไอคอน   1  ครั้ง

หากเราต้องการกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ของไอคอนแทรกเสียงให้คลิกที่   เพื่อกำหนดคุณสมบัติ  คลิกที่ไอคอนเพลงจะปรากฏไดอะล๊อคบล๊อกซ์สำหรับการปรับแต่งคือ         

Name :  ตั้งชื่อไอคอนซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นชื่อเดียวกับชื่อเพลง
Show  Name :  แสดงชื่อของไอคอนด้านล่างไอคอน
Visible  :   กำหนดให้มี หรือ ไม่มีไอคอน

ผู้เรียนสามารถบันทึกเสียงของตนเองลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรม    MicroWorlds  Pro ได้   แต่ผู้เรียนต้องต่อไมโครโฟนเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย   วิธีการบันทึกเสียงเข้ามาใช้ในโปรแกรมทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ 
1.  คลิกที่ไอคอน   บนแถบเครื่องมือด้านบน
2.  นำเมาส์ไปคลิกพื้นที่ทำงานจะปรากฏไดอะล๊อคบล๊อกซ์สำหรับการบันทึก คือ

โดยการบันทึกให้กดปุ่ม  Record   ซึ่งปุ่มจะกลายเป็นปุ่มสีแดง  โดยสังเกตว่าเวลาจะวิ่งไปเรื่อย ๆ (Time)  เมื่อเรากดปุ่มบันทึก จากนั้นให้เราพูดใส่ไมโครโฟนตามประโยคที่ต้องการ  เมื่อต้องการหยุดการบันทึกให้คลิกปุ่ม  Stop หากต้องการทดสอบเสียงที่บันทึกไปให้กดปุ่ม   Play  และเมื่อเราบันทึกแล้วให้คลิกปุ่ม  OK  จะเข้าสู่หน้าต่างของการบันทึก  ซึ่งเราต้องบันทึกเสียงที่พูดไว้ในเครื่อง  เนื่องจากในโครงการของโปรแกรม    MicroWorlds  Pro   ไม่สามารถบันทึกเสียงนี้ได้   จากนั้นให้เราตั้งชื่อไฟล์และปลายทางที่บันทึก

เมื่อบันทึกเสียงที่อัดเป็นไฟล์แล้วจะเห็นว่าไฟล์ที่เราบันทึกเสียงไปจะกลายเป็นไอคอน   อยู่บนพื้นที่ทำงาน

หากเราต้องการกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ของไอคอนอัดเสียงให้คลิกที่   เพื่อกำหนดคุณสมบัติ  แล้วนำไปคลิกที่ไอคอนเพลงจะปรากฏไดอะล๊อคบล๊อกซ์สำหรับการปรับแต่งคือ           
Name :  ตั้งชื่อไอคอน
Show  Name :  แสดงชื่อของไอคอนด้านล่างไอคอน
Visible  :   กำหนดให้มี หรือ ไม่มีไอคอน

การสร้างปุ่มควบคุม  คือ  การสร้างปุ่มควบคุมสำหรับสั่งการให้เต่าปฎิบัติตามที่กำหนด  เมื่อคลิกที่ปุ่มคำสั่งแล้วเต่าจะปฏิบัติตามที่เราสั่งไว้ในปุ่ม  ซึ่งอาจจะสั่งให้เต่าทำเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็ได้  วิธีการสร้างปุ่มควบคุมทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้

1.  คลิกที่ไอคอน   บนแถบเครื่องมือด้านบน
2.  นำเมาส์ไปคลิกพื้นที่ทำงานจะปรากฏไดอะล๊อคบล๊อกซ์สำหรับการสร้างปุ่มควบคุม คือ

ภายในหน้าต่างการสร้างปุ่มควบคุมมีคำสั่งดังนี้
Name : button 1  ชื่อของปุ่มเมื่อมีการสร้างซึ่งเราจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ 
Instruction : คำสั่งที่ใส่ในปุ่มเพื่อให้เต่าทำงาน  เช่น  FD 50 , repeat 4[fd 100 rt 90]   หากเราไม่ใส่คำสั่งลงไปจะขึ้นคำว่า  Nothing  ซึ่งข้อความที่เราใส่ลงไปเป็นคำสั่งจะไปแสดงบนปุ่มบนพื้นที่ทำงาน  เช่น  repeat 4[fd 100 rt 90]   ปุ่มจะขึ้นข้อความว่า

Do It:  Once  สั่งให้เต่าทำงานตามปุ่มคำสั่งเพียงครั้งเดียว
Many Times  สั่งให้เต่าทำงานตามปุ่มคำสั่งหลายครั้งจนกว่าจะกดปุ่ม Ctrl+break
เมื่อเขียนคำสั่งต่าง ๆ  ลงไปแล้วต้องการให้เต่าเริ่มทำงานตามคำสั่งให้คลิกเมาส์ที่ปุ่มควบคุม 1 ครั้งเต่าจะปฏิบัติตามคำสั่งทันที    หากเราต้องการกำหนดรายละเอียดหรือต่าง ๆ ของปุ่มควบคุมให้คลิกที่    เพื่อกำหนดคุณสมบัติ  คลิกที่ปุ่มควบคุมจะปรากฏ ไดอะ ล๊อคบล๊อกซ์สำหรับการปรับแต่ง

ในการใช้คำสั่งให้ปุ่มควบคุมทำงานนี้หากคำสั่งที่ใช้ยาวเกินไปซึ่งจะทำให้ล้นพื้นที่ของปุ่ม หรือไม่สะดวกในการทำงาน  เราสามารถนำคำสั่งเหล่านี้ไปเขียนในการเขียนโปรแกรม หน้า Procedure ก็ได้  แล้วนำชื่อของชุดคำสั่งมาใส่ไว้ใน  Instruction  เช่น  คำสั่งใน  Procedure  คือ
to  square1
setpensize 6 setc 15
repeat 4[fd 150 rt 90]
end

จากนั้นมาใส่ชื่อ  square1  ใน  Instruction  จะได้ผลดังรูป

เราสามารถสร้างแถบเลื่อน (Sliders)  เพื่อรายงานตัวเลขและตัวเลขนั้นจะกลายเป็นตัวป้อนสำหรับใช้กับคำสั่งที่กำหนด เช่น  เราอาจใช้แถบเลื่อนเป็นตัวเปลี่ยนความเร็วของรถที่แล่นผ่านหน้าจอไปมา  วิธีการสร้างแถบเลื่อนทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้

1.  คลิกที่ไอคอน   บนแถบเครื่องมือด้านบน
2.  นำเมาส์ไปคลิกพื้นที่ทำงานจะปรากฏไดอะล๊อคบล๊อกซ์สำหรับการสร้างแถบเลื่อน คือ

ภายในหน้าต่างการสร้างปุ่มควบคุมมีคำสั่งดังนี้
Name : slider1  ชื่อของแถบเลื่อน
Minimum : ใส่ตัวเลขเป็นค่าของความเร็วของแถบเลื่อนต่ำสุดคือ 0
Maximum : ใส่ตัวเลขเป็นค่าของความเร็วของแถบเลื่อนสูงสุดคือ 99
Show  Name สั่งให้เต่าทำงานตามปุ่มคำสั่งเพียงครั้งเดียว
เมื่อเขียนคำสั่งต่าง ๆ  ลงไปแล้วต้องการให้คลิกเมาส์ที่ปุ่ม  OK  จะปรากฏแถบเลื่อน

หากเราต้องการกำหนดรายละเอียดหรือต่าง ๆ ของแถบเลื่อนให้คลิกที่    เพื่อกำหนดคุณสมบัติ  แล้วนำไปคลิกที่ไอคอนเพลงจะปรากฏไดอะล๊อคบล๊อกซ์สำหรับการปรับแต่ง

เราสามารถนำภาพวีดีทัศน์ (Video Clips)   ซึ่งเป็นภาพเคลื่อนไหว  หรือไฟล์วีดีโอทั่วไป  ซึ่งจะต้องเป็นไฟล์ .AVI เท่านั้นมาใช้ในโปรแกรม    MicroWorlds  Pro   วิธีการสร้างนำภาพวีดิทัศน์มาใช้ทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ 
1.  คลิกที่ไอคอน   บนแถบเครื่องมือด้านบน
2.  นำเมาส์ไปคลิกพื้นที่ทำงานจะปรากฏไดอะล๊อคบล๊อกซ์สำหรับการแทรกวีดิทัศน์ ให้เลือกไฟล์ที่เป็นไฟล์ .AVI  แล้วคลิกปุ่ม  Open  จะปรากฏภาพวีดีทัศน์ที่ทำการแทรก

หลังจากที่ได้วีดิทัศน์แล้วต้องการดูภาพที่แทรกให้คลิกเมาส์ที่ภาพ 1 ครั้ง ภาพที่สร้างจะเคลื่อนไหวจนจบ  และถ้าต้องการหยุดวีดีทัศน์ก็ให้คลิกอีกครั้ง

หากเราต้องการกำหนดรายละเอียดหรือต่าง ๆ ของวีดีทัศน์ให้คลิกที่   เพื่อกำหนดคุณสมบัติ  แล้วนำไปคลิกที่ไอคอนเพลงจะปรากฏไดอะล๊อคบล๊อกซ์สำหรับการปรับแต่งคือ
Name :  ตั้งชื่อไอคอน
Show  Name :  แสดงชื่อของไอคอนด้านล่างไอคอน
Visible  :   กำหนดให้มี หรือ ไม่มีไอคอน

ในโปรแกรม    MicroWorlds  Pro เราสามารถนำเพลงหรือส่วนหนึ่งของเพลงจาก  CD  เข้ามาในโครงการได้   การสร้างแฟ้มเสียงเพลงจากแผ่น CD  ไม่ใช่เป็นการนำเสียงดนตรีเข้าไปบันทึกไว้ในโครงการ  แต่เป็นการสร้างสิ่งที่จะไปเปิดเสียงเพลงที่บรรจุอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของแผ่น    CD   เช่น  ให้เล่นในช่วง 40 – 20 ของเพลงที่  4  ใน  CD   เป็นต้น 
ข้อควรระวังคือเมื่อเราใส่แผ่น  CD  เข้าไปใน CD-Rom  drive  แล้วนั้นวินโดวส์ก็จะสั่งให้เริ่มเปิดเพลงโดยอัตโนมัติ   หากไม่ต้องการให้โปรแกรมเปิดเพลงอัตโนมัติให้กดปุ่ม  Shift  ค้างไว้ในขณะที่ใส่แผ่น CD  หรือให้หยุด  CD Player  ในวินโดวส์เสียก่อน

1.  ใส่แผ่น  CD  ใน  CD-Rom  drive 
2.  คลิกที่ไอคอน   บนแถบเครื่องมือด้านบน
3.  นำเมาส์ไปคลิกพื้นที่ทำงานจะปรากฏไดอะล๊อคบล๊อกซ์สำหรับการแทรกเพลงจากแผ่น CD  ซึ่งจะมีปุ่มควบคุมการทำงานของ  CD  ได้แก่  ปุ่มหยุด  (Stop),   ปุ่มเล่น (Play) ,  ปุ่มหยุดพักชั่วคราว  (Pause)  ,  ปุ่มกรอกลับ  (Rewind) ,  ปุ่มไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว (Fast  Forward )  ,  ปุ่มไปเพลงที่ผ่านมา  (Fast Forward) ,  ปุ่มไปเพลงต่อไป  (Skip to Next Track)

นอกจากนี้ยังมีส่วนที่กำหนดคุณสมบัติของการแทรกไฟล์ CD คือ
Name :  ตั้งชื่อไอคอน
Show  Name :  แสดงชื่อของไอคอนด้านล่างไอคอน
Visible  :   กำหนดให้มี หรือ ไม่มีไอคอน

หลังจากที่ได้ไฟล์และเพลงที่ต้องการแล้วจะปรากฏไอคอน   ให้คลิกเมาส์ที่ไอคอน 1 ครั้ง เพลงจะดังขึ้นตามที่เราได้เลือกไว้  หากต้องการหยุดเพลงก่อนเล่นจบให้คลิกที่ไอคอนอีกครั้ง 

หากเราต้องการกำหนดรายละเอียดหรือต่าง ๆ ของการแทรกไฟล์เพลง  ให้คลิกที่   เพื่อกำหนดคุณสมบัติ  แล้วนำไปคลิกที่ไอคอนเพลงจะปรากฏไดอะล๊อคบล๊อกซ์

แต่ถ้าต้องการกำหนดจุดเริ่มต้นของเพลง  คือ ตัดต่อเพลงตามช่วงที่ต้องการให้กดปุ่ม Set  Start  เพื่อเริ่มอัดเพลง  และกดปุ่ม  Set  End  เพื่อหยุดเพลงตามต้องการ  แล้วจึงกดปุ่ม  OK.

<< Go Back