<< Go Back

ผู้สอนทบทวนเนื้อหาหรือคำสั่งต่าง ๆ ที่เคยใช้งานมาแล้ว  จากนั้นให้ผู้สอนเริ่มอธิบายถึงเนื้อหาของบทต่อไป
ตัวแปร  คือ  ค่าที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  ผู้เรียนสามารถใช้ตัวแปรในโปรแกรมได้โดยใช้ชื่อตัวแปรตามหลังชื่อโปรแกรมซึ่งค่าของตัวแปรจะต้องคั่นด้วยเครื่องหมาย  : (โคลอน)  เสมอ      เช่น    BOX  :A

การเขียนโปรแกรมที่มีตัวแปรค่าเดียว

ในการเขียนโปรแกรมที่มีการใช้ตัวแปรเพียงค่าเดียว  จะเป็นการวาดรูปที่มีขนาดของด้านกว้าง x ด้านยาว เท่ากัน  โดยผู้เรียนสามารถที่จะใส่ค่าตัวแปรแทนค่าของตัวเลขที่ต้องการให้เปลี่ยนขนาดของรูปได้  ดังนี้

TO BOX   :a
FORWARD :A
RIGHT 90
FORWARD :A
RIGHT 90
FORWARD :A
RIGHT 90
FORWARD :A
RIGHT 90
END

จากโปรแกรมเมื่อต้องการเรียกใช้งาน  ให้ผู้เรียนเรียกชื่อ   BOX   ตามด้วยค่าตัวแปร  ดังนี้   
BOX 50
หมายความว่า   โปรแกรมโลโกจะสร้างรูปสี่เหลี่ยมที่ขนาดความกว้าง x ความยาว = 50 x 50  มาให้  นั่นคือถ้าใส่ค่าของตัวแปรเพียงค่าเดียวในโปรแกรม  โลโกก็จะสร้างรูปที่มีขนาดความยาวของด้านเท่ากันหมดนั่นเอง  ดังนี้

การเขียนโปรแกรมที่มีตัวแปรสองค่า

ในการเขียนโปรแกรมที่มีการใช้ตัวแปรสองค่า  จะเป็นการวาดรูปที่มีขนาดของด้านกว้าง  x ด้านยาว  ไม่เท่ากัน  โดยผู้เรียนสามารถที่จะใส่ค่าตัวแปรแทนค่าของตัวเลขที่ต้องการให้ขนาดของรูปเปลี่ยนได้  ดังนี้

TO BOX  :B  :C
FORWARD  :B
RIGHT 90
FORWARD  :C
RIGHT 90
FORWARD  :B
RIGHT 90
FORWARD  :C
RIGHT 90
END
จากโปรแกรมเมื่อต้องการเรียกใช้งาน  ให้ผู้เรียนเรียก   BOX   ตามด้วยค่าตัวแปร  ดังนี้
BOX   50  20
หมายความว่า   โปรแกรมโลโกจะสร้างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีขนาดความกว้าง  =  20 หน่วย ความยาว = 50   ดังนั้นการใส่ค่าตัวแปรสองค่า  หมายความว่า :B  คือ ค่าของความกว้าง   :C  คือ ค่าของความยาวมาให้    นั่นคือถ้าใส่ค่าของตัวแปรเพียงค่าเดียวในโปรแกรมโลโกก็จะสร้างรูปที่มีขนาดความยาวของด้านเท่ากันหมดนั่นเอง  ดังนี้

หมายเหตุ     ในการเขียนตัวแปร  เครื่องหมายโคลอนต้องติดกันกับค่าตัวแปรเสมอ   เช่น   :A

ในโปรแกรม Microworlds  Pro  ไม่สามารถใช้คำสั่ง Arc  ในการเขียนรูปส่วนโค้ง
และ  circle   ในการเขียนรูปวงกลมได้   แต่เราสามารถที่จะเขียนเป็น Procedure เพื่อสร้างเป็นตัวแปรสามารถปรับค่าจำนวนหน่วยวัดได้

to   circle   :step
repeat 36 [fd  :step  rt  10]
end

จากนั้นทำการป้อนข้อมูลลงในศูนย์คำสั่ง   Command  center  โดยพิมพ์ในรูปแบบตามตัวอย่าง โดยเราสามารถที่จะเพิ่มจำนวนหน่วยได้ตามต้องการ โดยมีตัวอย่างของการพิมพ์คำสั่ง ดังนี้

ทดลองพิมพ์ในศูนย์คำสั่ง  Command   center  ดังนี้     circle  10

รูปที่ได้คือ

to  arc   :step   :radius
repeat   :radius [fd  :step   rt 10]
end

จากนั้นทำการป้อนข้อมูลลงในศูนย์คำสั่ง   Command  center  โดยพิมพ์ในรูปแบบดังนี้

ทดลองพิมพ์ในศูนย์คำสั่ง  Command   center  ดังนี้     arc 18  10

รูปที่ได้คือ

<< Go Back