ทักษะการบังคับรถหุ่นยนต์เคลื่อนที่ตามที่กำหนด การเคลื่อนที่ของรถหุ่นยนต์นั้นจะอาศัยมอเตอร์ทั้งสองเป็นตัวควบคุมการเคลื่อนที่ โดยรูปแบบการเคลื่อนที่นั้นจะสั่งให้มอเตอร์ A และ มอเตอร์ B เคลื่อนที่ไปในทิศทางตามต้องการโดยที่รูปแบบของคำสั่งก็สามารถที่จะพัฒนา หรือดัดแปลงจากหลักการทำงานของโปรแกรมหลักมาพัฒนาเพิ่มเติมได้ เพื่อให้ประสิทธิภาพในการเคลื่อนที่ของรถหุ่นยนต์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การเขียนคำสั่งให้รถหุ่นยนต์เดินหน้า รูปแบบการเขียนโปรแกรมสั่งงานให้รถหุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปข้างหน้านั้นสามารถทำได้โดยการเลือกสั่งให้ มอเตอร์ A มอเตอร์ B เคลื่อนที่ไปข้างหน้าตามระยะทางที่กำหนดโดยรูปแบบของคำสั่งในโปรแกรม Logo Blocks คือ รูปแบบคำสั่งที่ 1 โดยปกติหากมีการสั่งมอเตอร์ A และมอเตอร์ B เปิดการทำงานอยู่ในสถานะ ON มอเตอร์ A และมอเตอร์ B จะหมุนเดินหน้า ซึ่งทิศทางการหมุนของมอเตอร์ A และมอเตอร์ B นั้นจะหมุนในลักษณะทิศทางตรงกันข้ามกัน คือ มอเตอร์ A จะหมุนในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ส่วน มอเตอร์ B จะหมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา รูปแสดงทิศทางการหมุนของมอเตอร์ นอกเหนือจากคำสั่ง เรายังสามารถที่จะใช้คำสั่งอื่นในการเขียนโปรแกรมสั่งงานรถหุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้เช่นกัน รูปแบบคำสั่งที่ 2 รูปแบบการเขียนโปรแกรมโดยใช้ นั้นจะเห็นได้ว่าสามารถที่จะสั่งให้มอเตอร์ A มอเตอร์ B นั้นเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเช่นเดียวกันแต่รูปแบบการเขียนคำสั่งแบบนี้จะจบในตัวคำสั่งเอง คือสั่งให้มอเตอร์ A และมอเตอร์ B เคลื่อนที่ในเวลาที่เรากำหนด หากใช้รูปแบบการเขียนคำสั่งแบบแรกจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาด้วยคำสั่ง และหลังจากที่รถหุ่นยนต์เคลื่อนที่ตามระยะเวลาที่กำหนดแล้ว หากต้องการให้มอเตอร์ A และมอเตอร์ B หยุดหมุน ก็จำเป็นจะต้องใส่คำสั่งเพิ่มเข้าไปอีกคือ เพื่อให้ มอเตอร์ A และมอเตอร์ B หยุดหมุน ดังตัวอย่างการเขียนโปรแกรม รูปแบบคำสั่งที่ 3 รูปแบบการเขียนโปรแกรมโดยใช้ นั้นจะเห็นได้ว่าสามารถที่จะสั่งให้มอเตอร์ A มอเตอร์ B นั้นเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเช่นเดียวกันแต่รูปแบบการเขียนคำสั่งแบบนี้ จะต้องมีการกำหนดระยะเวลาด้วยคำสั่ง และหลังจากที่รถหุ่นยนต์เคลื่อนที่ตามระยะเวลาที่กำหนดแล้ว หากต้องการให้มอเตอร์ A และมอเตอร์ B หยุดหมุน ก็จำเป็นจะต้องใส่คำสั่งเพิ่มเข้าไปอีกคือ เปรียบเทียบรูปแบบการเขียนโปรแกรมให้รถหุ่นยนต์เดินหน้า รูปแบบการเขียนโปรแกรมสั่งงานให้รถหุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปด้านหลังนั้นสามารถทำได้โดยการเลือกสั่งให้ มอเตอร์ A มอเตอร์ B เคลื่อนที่ไปด้านหลังตามระยะทางที่กำหนด โดยรูปแบบของคำสั่งในโปรแกรม Logo Blocks คือ รูปแบบคำสั่งที่ 1 โดยปกติหากมีการสั่งมอเตอร์ A และมอเตอร์ B เปิดการทำงานอยู่ในสถานะ ON มอเตอร์ A และมอเตอร์ B จะหมุนเดินหน้า เราจะใช้คำสั่ง มาเป็นตัวกำหนดให้ทิศทางการหมุนของมอเตอร์ A และมอเตอร์ B นั้นจะหมุนในลักษณะทิศทางตรงกันข้ามกันกับรูปแบบการสั่งให้เดินหน้า คือ มอเตอร์ A จะหมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ส่วน มอเตอร์ B จะหมุนในทิศทางตามเข็มนาฬิกา เพื่อให้รถหุ่นยนต์เคลื่อนที่ถอยหลัง รูปแบบคำสั่งที่ 2 หากใช้รูปแบบการเขียนคำสั่งแบบแรกจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาด้วยคำสั่ง และหลังจากที่รถหุ่นยนต์เคลื่อนที่ตามระยะเวลาที่กำหนดแล้ว หากต้องการให้มอเตอร์ A และมอเตอร์ B หยุดหมุน ก็จำเป็นจะต้องใส่คำสั่งเพิ่มเข้าไปอีกคือ เพื่อให้ มอเตอร์ A และมอเตอร์ B หยุดหมุน ดังตัวอย่างการเขียนโปรแกรม เปรียบเทียบรูปแบบการเขียนโปรแกรมให้รถหุ่นยนต์ถอยหลัง
การเขียนคำสั่งให้รถหุ่นยนต์เคลื่อนที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมทางขวา รูปแบบคำสั่ง มีดังนี้ รูปแบบการเขียนโปรแกรมควบคุมรถหุ่นยนต์จะเริ่มจากการสั่งให้โปรแกรมตรวจสอบ การเขียนคำสั่งให้รถหุ่นยนต์เคลื่อนที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมทางซ้าย รูปแบบคำสั่ง รูปแบบการเขียนโปรแกรมควบคุมรถหุ่นยนต์จะเริ่มจากการสั่งให้โปรแกรมตรวจสอบการวนลูปทำงานของคำสั่งที่กำหนดให้ มอเตอร์ A และมอเตอร์ B เคลื่อนที่ไปข้างหน้าตามระยะเวลาที่กำหนด จากนั้นสั่งให้มอเตอร์ B หมุนถอยหลังเป็นเวลา 4 วินาที
การเขียนคำสั่งให้รถหุ่นยนต์เคลื่อนที่หมุนเป็นวงกลมทางขวา รูปแบบคำสั่ง มีดังนี้ รูปแบบการเขียนโปรแกรมควบคุมรถหุ่นยนต์จะเริ่มจากการสั่งให้โปรแกรมตรวจสอบ การวนลูปทำงานของคำสั่งที่กำหนดให้ มอเตอร์ A และมอเตอร์ B เคลื่อนที่ไปข้างหน้า จากนั้นสั่งให้มอเตอร์ A หมุนถอยหลัง การเขียนคำสั่งให้รถหุ่นยนต์เคลื่อนที่หมุนเป็นวงกลมทางซ้าย รูปแบบคำสั่ง มีดังนี้ รูปแบบการเขียนโปรแกรมควบคุมรถหุ่นยนต์จะเริ่มจากการสั่งให้โปรแกรมตรวจสอบ การวนลูปทำงานของคำสั่งที่กำหนดให้ มอเตอร์ A และมอเตอร์ B เคลื่อนที่ไปข้างหน้า จากนั้นสั่งให้มอเตอร์ B หมุนถอยหลัง
รูปแบบคำสั่ง มีดังนี้ รูปแบบการเขียนโปรแกรมควบคุมรถหุ่นยนต์จะเริ่มจากการสั่งให้ มอเตอร์ A และมอเตอร์ B เคลื่อนที่ไปข้างหน้า จากนั้นกำหนดให้โปรแกรมตรวจสอบการวนลูปตามรูปแบบ รูปแบบการเขียนคำสั่งควบคุมรถหุ่นยนต์เคลื่อนที่เดินหน้าแบบสลับฟันปลา กำหนดให้มอเตอร์ A หยุดหมุน การเขียนคำสั่งให้รถหุ่นยนต์เคลื่อนที่เดินถอยหลังแบบสลับฟันปลา รูปแบบคำสั่ง มีดังนี้ รูปแบบการเขียนโปรแกรมควบคุมรถหุ่นยนต์จะเริ่มจากการสั่งให้ มอเตอร์ A และมอเตอร์ B เคลื่อนที่ถอยหลัง จากนั้นกำหนดให้โปรแกรมตรวจสอบการวนลูปตามรูปแบบ รูปแบบการเขียนคำสั่งควบคุมรถหุ่นยนต์เคลื่อนที่ถอยหลังแบบสลับฟันปลา กำหนดให้มอเตอร์ A หยุดหมุน
กรณีการเลี้ยวแบบล้อเดียว ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมการเลี้ยวขวาแบบล้อเดียว แสดงภาพกรณีการเลี้ยวแบบล้อเดียว ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมให้หุ่นยนต์เลี้ยวทางขวาแบบล้อเดียว โปรแกรมเริ่มต้นสั่งงานให้รถหุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปข้างหน้าเป็นเวลา 5 วินาที จากนั้นสั่งให้ มอเตอร์ a หยุดหมุน และมอเตอร์ b หมุนเป็นเวลา 2 วินาที ซึ่งจะทำให้รถหุ่นยนต์เลี้ยวขวา หลังจากเลี้ยวขวาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้รถหุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปข้างหน้าเป็นเวลา 5 วินาที แล้วสั่งให้ มอเตอร์ a และ มอเตอร์ b หยุดหมุน ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมให้หุ่นยนต์เลี้ยวทางซ้ายแบบล้อเดียว โปรแกรมเริ่มต้นสั่งงานให้รถหุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปข้างหน้าเป็นเวลา 5 วินาที จากนั้นสั่งให้ มอเตอร์ b หยุดหมุน และมอเตอร์ a หมุนเป็นเวลา 2 วินาที ซึ่งจะทำให้รถหุ่นยนต์เลี้ยวซ้าย หลังจากเลี้ยวซ้ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้รถหุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปข้างหน้าเป็นเวลา 5 วินาที แล้วสั่งให้มอเตอร์ a และ มอเตอร์ b หยุดหมุน
กรณีการเลี้ยวแบบสองล้อ ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมเลี้ยวขวาแบบสองล้อ ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมให้หุ่นยนต์เลี้ยวทางขวาแบบสองล้อ โปรแกรมเริ่มต้นสั่งงานให้รถหุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปข้างหน้า เป็นเวลา 5 วินาที แล้วสั่งให้ มอเตอร์ a หมุนกลับไปด้านหลัง เป็นเวลา 1 วินาที ซึ่งจะทำให้รถหุ่นยนต์เลี้ยวไปทางด้านขวามือ จากนั้นสั่งให้มอเตอร์ A และมอเตอร์ B เคลื่อนที่ไปข้างหน้าอีก เป็นเวลา 5 วินาที ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมให้หุ่นยนต์เลี้ยวทางซ้ายแบบสองล้อ โปรแกรมเริ่มต้นสั่งงานให้รถหุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปข้างหน้า เป็นเวลา 5 วินาที แล้วสั่งให้ มอเตอร์ b หมุนกลับไปด้านหลัง เป็นเวลา 1 วินาที ซึ่งจะทำให้รถหุ่นยนต์เลี้ยวไปทางด้านซ้ายมือ จากนั้นสั่งให้มอเตอร์ A และมอเตอร์ B เคลื่อนที่ไปข้างหน้าอีก เป็นเวลา 5 วินาที |