<< Go Back

          OpenAI คือผู้อยู่เบื้องหลังในการพัฒนาและถูกเปิดตัวในปี 2022 โดยมีการใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่จากตระกูล GPT-3.5 และ GPT-4 ของ OpenAI เป็นพื้นฐาน โดยได้รับการปรับแต่งเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการสื่อสารผ่านแชทโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบสอนด้วยตัวอย่างและreinforcement learning ซึ่งเป็นการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ที่อาศัยการตอบสนองจากสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนามาตรฐานการกระทำที่เหมาะสมในกระบวนการ transfer learning
          ChatGPT เป็นเครื่องมือประมวลผลทางภาษาด้วย AI โดยใช้เทคโนโลยี GPT (Generative Pre-trained Transformer) ซึ่งเป็นโมเดล deep learning ที่ใช้เรียนรู้จากข้อมูลขนาดใหญ่บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งช่วยให้คุณสามารถตอบโต้และสนทนา หรือไขข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาที่คุณต้องการได้ เปรียบเสมือนคุณกำลังคุยกับเพื่อนอยู่คนหนึ่งมากไปกว่านั้นก็ยังสามารถเข้าไปช่วยงานต่าง ๆ ของคุณได้ เช่น จัดตารางการประชุม เขียนอีเมล์และบทความ รวมถึงการเขียนโค้ด
          ChatGPT ถือเป็นปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพในการสร้างสรรค์ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ และสื่อรูปแบบต่างๆ โดยอัตโนมัติ ตามข้อมูลที่ระบบของแชตบอตดังกล่าวได้ถูกฝึกมาได้เป็นอย่างดี จึงทำให้สามารถสร้างสรรค์งานหลากหลายรูปแบบในแบบที่เคยมีเพียงแต่มนุษย์เท่านั้นที่ทำได้โดย ChatGPT เปิดตัวเมื่อพฤศจิกายน 2565 และกำลังได้รับความนิยมในการใช้งาน
          ตัว Chat GPT มีฟังก์ชันหลัก ๆ คือ การเขียนข้อความหรือตอบคําถามที่ผู้ใช้งานได้ถาม โดยตัวระบบนั้นถูกเรียนรู้ให้ตอบออกมาโดยธรรมชาติและเขียนแบบที่มนุษย์คนนึงจะตอบ การใช้งานนั้นสามารถใช้ได้ทั้งการช่วยเขียนโค้ดแบบพื้นฐานหรือบอกคําตอบสูตรคณิตศาสตร์

การนำ ChatGPT มาประยุกต์ใช้กับวงการการศึกษา

          1. การเขียนโปรแกรม (Coding Programing)
          2. การเขียนจดหมายในรูปแบบต่าง
          3. การออกข้อสอบพร้อมเฉลย
          4. การเขียนเรียงความในรูปแบบต่างๆ
          5. การเขียนวิทยานิพนธ์ หรืองานวิจัย (การเขียนเอกสารวิจัย 5 บท)
          6. การสร้างรูปภาพจากข้อความ (prompt)
          7. การสร้างตัวชี้วัดของหลักสูตรหรือเนื้อหาตามที่ต้องการ
          8. สร้าง story หรือเนื้อหาของบทความจากรูปภาพ
          9. การทำขั้นตอนของการศึกษาดูงาน (Plan)
          10. การสรุปเนื้อหาจากไฟล์เอกสาร

          การลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้งาน AI Application นั้นสามารถใช้บัญชีอื่น ๆ ตามที่แพลตฟอร์ม AI กำหนดในที่นี้จะใช้บัญชี Gmail ซึ่งผู้ใช้ต้องล็อกอินเข้าสู่แอปของ Google ก่อน โดยมีขั้นตอนดังนี้
         1. เปิดบราวเซอร์ Google Chrome จากนั้นเข้าเว็บไซต์ https://www.google.com/ แล้วคลิกปุ่ม “เข้าสู่ระบบ” ที่อยู่ด้านขวามือบนของหน้าจอ


         2. กรอกอีเมลหรือโทรศัพท์ แล้วคลิกปุ่ม “ถัดไป”


         3. กรอกรหัสผ่าน แล้วคลิกปุ่ม “ถัดไป”


         4. เข้าสู่เว็บไซต์ https://openai.com จากนั้นคลิกที่ปุ่ม “Try ChatGPT”


         5. คลิกที่ “Sign up” เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน (หากเคยลงทะเบียนแล้วคลิกที่ Log in)

         การสมัคร ChatGPT จะมีให้สมัครตอนนี้อยู่ 3 รูปแบบก็คือ
                  1. สร้างบัญชีผ่าน ChatGPT โดยตรง
                  2. เชื่อมต่อด้วยบัญชี Google
                  3. เชื่อมต่อด้วยบัญชี Microsoft Account
จากตัวอย่าง จะเป็นการแนะนำผ่านวิธี สร้างบัญชีผ่าน ChatGPT โดยตรง

        5.1 กรอก Email Address และคลิกที่ช่องสี่เหลี่ยมตรง I’m a robot แล้วคลิก Continue

        5.2 กำหนด Password โดยจะต้องมีอย่างน้อย 8 ตัวอักษร แล้วคลิกปุ่ม Continue


        5.3 ยืนยันตัวตนผ่าน E-mail โดยเข้าที่ Email Address ของตนเอง


         5.4 จากนั้นเปิด E-mail ที่ openai ส่งมา คลิกที่ Verify email address


         5.5 กรอก ชื่อ - นามสกุล แล้วคลิกปุ่ม Continue

         5.6 กรอกเบอร์โทร


         5.7 กรอก code ที่ทางเว็บไซต์ส่งให้ ถือเป็นการลงทะเบียนสำเร็จ

            เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วจะเข้าสู่หน้าต่างการใช้งานเว็บไซต์ ChatGPT


  

        หน้า UI ของ chatGPT ไม่มีอะไรซับซ้อน มีเพียงกล่องที่ให้เราเริ่มเขียนคำถามหรือบทสนทนากับ AI ส่วนทางด้านซ้ายมือสามารถเพิ่มหรือจัดการกับบทสนทนาที่เราเคยถามค้างเอาไว้ได้ หรือดำเนินบทสนทนาต่อจากที่เราเคยถามทิ้งไว้

หน้าหลักของ ChatGPT

หมายเล 1 คือ ช่องสำหรับพิมพ์ข้อความหรือคำถามที่ต้องการค้นหาคำตอบ
หมายเล 2 คือ สร้างแชทใหม่หรือประวัติการค้นหาใหม่
หมายเล 3 คือ ประวัติที่เคยค้นหา
หมายเล 4 คือ การตั้งค่า

วิธีการใช้งาน
           โดยพิมพ์ข้อความหรือคำถามที่ต้องการที่ช่อง Send a massage ซึ่งในที่นี้จะพิมพ์คำถามเกี่ยวกับรายวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ

คณิตศาสตร์


ข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ


วิธีใช้งาน ChatGPT ช่วยเขียนเอกสารใน Google Doc และ Google Sheet

เริ่มต้นติดตั้งส่วนขยาย ChatGPT

          1. ไปที่ www.google.com เข้าสู่ระบบ Google ให้เรียบร้อยแล้วเปิด Google Doc ขึ้นมา


          2. คลิกเลือกเมนู ส่วนขยาย > ส่วนเสริม > ดาวน์โหลดส่วนเสริม


          3. ค้นหาส่วนขยาย “gpt” จากนั้นก็เลือกส่วนขยาย GPT for Google Sheets and Docs


          4. คลิก “ติดตั้ง” เพื่อติดตั้งส่วนขยาย


          5. จากนั้นก็อนุญาตให้ส่วนขยายเข้าถึง Google Docs และ Google Sheet ด้วยการคลิก Continue


          6. เลือกบัญชี Google ที่เราลงชื่อเข้าใช้


          7. คลิก “อนุญาต”


          8. คลิก “ถัดไป”


          9. หลังจากติดตั้งส่วนขยายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกกากบาทเพื่อปิดหน้าต่าง


          10. จากนั้น ให้เราไปที่เว็บไซต์ https://platform.openai.com/account/api-keys เพื่อขอ API keys ของ ChatGPT มาใช้งานในส่วนขยาย


          11. คลิก Create new secret key

          12. คลิก Create secret key


          13. คลิกไอคอน คัดลอก (Copy) เพื่อคัดลอก API Keys


          14. เมื่อได้ API Keys จาก ChatGPT มาแล้ว เราจะนำไปตั้งค่าใน Google Doc โดยกลับไปที่ Google Doc อีกครั้ง แล้วเลือกเมนู Extensions > GPT for Sheets and Doc > Set API Key


          15. วาง API Keys ลงในช่องป้อนข้อมูล แล้วคลิก Check หาก Key ถูกต้องแล้ว ให้เราคลิก Save API Key ได้เลย

          การติดตั้งส่วนขยายพร้อมกับผูก API Key จาก ChatGPT ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ต่อไปเราก็จะมาเริ่มใช้งานกันเลย

วิธีใช้งาน ChatGPT ใน Google Doc
          ถ้าหากหน้าต่างส่วนขยายยังไม่แสดงใน Google Doc ให้เราคลิกเมนู ส่วนขยาย > GPT for Sheets and Docs > Lunch


          หน้าต่างส่วนขยาย ChatGPT จะแสดงอยู่ทางด้านขวา


          สามารถสร้างคำสั่งหรือป้อน Prompt ที่ต้องการให้ ChatGPT หาข้อมูลให้ในช่องป้อนข้อมูลได้เลย จากนั้นกคลิก Submit


          รอให้ Chat GPT ประมวลผลเสร็จสิ้น ส่วนเอกสารทางด้านซ้ายก็จะแสดงผลลัพธ์ที่เราสั่ง


          และนี่ก็เป็นวิธีการติดตั้งและใช้งาน ChatGPT บน Google Doc และ Google Sheet ที่เข้ามาช่วยเรื่องของการให้ข้อมูลในเอกสารที่รวดเร็วมากกว่าการค้นหาจากเว็บเบราว์เซอร์

          ChatGPT นั้นยังมีข้อจํากัดอีกหลายเรื่อง เช่น ตัวข้อมูลทั้งหมดนั้นถูกอัพเดทถึงปี 2021 และก็ยังมีรายงานว่า ChatGPT นั้นยังให้คําตอบที่ผิด อยู่ค่อนข้างเยอะและยังมีอัตราการตอบถูกที่ไม่สูงมากทำให้เรายังเชื่อถือได้ไม่ทั้งหมด
          นอกจาก ChatGPT ที่ไม่สามารถตอบข้อมูลที่ใหม่กว่าปี 2021 แล้ว ChatGPT แตกต่างจากรุ่นก่อนคือการมุ่งเน้นที่การลดข้อมูลที่อาจเป็นอันตราย ไม่มีข้อมูลที่ไม่เหมาะสม และสามารถปฏิเสธคำขอที่ไม่เหมาะสมด้วย เช่น ให้เขียนใส่ร้ายให้คนอื่น เป็นต้น
          โดยสรุปแล้ว ChatGPT เป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจมากและจะเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนโลกให้ไปข้างหน้าได้อย่างมากแน่นอน แต่ก็ยังมีข้อจํากัดอีกหลายเรื่อง และสุดท้าย ChatGPT ก็คือเครื่องมือที่มนุษย์พัฒนาเพื่อให้มนุษย์ใช้นั้นเอง สิ่งสำคัญเลยคือ เราจะต้องตามเทคโนโลยีเหล่านี้ให้ทันและรู้จักวิธีใช้งานให้เกิดประโยชน์กับตัวเราเอง

1. ด้านการออกแบบแผนการสอน

          ขอแผนการสอนวิชาภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

2. ด้านสื่อการสอนในรูปแบบต่าง ๆ

          1) ขอสื่อโสต (audio media) เรื่อง การนับเลข


          2) ขอสื่อทัศน์ (visual media) เรื่อง การนับเลข



          3) ขอสื่อโสตทัศน์ (audio-visual media) เรื่อง การนับเลข

          4) ขอรูปแบบเกมสร้างสรรค์


          5) ขอสื่อการสอนสถานการณ์จำลอง เรื่อง ปฐมพยาบาลเบื้องต้น


          6) ขอสื่อการสอนแบบอัจฉริยะรูปแบบโลกเสมือนจริง Metaverse


3. ด้านการเตรียมเนื้อหาการสอน

          1) ขอเนื้อหาการสอนเรื่อง เซลล์เม็ดเลือดขาว


          2) ขอเนื้อหาการสอนเรื่อง ความน่าจะเป็น


4. ด้านการสร้างชุดแบบทดสอบรูปแบบต่าง ๆ พร้อมเฉลย

          1) แนวทางในการเตรียมข้อสอบพร้อมเฉลย เรื่อง พฤติกรรมของสัตว์


          2) แนวทางในการเตรียมข้อสอบจับคู่ พร้อมเฉลย เรื่อง พฤติกรรมของสัตว์


5. ด้านงานวิจัย

          1) ขอแนวทางหัวข้องานวิจัย


          2) วิธีวิจัยรูปแบบต่าง ๆ


          3) ขอแนวทางการหาแหล่งอ้างอิงสำหรับงานวิจัยที่เชื่อถือได้

6. ด้านกิจกรรมที่เกี่ยวกับชั้นเรียน

          1) กิจกรรมเสริม เรื่อง พืชดอก


          2) ขอรูปแบบกิจกรรมกลุ่ม เรื่อง ทฤษฎีควอนตัม


          3) ขอรูปแบบกิจกรรมวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง คำนาม

 

7. การประยุกต์ใช้โปรแกรม ChatGPT เป็นผู้ช่วยด้านความรวดเร็วและความถูกต้องของการทำงาน

          1) ขอรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่มีแนวคิดให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ


          2) ขอเทคนิคการสอนแบบ Active Learning แบบ Brain-Based Learning


8. เทคนิคการสร้าง Prompt สำหรับการค้นหาคำตอบให้ตรงกับความต้องการ

          เทคนิคการสร้าง Prompt สำหรับการค้นหาคำตอบให้ตรงกับความต้องการ


ตัวอย่างการค้นหา

          1) ช่วยสรุปใจความสำคัญเรื่อง ดาวเทียม


          2) ช่วยวิเคราะห์เรื่อง ถ่านหินในประเทศไทย


          3) ขอแบบฟอร์มประเมินสมาชิกหลังการทำกิจกรรม


          4) ขอตัวอย่างการสร้าง Portfolio




<< Go Back