ระบบ AI ทำงานโดยการรับข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และประมวลผล เพื่อให้ได้ผลตอบกลับมา ไม่ว่าจะผ่านการใช้คำพูด ข้อความ หรือการกระทำต่าง ๆ อยู่ที่ว่าเราต้องการให้ตอบกลับมาเป็นแบบไหน และเอาผลลัพธ์นั้นมาใช้ประโยชน์ให้ตรงกับจุดประสงค์ อีกทั้งยังสามารถใช้รูปแบบการทำงานนี้เพื่อคาดการณ์สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อในอนาคตได้ เช่น แชทบอทที่ตอบข้อความอัตโนมัติได้เหมือนกับคน หรือความสามารถในการจดจำภาพ
หลักการทำงานของ AI แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่
1. การรับข้อมูล (Input)
ขั้นตอนแรกคือการรับข้อมูลเข้ามาในระบบ AI โดยข้อมูลอาจอยู่ในรูปแบบของภาพ เสียง ข้อความ วิดีโอ หรือตัวเลข ระบบ AI จะใช้อัลกอริทึมต่างๆ เพื่อแปลงข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ระบบ AI ที่ใช้การจดจำใบหน้า จะแปลงภาพใบหน้าให้เป็นชุดตัวเลขเพื่อวิเคราะห์
เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า แปลงภาพใบหน้าให้เป็นชุดตัวเลขเพื่อวิเคราะห์
2. การประมวลผลข้อมูล (Processing)
ขั้นตอนที่สองคือการนำข้อมูลที่ได้รับมาประมวลผล เพื่อหาความสัมพันธ์หรือรูปแบบต่างๆ ของระบบข้อมูล ระบบ AI จะใช้อัลกอริทึมต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างโมเดลหรือแบบจำลองของข้อมูลนั้นๆ เช่น ระบบ AI ที่ใช้การแปลภาษา จะวิเคราะห์ข้อมูลภาษาต้นทาง และภาษาเป้าหมายเพื่อสร้างแบบจำลองการแปล
3. การแสดงผลข้อมูล (Output)
ขั้นตอนสุดท้ายคือการแสดงผลผลลัพธ์ของกระบวนการประมวลผลข้อมูล ระบบ AI จะใช้อัลกอริทึมต่างๆ เพื่อแปลงผลลัพธ์ให้เป็นรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้ เช่น ระบบ AI ที่ใช้การจดจำใบหน้า จะแสดงผลลัพธ์เป็นชื่อหรือข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลนั้นๆ
1. การรับรู้ (perception)
ปัญญาประดิษฐ์จะรับรู้ด้วยการมองเห็นและการได้ยินผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นเซนเซอร์ เช่น กล้อง ไมโครโฟน หรืออุปกรณ์นำเข้าข้อมูลอื่น ๆ โดยนำเข้าไปเพื่อประมวลผล และเข้าใจสิ่งที่รับรู้ได้ด้วย
2. การแทนความรู้และการให้เหตุผล (representation and reasoning)
ปัญญาประดิษฐ์สาสมารถเก็บองค์ความรู้ในรูปแบบของตัวแทนความรู้ (knowledge representation) เช่น กฎการตัดสินใจที่สร้างมาจากองค์ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ และใช้ตัวแทนความรู้นี้ในการให้เหตุผลโดยการอนุมาน (inference) เป็นกระบวนการหาข้อสรุปจากองค์ความรู้ที่มีอยู่
ตัวอย่างเช่น ปัญญาประดิษฐ์มีตัวแทนความรู้ของการข้ามถนน (คู่มือการข้ามถนน) เมื่อมีการรับข้อมูลนำเข้ามา ปัญญาประดิษฐ์ จะไปตรวจสอบว่าข้อมูลนำเข้าตรงกับตัวแทนความรู้ใด (สถานการณ์ตรงกับกฎการข้ามถนนข้อใดในคู่มือ) จากนั้นจึงตัดสินใจว่าจะข้ามถนนหรือไม่ข้ามถนน
3. การเรียนรู้ (learning)
ปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้อัลกอริทึมการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) จะเรียนรู้จากข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) โดยสร้างโมเดล (model) จากข้อมูลฝึกสอน (training data) ที่มนุษย์นำเข้าไป หรือเป็นข้อมูลจากเครื่องจักรที่สร้างข้อมูลฝึกสอนเองได้
ตัวอย่างเช่น การพัฒนาตัวแบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อใช้จำแนกเพศจากรูปภาพใบหน้าคน โดยอาศัยข้อมูลฝึกสอนที่เป็นรูปใบหน้าคนเพศชาย-หญิง จำนวนมาก ๆ
4. การปฏิสัมพันธ์อย่างเป็นธรรมชาติ (natural interaction)
ปัญญาประดิษฐ์จะต้องเข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ก่อน
ตัวอย่างเช่น การพูดคุยกันระหว่างมนุษย์ จึงจะทำให้ปัญญาประดิษฐ์สามารถเลียนแบบมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ
5. ผลกระทบทางสังคม (social impact)
การใช้งานปัญญาประดิษฐ์จะต้องคำนึงถึงจริยธรรม (ethics) และความปลอดภัย (security) และความเป็นส่วนตัว (privacy) เนื่องจากปัญญาประดิษฐ์สามารถตัดสินใจ หรือกระทำสิ่งอาจส่งผลกระทบต่อมนุษย์ได้
จุดประสงค์ของการใช้ AI คือ การช่วยให้มนุษย์สามารถตัดสินใจสิ่งที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้น ด้วยข้อมูลที่มาจากการสกัดของ AI สามารถช่วยให้มนุษย์เข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญสามารถช่วยให้มนุษย์ทำงานลดน้อยลง รวมถึงงานไหนที่เสี่ยงต่อความอันตรายต่อชีวิตของมนุษย์ เช่น การก่อสร้างตึก การทำการตลาดด้วย AI หรือ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ ของมนุษย์ AI สามารถช่วยเหลือได้ ในปี 2023 มนุษย์ทั่วโลกได้หันมาใช้ AI มากยิ่งขึ้น โดยอุตสหกรรมที่มีการพูดถึงและนำ AI มาใช้ คือ การตลาด เนื่องจาก AI สามารถลดความเลื่อมล่ำในการเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้ และช่วยประหยัดเวลาให้มนุษย์มีเวลาในการทำงานอย่างอื่นมากขึ้น ซึ่งการที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในเชิงพาณิชย์นี้ ก็อาจต้องมีการพัฒนา วิจัย เพื่อให้สอดคล้องกับงานที่มนุษย์เลือกให้ AI ทำ
ตัวอย่างของ AI ในชีวิตประจำวัน ที่ช่วยอำนวยความสะดวก และทำให้การใช้ชีวิตเป็นเรื่องง่ายมากยิ่งขึ้น
1. การปลดล็อคหน้าจอโทรศัพท์ด้วย Face ID
สิ่งแรกที่คนส่วนใหญ่ทำหลังจากตื่นนอน คือหยิบสมาร์ทโฟนเพื่อเช็คข้อมูลข่าวสารต่างๆ และเมื่อโทรศัพท์ถูกปลดล็อคหน้าจอโดยการใช้ biometrics หรือเทคโนโลยีชีวมิติ เช่น Face ID ถือเป็นการใช้เทคโนโลยี AI ในรูปแบบหนึ่ง ตัวอย่างที่ทุกคนน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี คือ Apple Face ID โดย Apple Face ID สามารถมองเห็นได้ในรูปแบบ 3 มิติ โดยจะเก็บรายละเอียดบนในหน้าถึง 30,000 จุด และใช้อัลกอริทึมของ Machine Learning ในการเปรียบเทียบใบหน้าที่กำลังสแกนกับรูปที่เก็บเอาไว้ เพื่อที่จะตัดสินว่าคนที่กำลังจะปลดล็อคหน้าจอใช้คุณหรือไม่ โดย Apple กล่าวว่าโอกาสที่จะหลอก Face ID ได้ คือหนึ่งในล้าน
2. โซเชียลมีเดีย
สิ่งที่คนมักทำต่อไปจากการหยิบโทรศัพท์แล้ว คือการเช็คข่าวสาร หรือเรื่องราวอัพเดทบนโซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Twitter และอื่นๆ เทคโนโลยี AI ไม่เพียงแต่อยู่เบื้องหลังในการเลือกโพสต์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่คุณสนใจขึ้นมาโชว์ โดยดูจากความสนใจ และการมีปฏิสัมพันธ์บนโซเชียลมีเดียในอดีต ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ยังสามารถแนะนำเพื่อนที่คุณอาจจะรู้จัก กรองข่าวปลอม รวมถึง Machine Learning ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการกลั่นแกล้งคุกคามผ่านโลกไซเบอร์ (Cyberbullying) ได้อีกด้วย
3. การส่งอีเมล์ หรือข้อความต่างๆ
เราทุกคนมีการส่งอีเมล์กันทุกวัน มีเครื่องมือ เช่น Grammarly ที่ช่วยเช็คความถูกต้องของคำและไวยากรณ์บนอีเมล์ เพื่อช่วยทำให้การเขียนอีเมล์ของคุณไม่มีคำผิด หรือ Gmail ที่มีการแนะนำคำ และไวยากรณ์ที่ถูกต้องให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ได้นำเทคโนโลยี AI และการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) มาใช้งาน หรือในการรับอีเมล์ ฟิลเตอร์สแปมใช้เทคโนโลยี AI ในการที่บล็อกอีเมล์ที่อาจจะเป็นอีเมล์สแปม หรือระบุว่าอีเมล์ที่ผู้รับจะได้รับจะอยู่ในหัวข้อไหนในอินบ็อกซ์ของผู้รับ รวมถึงโปรแกรมแอนตี้ไวรัสยังได้นำเทคโนโลยี Machine Learning มาช่วยในการป้องกันความปลอดภัยให้กับอีเมล์ของคุณอีกด้วย
4. การค้นหาบน Google
เชื่อว่าทุกคนต้องได้ใช้การค้นหาบน Google กันทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการคำตอบเกี่ยวอะไรบางอย่าง หรือหาสินค้า และบริการที่เราต้องการรู้จัก หรือใช้บริการอยู่เป็นประจำ Search engines ไม่สามารถค้นหาข้อมูลทั่วอินเตอร์เน็ตให้เราได้ ถ้าหากไม่มีเทคโนโลยี AI หรือเราอาจจะเคยเจอโฆษณาที่ตามเราไปทุกที่ ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน สิ่งเหล่านี้ทำได้ด้วยเทคโนโลยีของปัญญาประดิษฐ์เช่นกัน โดยดูจากการค้นหาในอดีต และนำเสนอให้กับแต่ละบุคคล (Personalize) โดยมีเป้าหมาย คือการนำเสนอสิ่งที่ผู้ใช้แต่ละคนสนใจ
5. การสั่งงานด้วยเสียง
ตั้งแต่การสอบถามเส้นทางไปร้านอาหารโปรด จนถึงการสอบถามพยากรณ์อากาศประจำวัน ผู้ช่วยในการสั่งงานด้วยเสียงกลายเป็นสิ่งที่หลายๆ คนขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างผู้ช่วยในการสั่งงานด้วยเสียง ได้แก่ Siri, Alexa, Google home จนถึง Cortana โดยเครื่องมือเหล่านี้ใช้ระบบการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) โดยเทคโนโลยี AI จะประมวลผล และตอบคำถามให้กับผู้ใช้งาน
6. อุปกรณ์สมาร์ทโฮม
จากบ้านปกติกลายเป็นบ้านที่ “ฉลาด” มากขึ้น ด้วยเทคโนโลยี AI หลายๆ บ้านอาจจะคุ้นเคยกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิอัจฉริยะ เช่น Nest ที่สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับอุณหภูมิตามความชอบของเจ้าของบ้าน รวมถึงตู้เย็นอัจฉริยะที่สามารถบอกได้ว่าของอะไรบ้างที่คุณต้องการ แต่ตอนนี้ไม่มีของนั่นอยู่ในตู้เย็น รวมถึงยังสามารถแนะนำประเภทของไวน์ที่จะเข้ากับมื้อเย็นของคุณให้ได้อีกด้วย
7. การเดินทางไปทำงาน
เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยในการเดินทางมากกว่าการบอกเส้นทาง Google maps และแอปการเดินทางอื่นๆ ใช้ AI ในการติดตามการจราจร เพื่อแจ้งข้อมูลการจราจร และสภาพอากาศได้แบบเรียลไทม์ รวมถึงแนะนำเส้นทางที่สามารถเลี่ยงการจราจรที่หนาแน่นได้ นอกจากนั้นรถบางคันอาจจะมีระบบเทคโนโลยีการช่วยเหลือผู้ขับ เช่นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐแคลิฟอร์เนีย สามารถใช้บริการ Self-driving car จากบริษัทลูกของ Google ที่ชื่อว่า Waymo ได้
8. ธุรกรรมทางการเงิน
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับระบบของธนาคารได้หลากหลายวิธี ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงิน และป้องกันการทุจริต ระบบ AI เป็นเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังกิจกรรมเหล่านี้ ได้แก่ การฝากเช็คด้วยการสแกนด้วยมือถือ ระบบแจ้งเตือนเมื่อยอดเงินคงเหลือต่ำ หรือแม้กระทั่งการล็อคอินเข้าไปใช้ระบบโมบายแบงค์กิ้ง ถ้าคุณเข้าไปซื้อกางเกงที่ร้านเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง ระบบ AI จะวิเคราะห์ว่าธุรกรรมนี้เป็นธุรกรรมที่คุณใช้เป็นปกติหรือไม่ เพื่อที่จะพิสูจน์ว่ามีบุคคลที่ไม่พึงประสงค์นำบัตรเครดิตของคุณไปใช้หรือไม่
Generative AI คืออะไร
Generative AI คือ แขนงหนึ่งของ Artificial Intelligence (AI) เป็นปัญญาประดิษฐ์รูปแบบหนึ่งที่ใช้สำหรับสร้างเนื้อหาใหม่ๆ ได้อย่างหลากหลายแบบอัตโนมัติโดยที่ไม่ต้องมีมนุษย์เข้ามาช่วย เช่น ใช้สร้างข้อความ รูปภาพ เพลง วิดีโอ ฯลฯ Generative AI มีความฉลาดที่จะเรียนรู้จากข้อมูลที่มีอยู่ด้วยการใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) และใช้องค์ความรู้เหล่านั้นมาสร้างผลลัพธ์ใหม่ๆ ที่มนุษย์ต้องการได้ ซึ่งความสามารถนี้ของ Generative AI (หรือที่เรียกว่า (GEN AI) ช่วยสนับสนุนการทำงานในหลายวงการ เช่น Digital Marketing, วงการเพลง, วงการครีเอทีฟ, กราฟิกดีไซเนอร์ ฯลฯ ให้ทำงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอย่าง ChatGPT แชตบอตอัจฉริยะที่สร้างเสียงฮือฮาตั้งแต่ก้าวเข้าสู่ปี 2023 มาจนถึงการพัฒนาสู่ ChatGPT 4
Generative AI ทำงานอย่างไร
Generative AI ทำงานด้วยการใช้ Neural Network (โครงข่ายประสาทเทียม) ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญญาประดิษฐ์ที่สอนคอมพิวเตอร์ให้ประมวลผลข้อมูลในลักษณะที่อ้างอิงมาจากสมองมนุษย์, แบบจำลองสถิติ (Statistical models) ที่เป็นการสร้างข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์สถิติจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว หรือ GAN (Generative Adversarial Networks) ซึ่งใช้สำหรับสร้างข้อมูลที่มีความสมจริง และเรียนรู้ได้แบบไม่มีผู้กำหนด (Unsupervised Learning)
Generative AI จึงรู้จักคิดและจดจำ เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ เช่น รูปร่าง สี หรือพื้นผิว จากนั้นก็จะใช้ข้อมูลนี้เพื่อสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่คล้ายกับของเดิม แต่ไม่ใช่การทำซ้ำกับของเดิม ยกตัวอย่างเช่น
- การใช้ Generative AI เพื่อสร้างภาพและวิดีโอจะใช้โมเดล Deep Learning ในการสร้างภาพหรือวิดีโอใหม่ โดยการอ้างอิงจากภาพหรือวิดีโอต้นฉบับ อย่างเช่น การใช้ Convolutional Neural Networks (CNN) ที่เป็น Neural Network แบบหนึ่งซึ่งวิเคราะห์รูปภาพได้หลากหลายรูปแบบ อาทิ การตรวจจับวัตถุ, การเรียนรู้จดจำใบหน้า (Face Recognition) ฯลฯ
- การใช้ Generative AI เพื่อสร้างข้อความจะใช้สิ่งที่เรียกว่า โมเดลทางด้านภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing หรือ NLP) ที่สามารถเรียนรู้ตัวอักษรและความหมายของประโยค เพื่อสร้างข้อความใหม่ๆ ขึ้นมาได้แบบอัตโนมัติ
ความสามารถของ Generative AI
Generative AI เป็นระบบประมวลผลซึ่งสามารถสร้างคอนเทนต์ สร้างรูปภาพ สร้างเสียง สร้างวิดีโอ ช่วยเขียนโค้ด ช่วยประมวลผลและคาดคะเน เป็นต้น โดยระบบจะใช้เทคนิคการเรียนรู้เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่สมจริงมากที่สุด โดยการเรียนรู้ของ Generative AI จะใช้ข้อมูลจำนวนมาก และวิธีการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ เพื่อสร้างโมเดลที่สามารถสร้างผลลัพธ์ใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนได้อย่างแม่นยำ
1. การสร้างภาพและวิดีโอ ของ Generative AI จะใช้โมเดล Deep Learning เพื่อสร้างภาพและวิดีโอที่มีความเป็นจริงมากขึ้น เช่น การสร้างภาพของมนุษย์หรือสัตว์โดยอิงจากภาพต้นฉบับ เป็นต้น โดยตัวอย่างของโมเดล Deep Learning คือ Convolutional Neural Networks (CNN) และ Recurrent Neural Networks (RNN)
2. การสร้างเสียง ของ Generative AI จะใช้โมเดล Deep Learning เช่นกัน โดยระบบจะถูกสร้างขึ้นจากข้อมูลเสียงจำนวนมาก และเรียนรู้การสร้างเสียงจากพจนานุกรมเสียงที่มีอยู่แล้ว เช่น การสร้างเสียงเพลงที่เป็นไปได้จากเสียงเครื่องดนตรีต่างๆ โดยตัวอย่างของโมเดล Deep Learning ในการสร้างเสียงคือ WaveNet
3. การสร้างข้อความ ของ Generative AI ใช้โมเดลทางด้านภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing – NLP) ในการสร้างข้อความ โดยโมเดลที่ได้รับความนิยมในการสร้างข้อความคือโมเดลประเภท Transformer ที่มีความสามารถในการเรียนรู้จากข้อมูลของตัวอักษรและความหมายของประโยค เพื่อสร้างข้อความใหม่ตามต้องการ โดยตัวอย่างของโมเดล Transformer ที่ได้รับความนิยมคือ GPT (Generative Pre-training Transformer) ซึ่งได้ถูกพัฒนาโดย OpenAI ได้รับความนิยมอย่างมากในการสร้างข้อความ รวมถึง AI Content Writer Assistant ที่รองรับภาษาไทยอย่าง Alisa
ตัวอย่าง Generative AI
ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยี AI เริ่มมีการพัฒนาให้สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้ฉลาดและคล้ายกับมนุษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ หรือในบางกรณีก็อาจทำได้ดีกว่ามนุษย์เสียด้วยซ้ำ โดยหนึ่งในความสามารถของ AI ที่หลายคนกำลังให้ความสนใจในขณะนี้ก็คือ AI Chatbot ที่มาในรูปแบบคล้ายกับแอปฯ แชต ให้ผู้ใช้สามารถพิมพ์คำถามหรือคำสั่งอะไรก็ได้เพื่อให้ AI ตอบและให้ข้อมูลต่าง ๆ โดยใช้เวลาในการประมวลผลคำตอบเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น
1. ChatGPT
AI Chatbot จาก OpenAI ที่ค่อนข้างเป็นที่รู้จักมากที่สุด เป็น AI ที่เก่งในการเขียนบทความ โดยจะเน้นการให้ข้อมูลเป็นสไตล์บทความที่บรรยายด้วยตัวอักษรล้วน ๆ ไม่สามารถแสดงรูปภาพได้ ซึ่งผู้ใช้สามารถขอให้ AI สร้างและเรียบเรียงเนื้อหา หรือบทความเกี่ยวกับเรื่องเดิมขึ้นมาใหม่ได้อีกเรื่อย ๆ หลากหลายรูปแบบ
2. Google Bard
AI Chatbot จาก Google จะสามารถพิมพ์คำถามพร้อมแนบรูปภาพให้ AI วิเคราะห์ได้ ซึ่งจะสามารถแสดงคำตอบทั้งตัวอักษรและรูปภาพ ใช้ระบบค้นหาข้อมูลของ Google Search ประมวลผลคำตอบได้ค่อนข้างรวดเร็ว โดยในการให้ข้อมูลแต่ละครั้ง Bard จะเรียบเรียงข้อมูลออกมาให้สามารถเลือกได้ 3 รูปแบบ พร้อมทั้งมีตัวเลือกเพื่อปรับเนื้อหาให้สั้นลง, ยาวขึ้น, เรียบง่ายขึ้น, เป็นทางการน้อยลง หรือเป็นทางการขึ้น และมีปุ่มให้กดเพื่อค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วย Google ได้ทันที
3. Bing Chat
AI Chatbot จาก Microsoft ที่จำเป็นต้องใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ Microsoft Edge หรือแอปฯ Bing เท่านั้น ซึ่งมีหน้าตาอินเทอร์เฟซขณะใช้งานเหมือนแอปฯ แชต เลือกลักษณะการตอบของ AI ได้ทั้งแบบสมดุล แบบสร้างสรรค์ และแบบแม่นยำ โดยมีจุดเด่นหลัก ๆ คือสามารถพิมพ์คำถามพร้อมแนบรูปภาพ และให้คำตอบได้ทั้งตัวอักษรและรูปภาพ ใช้ระบบค้นหาข้อมูลของ Bing โดยจะมีการแนบลิงก์บอกแหล่งที่มาของข้อมูล รวมทั้งลิงก์ให้สามารถคลิกเข้าไปอ่านรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมได้
AI Chatbot จาก Microsoft ที่จำเป็นต้องใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ Microsoft Edge หรือแอปฯ Bing เท่านั้น ซึ่งมีหน้าตาอินเทอร์เฟซขณะใช้งานเหมือนแอปฯ แชต เลือกลักษณะการตอบของ AI ได้ทั้งแบบสมดุล แบบสร้างสรรค์ และแบบแม่นยำ โดยมีจุดเด่นหลัก ๆ คือสามารถพิมพ์คำถามพร้อมแนบรูปภาพ และให้คำตอบได้ทั้งตัวอักษรและรูปภาพ ใช้ระบบค้นหาข้อมูลของ Bing โดยจะมีการแนบลิงก์บอกแหล่งที่มาของข้อมูล รวมทั้งลิงก์ให้สามารถคลิกเข้าไปอ่านรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมได้
4. Alisa
AI Chatbot สัญชาติไทย ที่สามารถพูดคุยผ่าน Line Official ได้ภายใต้การพัฒนาของ บริษัท รุ่งเรืองตลอดไป จำกัด (มหาชน) หรือ GLORY โดยเป้าหมายของ Alisa AI ก็เพื่อเปิดโอกาสให้คนไทยเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างทั่วถึง และมีความปลอดภัยที่สุด ขับเคลื่อนด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ Generative Pre-Trained Transformer (GPT) สามารถทำงานได้หลากหลาย เช่น ตอบคำถาม เขียนเนื้อหา แปลภาษา และสร้างสรรค์งานต่างๆ Alisa AI กำลังมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในสังคมไทยและทั่วโลก
5. Copy ai
Copy.AI คือ AI เขียนบทความ ภาษาอังกฤษ ซึ่งสามารถเขียนบทความคุณภาพซึ่งแทบไม่แตกต่างจากมนุษย์เขียน มีเครื่องมือช่วยเขียนแทบทุกรูปแบบ เช่น เขียนจดหมายขายของ เขียนโพส & แคปชั่นในโซเชียลมีเดีย เขียนสคริปต์วิดิโอ และอื่นๆ อีกมาก ซึ่งช่วยให้ผู้เขียนสร้างสรรค์ข้อความได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
Copy AI เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับธุรกิจและนักการตลาดที่ต้องการสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพสูง และมีประสิทธิภาพในเวลาจำกัด เครื่องมือนี้สามารถใช้เพื่อประหยัดเวลาและเงิน และช่วยให้ผู้ใช้สร้างเนื้อหาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. Sider
AI Chatbot จากบริษัทสตาร์ทอัพจากบอสตันที่พัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน ผลิตภัณฑ์หลักของ Sider AI คือ Sider Chrome Extension ซึ่งเป็นส่วนขยายสำหรับเบราว์เซอร์ Chrome ของ Google ที่เป็น ChatGPT แชทบอทที่เป็นตัวช่วยในการ ตอบคำถามในขณะที่ใช้งานผ่าน เว็บเบราว์เซอร์ Google Chrome ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยี AI ได้ง่ายขึ้น
ประโยชน์ของ Generative AI
1. การสร้างภาพและวิดีโอ : Generative AI สามารถสร้างภาพหรือวิดีโอที่ไม่มีจริง หรือแก้ไขภาพและวิดีโอตามความต้องการ เช่น การสร้างภาพของคนที่ไม่มีจริงหรือการปรับปรุงคุณภาพของภาพ
2. การสร้างและปรับปรุงเสียง : สามารถสร้างเสียงเพลง, เสียงพูด, หรือเสียงอื่นๆ โดยไม่ต้องมีการบันทึกจริง
3. ประยุกต์ใช้ในการออกแบบ : ใช้สำหรับสร้างแบบจำลอง, รูปแบบหรือแนวคิดใหม่ๆ ในงานออกแบบ, เช่น การออกแบบแฟชั่น, การออกแบบผลิตภัณฑ์, หรือแม้กระทั่งการออกแบบยา
4. การสร้างข้อความ : สามารถสร้างข้อความหรือเนื้อหาโดยอิสระ, เช่น การสร้างบทความ, การสร้างบทประพันธ์, หรือการตอบคำถามในแบบที่สร้างสรรค์
5. การประยุกต์ใช้ในศิลปะ: ในงานศิลปะและความบันเทิง, Generative AI ถูกใช้เพื่อสร้างงานศิลปะ, เพลง, และเนื้อหาต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์
|