หลังจากที่เราสร้างไฟล์ชิ้นงานของเราเรียบร้อยแล้ว และพร้อมที่จะนำผลงานนี้ใช้ ซึ่งโดยปกติโปรแกรมจะนำไฟล์ชิ้นงานนี้ไปสร้างเป็นไฟล์ Flash SWF และ ไฟล์ HTML ที่สามารถนำไปแสดงผลบนเว็บบราวเซอร์ได้ทันที
สามารถเลือกให้โปรแกรมทำการสร้างไฟล์ผลงานในแบบ GIF , JPEG, PNG, Projectorและ QuickTime เพื่อใช้ร่วมกับไฟล์ HTML เพื่อแสดงผลในบราวเซอร์ในกรณีที่ผู้ชมไม่มีโปรแกรม Flash Player 6 ติดตั้งอยู่ในระบบได้
นอกจากนี้ ยังอาจจะนำเนื้อหาในไฟล์ชิ้นงานของเรา ซึ่งอาจเป็นทั้งมูฟวี่หรือเฉพาะบางเฟรมหรือบางออบเจ็กต์ ไปสร้างเป็นไฟล์ภาพนิ่งในรูปแบบต่างๆ เพื่อนำไปใช้ และแก้ไขในโปรแกรมอื่นได้อีกด้วย
การสร้างไฟล์ผลงานของ Flash จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ขั้นตอน คือ
- ทำการเลือกชนิดของไฟล์ผลงานที่ต้องการและทำการตั้งค่าให้กับไฟล์ชนิดนั้นๆ เมนูคำสั่ง File เลือกคำสั่ง Publish Settings
-
- ในส่วนของ Type เลือกชนิดของไฟล์ที่ต้องการสร้างโดยปกติโปรแกรมจะเลือกชนิดของไฟล์เป็น Flash (.swf) และ HTML (.html) ให้โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้เพราะโปรแกรมจะต้องใช้ไฟล์ชนิดนี้ในการแสดงผลบนบราวเซอร์
Generate Size report สร้างไฟล์ .txt ซึ่งเป็นไฟล์ข้อความที่ใช้บอกรายละเอียดแสดงขนาดของไฟล์ในแต่ละเฟรม
Protect from Import ป้องกันไม่ให้ผู้ชมดาวน์โหลดไฟล์ไปใช้งาน
Omit Trace Actions ป้องกันไม่ให้แสดงหน้าต่างแสดงข้อความที่กำหนด
Debugging Permitted ป้องกันการเข้ามาแก้ไขข้อมูล
Compress Movie บีบอัดไฟล์มูฟวี่ให้มีขนาดเล็กลง และลดเวลาในการโหลดข้อมูลลง
Optimize for Flash เลือกเพื่อแปลงไฟล์พร้อมปรับปรุง
Payer 6 r65 ActionScript ให้สารมารถใช้ได้กับ Flash Player เวอร์ชั่น 6 ได้ดีขึ้น (เราต้องเลือกพับลิซเป็น Flash Player เวอร์ชั่น 6 ก่อน)
Export hidden layers ในกรณีที่มีการซ่อนเลเยอร์ไว้ ให้เอ็กซ์พอร์ตเลเยอร์ที่ถูกซ่อนอยู่ด้วย
Export SWC ในกรณีที่มีการใช้คอมโพเนนต์ (เฉพาะไฟล์ ActionScript 3.0)เราสามารถเลือกเอ็กซ์พอร์ตไฟล์คอมโพเนนต์ (.swc) ด้วย
- หากต้องการตั้งชื่อไฟล์ ให้คลิกยกเลิกการเลือกในหัวข้อ Use Default name แล้วพิมพ์ชื่อไฟล์ลงในช่อง Filename ของชนิดของไฟล์นั้นๆ สามารถใส่ตำแหน่งของไฟล์ในดิสก์ได้ด้วย เช่น C:\Folder\filename.swf
- คลิกที่แท็บชนิดของไฟล์เพื่อไปตั้งค่าตามชนิดของไฟล์ที่เลือก
- เมื่อเรียบร้อยแล้ว คลิกที่ปุ่ม Publish เพื่อสร้างไฟล์ตามชนิดที่กำหนดหรือ เลือกปุ่ม OK เพื่อบันทึกการตั้งค่านี้ไว้ก่อน แล้วไปทำการสร้างไฟล์ตามที่กำหนดในภายหลังด้วยเมนูคำสั่ง File เลือกคำสั่ง Publish
การนำเสนอผลงานนามสกุล .swf ซึ่งเป็นไฟล์มูฟวี่ในรูปแบบ Flash ช่วยให้คุณสามารถกำหนดค่าต่างๆ เช่น กำหนดป้องกันไม่ให้ผู้ชมดาวน์โหลดไฟล์ไปใช้งาน กำหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันผู้บุกรุก กำหนดการบีบอัดไฟล์เสียง ได้ตามต้องการ สำหรับขั้นตอนการกำหนดค่าคุณสมบัติมีดังต่อไปนี้
- คลิกแท็บ Flash เพื่อนำเสนอผลงานนามสกุล .swf ซึ่งเป็นไฟล์มูฟวี่ในรูปแบบ Flash
- คลิกเลือกเวอร์ชันของโปรแกรม Flash ที่ต้องการนำไฟล์ข้อมูลไปใช้งาน จากส่วน Version
- คลิกให้ปรากฏเครื่องหมายถูกจากส่วนของ Options เพื่อกำหนดค่าคุณสมบัติที่ต้องการ
- เมื่อคลิกเครื่องหมายถูกที่ Debugging Permitted จะปรากฏ Password ขึ้นมาเพื่อให้พิมพ์รหัสผ่านที่ต้องการ
- ดรากส์เมาส์กำหนดคุณภาพของภาพบิตแมปจากส่วนของ JPEG Quality โดยหากกำหนดค่าตัวเลขมากภาพจะมีคุณภาพสูง และไฟล์ที่ได้จะมีขนาดใหญ่
- คลิกกำหนดการบีบอัดไฟล์เสียงที่เล่นตามเฟรมที่กำหนดไว้ จากส่วนของ Audio Stream
- คลิกกำหนดการบีบอัดไฟล์เสียงที่เล่นตามเฟรมที่กำหนดไว้ จากส่วนของ Audio Stream
- คลิกให้ปรากฏเครื่องหมายถูกที่ Override Sound Settings เพื่อใส่ค่าคุณภาพของไฟล์เสียงที่ได้กำหนดไว้แทนค่าอื่นๆ ที่ได้เคยกำหนดไว้
- คลิกปุ่ม เพื่อจัดตั้งส่งออกผลงานตามค่าที่กำหนดไว้
การนำเสนอผลงานในรูปแบบ HTML เป็นไฟล์ที่สามารถนำไปใช้งานบนอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งค่า
คุณสมบัติต่างๆ จะเกี่ยวข้องกับการแสดงผลบนบราวเซอร์ เช่น ขนาดหน้าต่างบราวเซอร์ ลักษณะการจัดวาง รูปแบบการแสดงผล สำหรับขั้นตอนการกำหนดค่าคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- คลิกแท็บ HTML เพื่อนำเสนอผลงานนามสกุล .html ซึ่งเป็นไฟล์ที่นำไปใช้งานบนอินเทอร์เน็ต
- คลิกเลือกรูปแบบที่ต้องการให้แสดงผลงานบราวเซอร์ จากส่วน Template
- คลิกเลือกกำหนดความกว้างยาวของมูฟวี่ที่ต้องการให้แสดงบนบราวเซอร์ จากส่วนของ
Match Movie ให้แสดงเท่ากับขนาดของมูฟวี่ที่สร้างขึ้นมา
Pixels กำหนดความกว้างความยาวของมูฟวี่เป็นเซล
Percent กำหนดความกว้างความยาวของมูฟวี่เป็นเปอร์เซ็นต์ของหน้าต่างบราวเซอร์
- คลิกให้ปรากฏเครื่องหมายถูกจากส่วนของ Playback เพื่อกำหนดการควบคุมลักษณะในการเล่นแสดงผลมูฟวี่บนบราวเซอร์
Paused at Start ไม่เล่นมูฟวี่จนกว่าจะได้รับคำสั่ง
Display Menu เมื่อคลิกเมาส์ขวาที่มูฟวี่ให้ปรากฏเมนูขึ้นมา
Loop กำหนดให้เล่นต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ ถ้าไม่คลิกเลือกจะทำให้มูฟวี่หยุดเมื่อเล่นถึงเฟรมสุดท้าย
Device Font ในกรณีที่ผู้ชมไม่มีตัวอักษร ให้แทนที่ด้วยตัวอักษรในรูปแบบอื่นแทน
- คลิกกำหนดคุณภาพของภาพที่แสดงผลบนบราวเซอร์ได้ จากส่วนของ Quality ซึ่งหากกำหนดให้ภาพมีคุณภาพสูง จะทำให้ความเร็วในการแสดงผลลดลง
Low คุณภาพของภาพต่ำที่สุด แต่แสดงผลได้เร็วที่สุด
Auto Low แสดงคุณภาพที่มีคุณภาพต่ำเพื่อให้แสดงผลได้เร็วก่อน จากนั้นจึงค่อยปรับให้ภาพมีคุณภาพที่สูงขึ้น
Medium ให้ความสำคัญกับคุณภาพและความเร็วในการแสดงผลเท่าๆ กัน
High คุณภาพของภาพดี แต่หากแสดงภาพเคลื่อนไหวการแสดงผลจะช้าลง
Best คุณภาพของภาพดีที่สุด แต่แสดงผลได้ช้าที่สุด
- คลิกเลือกลักษณะของหน้าต่างมูฟวี่ที่แสดงผลงานบนบราวเซอร์ จากส่วนของ Window Mode โดยสามารถกำหนดใช้ได้กับ Internet Explorer 4 ขึ้นไปเท่านั้น
Window แสดงผลบนหน้าต่างวินโดวส์ในลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ซึ่งสามารถแสดงผลได้เร็วที่สุด
Opaque Windowless สามารถเลือกส่วนที่ซ่อนไว้อยู่ด้านหลังมูฟวี่ได้
Transparent Windowless แสดงผลโดยให้พื้นหลังของมูฟวี่มีลักษณะโปร่งใส
- คลิกเลือกลักษณะตำแหน่งของมูฟวี่เมื่อแสดงผลบนขึ้นมาบราวเซอร์ จากส่วน HTML Alignment
Default ปรากฏมูฟวี่ขึ้นมาตรงกลางของหน้าต่างบราวเซอร์
Left ปรากฏมูฟวี่ขึ้นมาชิดด้านซ้ายของหน้าต่างบราวเซอร์
Right ปรากฏมูฟวี่ขึ้นมาชิดด้านขวาของหน้าต่างบราวเซอร์
Top ปรากฏมูฟวี่ขึ้นมาชิดด้านบนของหน้าต่างบราวเซอร์
Bottom ปรากฏมูฟวี่ขึ้นมาชิดด้านล่างของหน้าต่างบราวเซอร์
- เมื่อพื้นที่ของมูฟวี่มีขนาดไม่เท่ากับพื้นที่ของหน้าต่างบราวเซอร์ ให้คลิกเลือกสัดส่วนของมูฟวี่ที่ต้องการได้จากส่วนของ Scale
Default แสดงมูฟวี่ทั้งหมดโดยคงสัดส่วนเดิมไว้
No Border แสดงมูฟวี่ทั้งหมดโดยคงสัดส่วนเดิมไว้ แต่จะไม่ปรากฏเส้นขอบขึ้นมา
Exact Fit แสดงมูฟวี่บนพื้นที่ที่กำหนดไวโดยไม่คำนึงถึงสัดส่วนเดิม
No Scale แสดงตามขนาดหน้าต่างโดยไม่มีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนใดๆ ไปจากเดิม
- คลิกเลือกลักษณะการจัดวางมูฟวี่จากส่วนของ Flash Alignment
Horizontal แสดงมูฟวี่ตามแนวนอน
Vertical แสดงมูฟวี่ตามแนวตั้ง
- คลิกให้ปรากฏเครื่องหมายถูกจากส่วนของ Show Warning Messages เพื่อกำหนดให้แสดงข้อความเตือนเมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น
- คลิกปุ่ม เพื่อจัดตั้งส่งออกผลงานตามค่าที่กำหนดไว้
เมื่อต้องการนำเสนอผลงานในลักษณะเป็นแอนิเมชันคือ มีการเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ การนำเสนอผลงานในรูปแบบ GIF เป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากสามารถกำหนดจำนวนในการแสดงภาพเคลื่อนไหวได้ กำหนดความโปร่งใสในการแสดงผล ให้แสดงค่าสีที่ใกล้เคียงขึ้นมาแทนได้ ฯลฯ สำหรับขั้นตอนการกำหนดค่าคุณสมบัติมีดังต่อไปนี้
- คลิกแท็บ GIF เพื่อนำเสนอผลงานนามสกุล .gif ซึ่งเป็นไฟล์ภาพเคลื่อนไหว
- กำหนดขนาดความกว้างยาวของภาพ จากส่วนของ Dimensions
- คลิกเลือกรูปแบบของผลงานที่ได้จากส่วนของ Playback
- คลิกให้ปรากฏเครื่องหมายถูกจากส่วนของ Options เพื่อกำหนดค่าคุณสมบัติที่ต้องการ
- คลิกเลือกความโปร่งใสของพื้นหลัง
- คลิกเลือกการแสดงค่าสีที่ใกล้เคียงแทนสีที่ไม่มี จากส่วนของ Dither
- คลิกเลือกชนิดของสีที่ใช้งาน จากส่วนของ Palette Type
- กำหนดจำนวนสีสูงสุดที่ใช้งาน จากส่วนของ Max Colors
- เมื่อคลิกเลือกชนิดของสีเป็น Custom จะปรากฏ Palette ขึ้นมาเพื่อให้คลิกนำตารางสีที่ต้องการเข้ามาใช้งาน
- คลิกปุ่ม เพื่อจัดตั้งส่งออกผลงานตามค่าที่กำหนดไว้
หากไฟล์ภาพที่มีจำนวนค่าสีมากๆ การนำเสนอผลงานในรูปแบบ JPEG เป็นรูปแบบที่รองรับกับการทำงาน ดังกล่าวช่วยให้สามารถกำหนดคุณภาพของภาพได้ตามต้องการ โดยหากกำหนดให้ภาพมีคุณภาพที่สูง ไฟล์ที่ได้ก็จะมีขนาดใหญ่มากยิ่งขึ้น สำหรับขั้นตอนการกำหนดค่าคุณสมบัติมีดังต่อไปนี้
- คลิกแท็บ JPEG เพื่อนำเสนอผลงานนามสกุล .jpg ซึ่งเหมาะสำหรับภาพที่มีจำนวนสีมากๆ
- กำหนดขนาดความกว้างยาวของภาพ จากส่วนของ Dimensions
- ดรากส์เมาส์กำหนดคุณภาพของภาพที่ได้ จากส่วนของ Quality โดยหากกำหนดค่าตัวเลขมาก ภาพจะมีคุณภาพสูง และไฟล์ที่ได้จะมีขนาดใหญ่
- คลิกให้ปรากฏเครื่องหมายถูกที่ Progressive ไฟล์ภาพที่ได้จะค่อยๆ ถูกดาวน์โหลดขึ้นมาเมื่อแสดงผลบนบราวเซอร์
- คลิกปุ่ม เพื่อจัดตั้งส่งออกผลงานตามค่าที่กำหนดไว้
การนำเสนอผลงานในรูปแบบ PNG เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการให้มีความโปร่งใสหรือความโปร่งแสงเกิดขึ้นโดยสามารถกำหนดค่าความละเอียดยิ่งขึ้น เลือกรูปแบบชนิดของสีที่ใช้งานได้ สำหรับขั้นตอนการกำหนดค่าคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- คลิกแท็บ PNG เพื่อนำเสนอผลงานนามสกุล .png ซึ่งเหมาะสำหรับภาพที่ต้องการให้มีความโปร่งใส
- กำหนดขนาดความกว้างยาวของภาพ จากส่วนของ Dimensions
- คลิกเลือกค่าความละเอียดของสีที่ปรากฏบนภาพเป็นจำนวนบิตต่อพิกเซล จากส่วนของ
8-bit แสดงภาพ 8 บิต ใช้ค่าสี 256 สี
24-bit แสดงภาพ 24 บิต
24-bit with Alpha แสดงภาพพร้อมค่าโปร่งใส 24 บิต
- คลิกให้ปรากฏเครื่องหมายถูกจากส่วนของ Options เพื่อกำหนดค่าคุณสมบัติที่ต้องการ
Optimize Colors ลบสีที่ไม่ได้ใช้ออกจากตารางสีของ GIF เพื่อช่วยลดขนาดของไฟล์
Dither Solids ให้แสดงสีที่ใกล้เคียง ในกรณีไม่มีสีที่ต้องการ
Interlace แสดงภาพพื้นก่อนที่ไฟล์ทั้งหมดจะถูกดาวน์โหลด ซึ่งจะทำให้มีลักษณะเหมือนภาพค่อยๆ ปรากฏขึ้นมา
Remove Gradients ลบการไล่เฉดสีทั้งหมดให้แสดงเป็นสีธรรมดา
Smooth ให้ภาพมีความราบเรียบละเอียดมากยิ่งขึ้น
- คลิกเลือกการแสดงค่าสีที่ใกล้เคียงแทนสีที่ไม่มี จากส่วนของ Dither
None ไม่แสดงค่าสีที่ใกล้เคียงใดๆ ขึ้นมาให้
Ordered ภาพที่แสดงจะมีคุณภาพพอใช้ และไม่สิ้นเปลืองหน่วยความจำ
Diffusion ภาพที่แสดงจะมีคุณภาพดี แต่สิ้นเปลืองหน่วยความจำ
- คลิกเลือกชนิดของสีที่ใช้งาน จากส่วน Palette Type
Web 216 ใช้สีมาตรฐานบนเว็บ 216 สี
Adaptive วิเคราะห์และสร้างตารางสีขึ้นมาใหม่
Web Snap Adaptive วิเคราะห์และสร้างตารางสีขึ้นมาใหม่ โดยเปรียบเทียบจาก Web 216
Custom สร้างตารางสีขึ้นมาใช้งานเอง
- กำหนดจำนวนสีสูงสุดที่ใช้งาน จากส่วนของ Max Colors
- เมื่อคลิกเลือกชนิดของสีเป็น Custom จะปรากฏ Palette ขึ้นมาเพื่อให้คลิกนำตารางสีที่ต้องการเข้ามาใช้งาน
- คลิกเลือกลักษณะวิธีการกรอง จากส่วนของ Filter Options สำหรับการกรองนี้จะมีประโยชน์ในการบีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กลง และสามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- คลิกปุ่ม เพื่อจัดส่งออกผลงานตามค่าที่กำหนดไว้
วิธีการ Export เพื่อนำเสนอส่งออกผลงานแตกต่างจากวิธีการ Publish คือ การ Export จะไม่
สามารถแก้ไขค่าคุณสมบัติต่างๆ ได้ และสามารถ Export ได้เพียงครั้งละ 1 รูปแบบ เช่น GIF, JPEG, PNG, BMP, PICT ,QuickTime AVI เท่านั้น แต่การ Export จะมีรูปแบบไฟล์ที่ให้เลือกใช้งานเป็นจำนวนมากกว่าการ Publish
การ Export สามารถทำได้ 2 รูปแบบ คือ การ Export Movie และการ Export Image สำหรับข้อ
แตกต่างระหว่างทั้ง 2 รูปแบบ คือ ไฟล์ที่ได้การ Export Movie จะเป็นภาพเคลื่อนไหว แต่ไฟล์ที่ได้จากการ Export Image จะเป็นภาพนิ่ง แต่หากมีผลงานที่เป็นภาพเคลื่อนไหวและไปทำการ Export Image ไฟล์ที่ได้จะเป็นภาพนิ่งต่อเนื่องกันหลายๆ ไฟล์ขึ้นมา
ขั้นตอนการ Export ผลงานในรูปแบบ Movie
เมื่อสั่งคำสั่ง Export Movie จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Export Movie ซึ่งมีรูปแบบไฟล์ในการส่งออกที่เป็นภาพเคลื่อนไหวและไฟล์ในรูปแบบอื่นๆ ขึ้นมาให้เลือกใช้มากมายหลากหลายไฟล์ เช่น WAV ซึ่งเป็นไฟล์เสียง AVI เป็นไฟล์มูฟวี่สำหรับวินโดวส์ เป็นต้น สำหรับขั้นตอนการกำหนดค่าคุณสมบัติมีดังต่อไปนี้
- คลิกเมนู File เลือก Export แล้วคลิกเลือกคำสั่ง Export Movie จากนั้นจะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Export Movie ขึ้นมา
- คลิกเลือกรูปแบบไฟล์ที่ต้องการส่งออกผลงาน จากช่อง Save as Type
- คลิกปุ่ม เพื่อจัดตั้งส่งออกผลงานในรูปแบบต่างๆ ตามที่กำหนดไว้
ขั้นตอนการ Export ผลงานในรูปแบบ Image
คำสั่ง Export Image ผลงานที่ได้จะเป็นไฟล์ภาพนิ่ง และสำหรับการ Export Image ไฟล์ที่ได้จะมีรูปแบบให้เลือก ใช้งานน้อยกว่าการ Export Movie แต่หากมีการนำภาพเคลื่อนไหวที่สร้างขึ้นมาสั่ง Export Movie ไฟล์ที่ได้จะเป็นภาพนิ่ง เรียงต่อกันขึ้นมาเป็นจำนวนมากมาย สำหรับขั้นตอนการกำหนดค่าคุณสมบัติมีดังต่อไปนี้
- คลิกเมนู File เลือก Export แล้วเลือกคำสั่ง Export Image จากนั้นจะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Export Image ขึ้นมา
- คลิกเลือกรูปแบบไฟล์ที่ต้องการส่งออกผลงาน จากช่อง Save as type
- คลิกปุ่ม เพื่อจัดตั้งส่งออกผลงานในรูปแบบต่างๆ ตามที่กำหนดไว้
- ทำการตั้งค่าการสร้างไฟล์ตามต้องการด้วยคำสั่ง File > Publish Settings
- เลือกคำสั่ง File > Publish Preview แล้วเลือกชนิดของไฟล์ที่จะดูผล
โปรแกรมจะทำการสร้างไฟล์ชนิดนั้นขึ้นในโฟลเดอร์เดียวกับไฟล์ชิ้นงานของ Flash (.fla) นั้นเพื่อแสดงผล
|