เมื่อเราใส่ข้อมูลต่างๆในเวิร์กชีตหลัก เราสามารถจัดรูปแบบของข้อมูลให้มีความสวยงามได้ตามรูปแบบต่างๆ โดยวิธีการปรับแต่งข้อมูลจะสามารถปรับแต่งจาก เครื่องมือจัดรูปแบบทางข้อมูล และเครื่องมือ Mini Toolbar ด้วยรายละเอียดต่อไปนี้ แท็บ HOME จะรวมเครื่องมือที่ใช้ในการจัดรูปแบบข้อมูลแทบจะทั้งหมดเอาไว้ครบ ทั้งแบบอักษร, จัดตำแหน่ง, ตัวเลข และลักษณะ รวมทั้งคำสั่งที่ใช้จัดการเซลล์ เครื่องมือ Mini Toolbar จัดตำแหน่งแนวนอน (ตามความกว้างของเซลล์) เนื้อหาในเซลล์โดยปกติจะแสดงตามประเภทของข้อมูลที่ป้อนลงไป แต่คุณสามารถจัดตำแหน่งใหม่ได้ตามความเหมาะสม โดยใช้คำสั่งในกลุ่ม Alignment บนแท็บ HOME เช่น จัดชิดซ้าย, กลาง และขวา จัดตำแหน่งแนวตั้งตามความสูงของแถว การจัดตำแหน่งตามข้อความในเซลล์ตามความสูงของแถวจะจัดได้ 3 ตำแหน่ง คือ Top (บน), Middle (กลาง) และ Bottom (ล่าง) ใน 1 เซลล์เราสามารถป้อนข้อมูลได้จำนวนมากก็จริง แต่ลักษณะการเก็บข้อมูลของ Excel ที่เป็นลักษระตารางหัวข้อไม่ยาวมาก จึงไม่นิยมพิมพ์อะไรยาวๆใน 1 เซลล์ เพราะถ้าเซลล์อื่นเนื้อหาน้อยก็จะเปลืองพื้นที่ไปเปล่าประโยชน์ และข้อความที่ยาวก็จะบังเซลล์ข้างๆด้วย หากเป็นข้อความกับเรื่องยาวๆ ก็ใช้วิธีรวมเซลล์ให้เป็นเซลล์ขนาดใหญ่ได้ ดังนี้ รูปแบบตัวเลขคอมม่าและทศนิยมให้กับตัวเลขจะเลือกจากปุ่มรูปแบบดังนี้ การใส่สีพื้นเซลล์เพื่อเน้นหัวรายการและแยกรายการข้อมูลออกจากกัน ทำให้อ่านข้อมูลได้ชัดเจนขึ้น หรือนำมาตกแต่งข้อมูลให้มีสีสันสวยงามเพื่อนำเสนอได้อย่างน่าสนใจ โดยใช้คำสั่ง Fill เติมสีพื้นเซลล์ได้ดังนี้ การจัดรูปแบบวันที่จะเลือกได้จากปุ่ม Format Number โดยมีให้เลือก 2 แบบ คือ Shot Date วันที่แบบสั้น และ Long Date วันที่แบบยาว แต่ถ้าคุณต้องการเลือกรูปแบบวันที่และเวลาแบบอื่นๆ เช่น วันที่ – เดือน – ปี แบบไหนก็เข้าไปที่คำสั่ง Format Cells แล้วตั้งค่าได้ ดังนี้ การจัดรูปแบบตัวอักษร หรือข้อความใน Excel จะใช้คำสั่งเหมือนการจัดรูปแบบในเอกสารด้วย โปรแกรมต่างๆในชุด Office แต่จะต่างที่การเลือกพื้นที่เซลล์เท่านั้นเอง หากต้องการเปลี่ยนขอบเขตการแสดงเนื้อหาแต่ละเซลล์ให้ชัดเจนในแต่ละเซลล์ให้ชัดเจนในแต่ละรายการหรือแต่ละหัวข้อ อาจจัดรูปแบบด้วยเส้นขอบเซลล์ได้โดยจะเลือกจากปุ่ม Border ซึ่งจะมีเส้นขอบให้นำมาใช้กับเซลล์แต่ละด้าน เช่น เส้นขอบบน (Top Border), เส้นขอบล่างเซลล์ (Bottom Border) หรือจะใส่เส้นของเซลล์ทุกด้านก็เลือกเป็น All Border ได้ วาดเส้นขอบเอง (Draw Table)
ลบ/ยกเลิกเส้นขอบ การลบข้อมูลในเซลล์ที่เก็บอยู่ในชีตของ Excel จะลบได้เหมือนการลบข้อมูลทั่วไปคือ เลือกเซลล์ข้อมูลแล้วกดปุ่ม Delete แต่ว่ารูปแบบต่างๆ ที่ได้ใช้จัดข้อมูลนั้นจะไม่ถูกลบไปด้วย เช่น ขนาดตัวอักษร, สี, เส้น, ตัวเลข, ทศนิยม, รูปแบบวันที่ และเวลารวมถึงสีพื้นเซลล์ด้วย หากคุณต้องการลบข้อมูลบางอย่างก็เลือกใช้คำสั่งจากปุ่ม Clear แล้วเลือกการลบสิ่งที่ต้องการได้ ดังนี้ - ลบทั้งหมด ลบหมดทุกอย่าง Cell Style (ลักษณะเซลล์) เรียกสั้นๆ ว่า “สไตล์” คือ รูปแบบสำเร็จรูปที่รวมเอาการจัดรูปแบบต่างๆ เช่น แบบอักษรและขนาด รูปแบบตัวเลข เส้นขอบเซลล์ สีพื้นเซลล์มาตั้งเป็นชื่อต่างๆ เริ่มต้นจะเป็นสไตล์ที่โปรแกรมสร้างไว้ให้แต่คุณสามารถสร้างสไตล์เก็บรูปแบบที่คุณชอบใช้งานบ่อยๆ มาเก็บเพิ่มได้เพื่อนำมาใช้งานซ้ำได้ สไตล์ที่โปรแกรมมีให้จะแบ่งรูปแบบออกเป็นกลุ่มตามลักษณะงานหรือข้อมูล เช่น Title and Headings ใช้กับข้อความประเภทหัวเรื่อง หรือ Themed Cell Styles สไตล์ที่เข้าชุดกับสีของชุดธีมที่ใช้ในเอกสาร การย่อ / ในการทำงานของสมุดงาน เราสามารถย่อ / ขยาย มุมมองสมุดงาน เพื่อแสดงข้อมูลได้อย่างเหมาะสม โดยใน Office 2013 เราสามารถย่อ / ขยาย สมุดงาน ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ดังรายละเอียดต่อไปนี้ วิธีที่ 1 การย่อ / ขยายโดยการใช้แถบเมนู เมื่อทำการคลิกปุ่มย่อ/ขยายเรียบร้อยแล้วโปรแกรม Microsoft Excel จะปรากฏ ไดอะล็อคบ็อกซ์ดังรูปภาพ เมื่อทำการเลือกขนาดที่ต้องการได้แล้วนั้นโปรแกรม Microsoft Excel 2013 จะทำการย่อขนาดที่ต้องการได้ดังรูปภาพ วิธีที่ 2 การ ย่อ / ขยาย สมุดงานโดยการใช้แถบ Slide บน Status bar
บางครั้งเราอาจป้อนข้อมูลลงผิดเซลล์ เราจำเป็นที่จะต้องแก้ไขข้อมูลที่ป้อนผิดเซลล์แต่เราไม่จำเป็นที่จะต้องทำการแก้ไขข้อมูลโดยการล้างข้อมูลและพิมพ์ลงไปใหม่ เราสามารถทำการ แก้ไขข้อมูลได้โดยการเคลื่อนย้ายตำแหน่งข้อมูล วิธีที่ 1 การย้ายข้อมูลโดยการลากเมาส์
เมื่อทำการปล่อยเมาส์โปรแกรม Microsoft Excel จะทำการย้ายข้อมูลให้ดังรูปภาพ ในกรณีที่ย้ายไปแทรกยังส่วนที่มีข้อมูลอยู่แล้ว ให้กดปุ่ม Shift ค้างไว้ในขณะที่ลาก วิธีที่ 2 การย้ายข้อมูลโดยการใช้คำสั่งจากแถบเมนู
เมื่อสิ้นสุดคำสั่งโปรแกรม Microsoft Excel จะทำการย้ายข้อมูลไปยังเซลล์ที่เราต้องการ หากต้องการป้อนข้อมูลเดียวกันลงในเซลล์หลายเซลล์ภายในสมุดงาน แทนที่จะต้องป้อนข้อมูลลงไปใหม่หรือป้อนข้อมูลเดียวกันหลาย ๆ ครั้ง ผู้เรียนสามารถทำการคัดลอกได้ซึ่งจะเป็นการง่ายกว่า วิธีที่ 1 การคัดลอกโดยใช้แถบ Ribbon
วิธีที่ 2 การคัดลอกโดยการใช้แป้นคีย์บอร์ด (ปุ่ม Ctrl) การยกเลิกการแสดงเส้นแบ่งหน้าและกลับสู่มุมมองปกติ |