<< Go Back

แบบทดสอบปลายภาค

1. ข้อใดคือการเตรียมตัวที่ถูกต้องที่สุดก่อนลงมือสร้างชิ้นงาน
  1. สวมแว่นตา ผ้าปิดจมูก และถุงมือ
  2.  ออกกำลัง สวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด
  3. แต่งตัวตามสบาย
  4. โปรแกรมนำเสนอชิ้นงาน
 

2. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับเลื่อยฉลุ

              

  1. ใช้สำหรับตัดไม้ทั่วไป
  2. ใช้สำหรับตัดแต่งกิ่งไม้ทั่วไปที่มีขนาดใหญ่
  3. ใช้สำหรับบากปากไม้เพื่อทำเดือยไม้
  4. ใช้สำหรับฉลุลวดลายที่ต้องการความประณีต
 
3. การทดสอบที่ 1 ระยะบีบอัดที่ทำได้จริงนั้น ปัญหาที่พบคือข้อใด
  1. พลาสติกบางส่วนหลุดลอดออกมาทางช่องว่างของแผ่นหน้าสัมผัส
  2. ถังขยะมีขนาดเล็กเกินไป
  3. รอยต่อระหว่างอุปกรณ์บีบอัดหลุดขณะทดลอง
  4.  แรงบีบอัดไม่มากพอทำให้ถูกดันขึ้น
 
4. การทดลองที่ 2 ประสิทธิภาพของอุปกรณ์บีบอัดขยะที่สร้างขึ้นนั้นปัญหาที่พบระหว่างการทดสอบ คือข้อใด
  1.ด้ามจับหักขณะทดสอบ
  2. ที่จับยึดหลุดจากขอบถัง
  3. กดอุปกรณ์ไม่ลงขณะบีบอัดขยะ
  4. อุปกรณ์ส่วนหน้าชำรุดขณะบีบอัด
 
5. นักเรียนคนใดปฏิบัติถูกต้องเกี่ยวกับการลดถุงพลาสติกในโรงเรียน
  1.  แรม นำถุงกระดาษจากบ้านมาใช้แทนการซื้อในโรงเรียน
  2.  แหลม เลือกใช้ถุงพลาสติกให้เหมาะกับสิ่งของ
  3.  จันทร์ พับถุงกระดาษใช้แทนถุงพลาสติก
  4. หนิง ซื้อของจากบ้านมาโรงเรียน
 
6. ข้อใดคือ โปรแกรมที่สามารถออกแบบแผ่นโปสเตอร์ได้
  1. Notepad
  2. SketchUp
  3. Nero
  4. Adobe Photoshop
   

7. การทดสอบ Rockwell Hardness test คือ การทดสอบสิ่งใด

  1. การทดสอบความแข็งของเหล็ก
  2. การทดสอบไม้อัด
  3. การทดสอบความคมของใบมีดก่อนลงมือปฏิบัติงาน
  4. การทดสอบประสิทธิภาพของชิ้นงาน
 

8. ข้อใดคือจุดประสงค์ของการนำเสนอ

  1. ถกข้อปัญหาเกี่ยวกับชิ้นงาน
  2. นักเรียนในกลุ่มเข้าใจงานและสร้างแบบจำลองได้ถูกต้อง
  3. นำเสนอขั้นตอนการแก้ปัญหา รวบรวมข้อมูล ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา
  4. ออกแบบชิ้นงานให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของงาน
 
9. ข้อใดไม่ใช่ประเด็นของการนำเสนอผลการดำเนินงาน
  1. กำหนดหัวข้อและขอบเขตในการนำเสนอผลงาน
  2. โปรแกรมที่ใช้นำเสนอ
  3. กำหนดสื่อและรูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอ
  4.  นำเสนอด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
 
10. ข้อใดไม่ใช่โปรแกรมนำเสนอผลงาน
  1. Adobe Illustrator
  2. Microsoft PowerPoint
  3. Prezi
  4. CustomShow
 
11. อินโฟกราฟิก หมายถึงข้อใด
  1. รูปภาพ 3 มิติ ซึ่งแตกต่างจากรูปภาพทั่วไป เพราะปกติเราจะเห็นเพียง 2 มิติ
  2. ศิลปะแบบหนึ่งที่แสดงออกถึงความคิดอ่านและอารมณ์โดยใช้เส้น รูปภาพ ภาพเขียนหยาบๆ
  3. การนำข้อมูลหรือความรู้มาสรุปเป็นสารสนเทศ ในลักษณะของข้อมูลและกราฟิกที่อาจเป็นลายเส้น สัญลักษณ์กราฟ แผนภูมิไดอะแกรม เป็นต้น
  4. การใช้กล้องถ่ายภาพ วัสดุไวแสงสำหรับบันทึกภาพ และมีกระบวนการในการขยายภาพหรือการพิมพ์ภาพออกมา
 
12. ข้อใดคือส่วนหนึ่งของบทสรุปในบทเรียนนี้
  1. การวางแผนก่อนการลงมือปฏิบัติงานโดยระบุขั้นตอนการทำงานและระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนจะช่วยลดข้อผิดพลาดของการทำงาน
  2. การจัดรวมกลุ่มของ งาน หรือ โครงการ หรืออาจกล่าวว่า แผนงาน
  3. การจัดการการดำเนินงานอยู่ในขอบเขตการจัดการที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและควบคุมกระบวนการผลิตและการออกแบบ
  4. วิธีการหรือเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารด้วยการถ่ายทอดข้อมูลและแผนงาน
 
13. ข้อใดกล่าวถึง เทคโนโลยี ได้ถูกต้องที่สุด
  1. สิ่งที่จะเกิดขึ้นในเวลาหลังจากปัจจุบัน การมาถึงของอนาคตเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะเวลาและกฎของฟิสิกส์
  2.  เทคนิควิธี ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์และการให้บริการ หรือเพื่อนำไปใช้ให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
  3. ความว่างเปล่าที่มีอยู่ระหว่างวัตถุท้องฟ้า รวมถึงโลก อวกาศมิได้ว่างเปล่าอย่างสิ้นเชิง
  4. กระบวนการค้นคว้าหาความรู้อย่าง มีขั้นตอน มีระเบียบแบบแผน โดยมีเหตุผล และหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ตามหลักวิชาการได้
 

14. ข้อใดอธิบายการกำจัดขยะมูลฝอยแบบฝังกลบตามหลักสุขาภิบาลได้ถูกต้องที่สุด

  1. คือการนำขยะมูลฝอยมาเทกองในพื้นที่ซึ่งจัดเตรียมไว้ จากนั้นใช้เครื่องจักรกลเกลี่ยและบดให้ยุบตัวลง
  2.  การมีเครื่องบีบอัดขยะที่มีขนาดใหญ่พอสำหรับชุมชน
  3. ความร่วมมือของคนในชุมชนในการลดการใช้ถุงพลาสติก
  4. ใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยในการผลิตพลังงานไฟฟ้า
 
15. ข้อใดคือประโยชน์จากขยะอินทรีย์
  1.  มีค่าดำเนินการดูแลระบบสูง
  2.  ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ
  3.  ผลิตพลังงาน
  4.  ผลิตปุ๋ยหมัก
 
16. เมื่อพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการจัดการขยะมูลฝอยแบบฝังกลบ ควรกำจัดขยะด้วยวิธีใด
  1. เตาเผาเพื่อผลิตพลังงาน
  2.  เตาเผาในชุมชน
  3. เทกลางแจ้ง
  4. ไม่มีข้อใดถูก
 
17. “สามารถกำจัดขยะมูลฝอยได้ทุกประเภทยกเว้นขยะพิษ และขยะติดเชื้อ” หมายถึง เทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยในข้อใด
  1. เทกลางแจ้ง
  2.  เตาเผาในชุมชน
  3. หมักทำปุ๋ย
  4. ฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
 
18. “เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ ดิน อากาศ และทัศนียภาพ” หมายถึงเทคโนโลยีการจัดการขยะในข้อใด
  1. เทกลางแจ้ง
  2.  เตาเผาในชุมชน
  3. หมักทำปุ๋ย
  4. ฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
 

19. ข้อใดไม่ใช่กระบวนการทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ

  1. เทปุ๋ยคอกและแกลบดำลงบนบ่อหมัก
  2.  รดหัวเชื้อชีวภาพและกากน้ำตาลลงบนขยะ
  3. ตัดหรือสับขยะให้มีขนาดใหญ่
  4. นำขยะที่ตัดแล้วมาคลุกกับปุ๋ยคอก
 

20. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยในการเลือกใช้เทคโนโลยีกำจัดขยะมูลฝอย

  1. ลักษณะของขยะมูลฝอย
  2.  ระยะเวลาจัดเก็บขยะ
  3. สถานที่ในการจัดการขยะ
  4. ค่าใช้จ่ายในการลงทุน
 
21. อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่เป็นที่ต้องการ ล้าสมัย หมดอายุการใช้งานหรือไม่ต้องการใช้งานอีกต่อไป
  1. ขยะอินทรีย์
  2.  ขยะพลาสติก
  3. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  4. ขยะอิเล็กทรอนิกส์
 
22. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้เทคโนโลยีการควบคุมมลพิษทางอากาศ
  1. วัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ
  2.  ชนิดและปริมาณของมลพิษทางอากาศ
  3. ลักษณะการเกิดของแหล่งกำเนิดอากาศเสีย
  4. ค่าใช้จ่ายในการลงทุนสร้างระบบ
 
23. การคาดการณ์เทคโนโลยีการควบคุมมลพิษทางอากาศ ข้อใดคือ ปัจจัยหรือสาเหตุที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านความก้าวหน้าของศาสตร์ต่าง ๆ เรื่อง การคาดการณ์เทคโนโลยี
  1. พัฒนาเทคโนโลยีการควบคุมมลพิษทางอากาศให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
  2.  พัฒนาเครื่องควบคุมมลพิษทางอากาศที่มีประสิทธิภาพ
  3. เทคโนโลยีที่สามารถกำจัดสารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยง่าย
  4. วิธีการบริหารจัดการให้ทุกโรงงาน อุตสาหกรรมติดตั้งระบบควบคุมมลพิษทางอากาศ
 
24. การคาดการณ์เทคโนโลยีอุปกรณ์บีบอัดขยะ ข้อใดคือ ปัจจัยหรือสาเหตุที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้าน สิ่งแวดล้อม เรื่อง การคาดการณ์เทคโนโลยี
  1. สร้างอุปกรณ์บีบอัดขนาดใหญ่ขึ้นและสามารถใช้ในการบีบอัดขยะมูลฝอยประเภทต่าง ๆ ได้
  2.  ใช้ระบบเพลาและระบบการบีบอัดในการสร้างเพื่อให้ใช้แรงในการบีบอัดขยะมูลฝอย
  3. เพิ่มปริมาณการผลิตอุปกรณ์บีบอัด
  4. อุปกรณ์บีบอัดขยะที่ไม่ต้องใช้แรงคนในการบีบอัด
 
25. ข้อใดคือส่วนหนึ่งของบทสรุปในบทเรียนนี้
  1. อากาศเป็นของผสมที่มีลักษณะเป็นเนื้อเดียว ประกอบด้วยแก๊สชนิดต่าง ๆ และไอน้ำ
  2. การคาดการณ์เทคโนโลยีการควบคุมมลพิษทางอากาศ
  3. การคาดการณ์เทคโนโลยีการควบคุมมลพิษทางการจัดการขยะ
  4. การคาดการณ์เทคโนโลยีในอนาคต จะต้องคาดการณ์บนฐานความรู้ที่น่าเชื่อถือ และความเป็นไปได้
 

 

<< Go Back