<< Go Back

1.1 ประวัติความเป็นมาของ AI

         1.1.1 ความหมายของ AI
     AI (Artificial intelligence) คือ เทคโนโลยีที่สามารถประมวลผลข้อมูลอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากข้อมูล (Machine Learning) เพื่อสร้างโมเดลที่สามารถทำนายผลลัพธ์จากข้อมูลต้นฉบับได้อย่างแม่นยำ โดยใช้วิธีการประมวลผลทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
         1.1.2 ประเภทของ Artificial intelligence (AI)

           1. Machine Learning (ML) โมเดลทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถเรียนรู้ และปรับปรุงความแม่นยำได้ด้วยตนเองจากข้อมูลที่มนุษย์ใส่ข้อมูล
           2. Deep Learning รูปแบบของ AI ที่ใช้โครงข่ายประสาทเทียม (Neural Network) เพื่อเรียนรู้ และสร้างโมเดลการจำแนกหรือการทำนายที่มีความซับซ้อน
           3. Natural Language Processing (NLP) การประมวลผลภาษาของมนุษย์ เพื่อเข้าใจความหมาย และแปลความหมายเป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้
           4. Robotics ระบบ AI ที่ใช้ในการสร้างหุ่นยนต์เพื่อทำงานต่างๆ เช่น งานอุตสาหกรรม การแพทย์ และการบริการ
           5. Computer Vision การประมวลผลภาพและวิดีโอเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ แยกแยะวัตถุ รูปร่าง และคุณสมบัติต่าง ๆ ของภาพนั้น
         1.1.3 ประวัติความเป็นมาปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)
เริ่มมีการกล่าวถึงมาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ในตอนนั้นสาขาของ AI เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อแนวคิดที่ว่า เราสามารถสร้างเครื่องจักรเพื่อเลียนแบบหรือจำลองการทำงานของมนุษย์ได้ แนวคิดของการสร้างสิ่งมีชีวิตเทียมที่มีความสามารถเหมือนมนุษย์มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ การพัฒนาสมัยใหม่ของ AI เริ่มต้นด้วยแนวคิดหลักและความก้าวหน้าในทศวรรษที่ 1940 และ 1950
กำเนิดคำว่า “ปัญญาประดิษฐ์ (AI)W ได้รับการบัญญัติศัพท์โดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ John McCarthy ในปี 1956 ที่การประชุม Dartmouth Conference ซึ่งได้รวบรวมกลุ่มนักวิจัยเพื่อสำรวจความเป็นไปได้ในการสร้างเครื่องจักรอัจฉริยะ เหตุการณ์นี้มักถูกมองว่าเป็นจุดกำเนิดของ AI เป็นสาขาการศึกษาที่แตกต่างกัน
- ยุคในช่วงต้นของงานปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระหว่างช่วงปลายทศวรรษ 1940 และต้นทศวรรษ 1950 นักวิจัย เช่น Alan Turing, Norbert Wiener และ Claude Shannon ได้มีส่วนร่วมอย่างมากในรากฐานทางทฤษฎีของ AI Alan Turing เสนอแนวคิดของ "universal machine" ที่สามารถทำการคำนวณใด ๆ ก็ได้ ซึ่งเป็นการวางรากฐานสำหรับการคิดเกี่ยวกับเครื่องจักรอัจฉริยะ (intelligent machines)
- ยุคลอจิกและสัญลักษณ์ AI (Logic and Symbolic AI:) ในช่วงปี 1950 และ 1960 การวิจัย AI มุ่งเน้นที่การใช้ตรรกะและการแสดงสัญลักษณ์ เพื่อสร้างระบบอัจฉริยะ นักวิจัยพัฒนาภาษาที่เป็นทางการและวิธีการที่ใช้ตรรกะ เพื่อแสดงความรู้และปฏิบัติงานด้านเหตุผล แนวทางนี้เรียกว่า AI เชิงสัญลักษณ์ มีเป้าหมายเพื่อเลียนแบบกระบวนการคิดของมนุษย์โดยใช้กฎและสัญลักษณ์เชิงตรรกะ
- ยุคการเพิ่มขึ้นของแมชชีนเลิร์นนิง (Machine Learning) ในช่วงปี 1950 และ 1960 นักวิจัยเริ่มสำรวจแนวคิดของ Machine Learning ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาอัลกอริทึม (algorithms) และโมเดล (models) ที่สามารถเรียนรู้จากข้อมูลและปรับปรุงประสิทธิภาพเมื่อเวลาผ่านไป งานแรกในพื้นที่นี้รวมถึงการพัฒนา perceptrons โดย Frank Rosenblatt และแนวคิดของการเรียนรู้การเสริมแรงโดย Arthur Samuel
กำเนิด “แชทบอท” ปี 1964 เทคโนโลยีหุ่นยนต์โต้ตอบการสนทนาหรือแชทบอท ถูกศึกษาและพัฒนาโดยศาสตราจารย์โจเซฟ ไวเซนบวม โปรแกรมเอลิซ่า ซึ่งใช้หลักการเลือกรูปแบบการตอบบทสนทนา ด้วยหลักภาษาและสถิติ หลังจากนั้นได้มีการพัฒนาระบบมากมายจนถึงระยะหลังมีการใช้การเรียนรู้เชิงลึกและปัญญาประดิษฐ์ หลายคนกล่าวว่า เทคโนโลยีนี้ได้มาถึงจุดที่มนุษย์สามารถนำมาใช้งานได้จริงจึงได้มีความพยายามพัฒนาหุ่นยนต์โต้ตอบการสนทนาขึ้นมากมาย ปัจจุบัน มีบุคคล บริษัทและมหาวิทยาลัยหลายแห่ง พยายามพัฒนาระบบหุ่นยนต์โต้ตอบการสนทนาขึ้น เช่น BotNoi (2017) และ HBot (2017)
ปี 1966 เชกกี้ (Shakey) หุ่นยนต์เคลื่อนที่ตัวแรกของโลกที่มีความคิดเป็นของตัวเอง พัฒนาโดยสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (SRI : Stanford Research Institute) ได้ถือกำเนิดขึ้น เชกกี้มีระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการประมวลผลภาพ และอุปกรณ์ตรวจรู้เป็นเครื่องบอกนำทางในการเคลื่อนที่
- ยุคที่อาศัยความรู้ระบบ (Expert Systems) และผู้เชี่ยวชาญ AI ในช่วงระหว่างปี 1970 และ 1980 การวิจัย AI ได้เปลี่ยนไปสู่การสร้างระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมา เพื่อเลียนแบบความรู้และความสามารถในการตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ในขอบเขตเฉพาะ ระบบเหล่านี้ใช้การให้เหตุผลตามกฎและเทคนิคการแทนความรู้เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนในสาขาต่าง ๆ เช่น การแพทย์ การเงิน และวิศวกรรม
- ยุคโครงข่ายประสาทเทียม (Neural Networks) และการเชื่อมต่อ (Connectionism) โครงข่ายประสาทเทียม ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจาก โครงสร้างและการทำงานของสมองมนุษย์ ได้รับความสนใจอีกครั้งในช่วงปี 1980 และ 1990 นักวิจัยได้พัฒนาอัลกอริทึมและสถาปัตยกรรมที่ช่วยให้โครงข่ายประสาทเทียม สามารถเรียนรู้จากข้อมูลและทำการทำนายหรือจำแนกประเภทได้ การกลับมาของความสนใจในโครงข่ายประสาทเทียมและแนวทางการเชื่อมต่อ ได้นำไปสู่ความก้าวหน้าในการจดจำรูปแบบ การรู้จำเสียงพูด และแอปพลิเคชัน AI อื่น ๆ
มนุษย์พ่าย AI ในปี 1997 ความชาญฉลาดของมนุษย์ถูกท้าทายจากปัญญาประดิษฐ์ โดย แกรี่ กาสปาโรฟ แชมป์หมากรุกโลกชาวรัสเซีย ต้องเสียชัยชนะให้กับสมองกลที่ชื่อ ดีพบลู (Deep Blue) ซึ่งใช้หลักการค้นหาเชิงลึกและฟังก์ชั่นที่ซับซ้อนบนเครื่องคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) และบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) สมองกลรุ่นใหม่นี้ทำให้หุ่นยนต์มีการทำงานที่รวดเร็วมากขึ้น สามารถทำงานได้ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลภายในสมองกลของหุ่นยนต์เอง โดยไม่ต้องอาศัยการตัดสินใจจากมนุษย์
ปี 1999 หุ่นยนต์ได้ถูกพัฒนาความสามารถทางกายภาพและความคิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง บทบาทของหุ่นยนต์ได้เปลี่ยนจากเครื่องจักรกลที่ทำงานได้อย่างแม่นยำในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นหุ่นยนต์ที่มีอารมณ์และความรู้สึก ในปี ค.ศ.1999 (พ.ศ. 2542) หุ่นยนต์สุนัข ไอโบ้ (Aibo) พัฒนาโดยบริษัทโซนี่ (Sony) ประเทศญี่ปุ่น สร้างขึ้นให้มีลักษณะเหมือนสัตว์เลี้ยง มีความรู้สึกตอบสนอง เพื่อให้สามารถเป็นเพื่อนกับมนุษย์ได้
- ยุคการเข้าสู่งานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ยุค 2000 เห็นการปฏิวัติใน AI ซึ่งขับเคลื่อนโดยการเติบโตแบบทวีคูณของความพร้อมใช้งานของข้อมูลและพลังการคำนวณ การเรียนรู้เชิงลึกซึ่งเป็นสาขาย่อยของการเรียนรู้ของเครื่องที่อาศัยเครือข่ายประสาทเทียมที่มีหลายชั้น กลายเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับงานที่ซับซ้อน เช่น การจดจำภาพและการประมวลผลภาษาธรรมชาติ อัลกอริทึมการเรียนรู้เชิงลึกแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่โดดเด่นในด้านต่าง ๆ ซึ่งปูทางไปสู่ความก้าวหน้าที่สำคัญในแอปพลิเคชัน AI
ปี 2002 ROOMBA หุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่สามารถเคลื่อนที่ได้เองและทำความสะอาดบ้าน ซึ่งเป็นครั้งแรกในการผลิตเชิงอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากครั้งแรก
- AI ในยุคปัจจุบันและในศตวรรษที่ 21 ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา AI ได้เห็นความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและการยอมรับอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing) วิทยาการหุ่นยนต์ (robotics) และการเรียนรู้แบบเสริมแรง (reinforcement learning) ช่วยให้เกิดความก้าวหน้าในยานยนต์ไร้คนขับ (autonomous vehicles) ผู้ช่วยเสมือนจริง (virtual assistants) อุปกรณ์สมาร์ทโฮม (smart home device) การวินิจฉัยทางการแพทย์ (medical diagnostics) และอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของข้อมูลขนาดใหญ่ คลาวด์คอมพิวติ้ง (cloud computing) และความก้าวหน้าในฮาร์ดแวร์ เช่น หน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) มีส่วนสนับสนุนการเร่งความเร็วของการวิจัย AI และแอปพลิเคชัน

1.2 แนวคิดและหลักการทำงานของ AI
ระบบ AI ทำงานโดยการรับข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และประมวลผล เพื่อให้ได้ผลตอบกลับมา ไม่ว่าจะผ่านการใช้คำพูด ข้อความ หรือการกระทำต่าง ๆ ผลที่ตอบกลับมาก็อยู่ที่ว่าเราต้องการให้ตอบกลับมาเป็นแบบไหน และเอาผลลัพธ์นั้นมาใช้ประโยชน์ให้ตรงกับจุดประสงค์ของเรา อีกทั้งยังสามารถใช้รูปแบบการทำงานนี้เพื่อคาดการณ์สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อในอนาคตได้ เช่น แชทบอทที่ตอบข้อความอัตโนมัติได้เหมือนกับคนหรือความสามารถในการจดจำภาพ ซึ่งการทำงานของระบบทั้งหมดนั้นต้องถูกเขียนโปรแกรมขึ้นมา โดยการเขียนโปรแกรมของ AI นั้นจะเน้นไปที่ทักษะการรับรู้ต่าง ๆ ดังนี้

- การเรียนรู้ (Learning) โดยจะเน้นไปที่การรับข้อมูล และสร้างกฎสำหรับการเปลี่ยนเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ได้จริง ซึ่งกฎนั้นเรียกว่า อัลกอริทึม (Algorithms) คือ กระบวนการแก้ปัญหาที่อธิบายเป็นขั้นตอนไว้อย่างชัดเจน
- การใช้เหตุผล (Reasoning) เน้นการตัดสินใจเลือกอัลกอริทึมที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
- การแก้ไขข้อผิดพลาด (Self-correction) ในส่วนนี้จะได้รับการออกแบบเพื่อปรับแต่งอัลกอริทึมให้วิเคราะห์ได้อย่างละเอียด เพื่อรับประกันว่าจะได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุด
- การมีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) เป็นส่วนที่ใช้เครือข่ายประสาทเทียม อิงตามกฎ วิธีทางสถิติ และเทคนิคอื่น ๆ เพื่อให้สามารถสร้างภาพใหม่ๆ เพลงใหม่ หรือแนวคิดใหม่ ๆ ได้
จุดประสงค์ของการใช้งาน AI คือ การช่วยให้มนุษย์สามารถตัดสินใจสิ่งที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้น ด้วยข้อมูลที่มาจากการสกัดของ AI สามารถช่วยให้มนุษย์เข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญสามารถช่วยให้มนุษย์ทำงานลดน้อยลง รวมถึงงานไหนที่เสี่ยงต่อความอันตรายต่อชีวิตของมนุษย์ เช่น การก่อสร้างตึก การทำการตลาดด้วย AI หรือ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ ของมนุษย์ AI สามารถช่วยเหลือได้ ในปี 2023 มนุษย์ทั่วโลกได้หันมาใช้ AI มากยิ่งขึ้น โดยอุตสาหกรรมที่มีการพูดถึงและนำ AI มาใช้ คือ การตลาด เนื่องจาก AI สามารถลดความเลื่อมล่ำในการเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้ และช่วยประหยัดเวลาให้มนุษย์มีเวลาในการทำงานอย่างอื่นมากขึ้น ซึ่งการที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในเชิงพาณิชย์นี้ ก็อาจต้องมีการพัฒนา วิจัย เพื่อให้สอดคล้องกับงานที่มนุษย์เลือกให้ AI ทำ

 

1.3 การใช้งาน AI ในชีวิตประจำวัน
       ประโยชน์ของ AI จะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน AI ได้ทำลายขอบเขตของการทำงานและหน้าที่ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้ชีวิตมนุษย์ง่ายขึ้น โดย AI นั้นเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ช่วยอํานวยความสะดวกในการทำงานของเครื่องจักรได้อย่างราบรื่น และทำงานที่คล้ายคลึงกับมนุษย์ได้ จึงสามารถเรียกได้ว่าเป็นการสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่สำหรับการพัฒนา และความคืบหน้าของยุคต่อไป ซึ่งนําไปสู่ระบบอัตโนมัติแบบ end-to-end และการประสานงานของการดําเนินงานที่ซับซ้อนต่าง ๆ ซึ่งสามารถช่วยลดข้อผิดพลาดของมนุษย์
            ปัจจุบันระบบ AI ได้ถูกนำมาใช้ในแวดวงธุรกิจ และอุตสาหกรรมมากมาย หลากหลายประเภท เช่น โรงงาน การผลิต โรงพยาบาล และการให้บริการ รวมไปถึงยังมีการนำ AI ไปใช้งานในการทำงานในแต่ละฟังก์ชันของธุรกิจอีกด้วย ซึ่ง AI เป็นส่วนสำคัญที่ได้เข้ามาช่วยให้การทำงานต่าง ๆ นั้นง่ายขึ้น เรามาดูกันว่าระบบ AI นั้นสามารถช่วยพัฒนาธุรกิจ และอุตสาหกรรมในด้านไหนอย่างไรบ้าง

     การดูแลรักษาความปลอดภัย ปัจจุบันการทำธุรกิจมีขั้นตอนต่าง ๆ มากขึ้น และซับซ้อนตามมาด้วย การป้องกันจึงต้องใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วย เช่น มีการใช้เอกสารปลอมแปลงมาใช้ในการทำธุรกรรมในองค์กร จึงได้มีระบบซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสที่มีเทคโนโลยี AI อยู่เบื้องหลังการทำงาน ด้วยระบบ Machine Learning เลยทำให้ระบบขององค์กรมีความปลอดภัยมากขึ้น หรือการเอา AI เข้ามาช่วยในระบบงานอุตสาหกรรม สำหรับเรื่องรักษาความปลอดภัย มี AI ตรวจจับใบหน้าเพื่อคัดกรองบุคลากรในองค์กร หรือบุคคลแปลกหน้าได้ และการรักษาความปลอดภัย เช่น การตรวจจับและแจ้งเตือน หากพนักงานใส่อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย PPE (Personal Protection Equipment) ไม่ครบหรือไม่เหมาะสมในการทำงานในแต่ละพื้นที่ของพนักงาน เป็นต้น

     การตลาด การขาย และการบริการ สำหรับธุรกิจด้านนี้ ระบบ AI เข้ามามีบทบาทได้อย่างหลายอย่าง เช่น ช่วยพัฒนากลยุทธ์การขาย การดูแล และให้บริการลูกค้า รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อดูความต้องการของลูกค้าในแต่ละกลุ่มได้ รวมถึงการเก็บข้อมูลประวัติการใช้งานเว็บไซต์ การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำมาใช้ในการโฆษณาทางออนไลน์ และนำมาปรับปรับใช้กับระบบการขาย และการบริการให้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ระบบ AI ยังสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า และวิจัยการตลาดจากข้อมูลเชิงลึก ซึ่งจะช่วยทำให้ธุรกิจสามารถประเมินความสำเร็จ และทำให้เกิดการพัฒนาธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ในอนาคต อีกทั้ง AI ยังเข้ามาช่วยยกระดับการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งช่วยในการเพิ่มยอดขายได้ เช่น การนำ AI ตรวจจับใบหน้าเข้ามาใช้งาน เพื่อช่วยดูแลและให้บริการลูกค้าอย่างทั่วถึง รวดเร็ว และทันท่วงที เมื่อลูกค้ามีปัญหา หรือต้องการความช่วยเหลือ หรือการใช้ Face Recognition Smart Retail สามารถเพิ่มยอดขายได้ โดย AI สามารถประมวลผล และส่ง Sales guide ข้อแนะนำในการขายและการให้บริการเฉพาะบุคคล ให้กับพนักงานขายแบบ real-time เพื่อให้พนักงานสามารถให้การให้บริการแบบตรงใจ Personalization services กับลูกค้าคนสำคัญได้นั่นเอง

     การวิจัยและการพัฒนา เทคโนโลยี AI มีระบบการทำงานในเรื่องของการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากได้อย่างดีเยี่ยมและเกิดข้อผิดพลาดได้น้อยมาก ดังนั้น ในด้านการวิจัย การพัฒนาต่าง ๆ จะทำให้ได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และมีความถูกต้องสูง ไม่ว่าจะในด้านอุตสาหกรรมไหน ๆ จะยิ่งพัฒนาให้สินค้านั้นเกิดผลสำเร็จได้อย่างมากเลยทีเดียว
     การบริหารทรัพยากรบุคคล ในส่วนการจัดสรรบุคลากร รวมถึงการบริหารทรัพยากรบุคคล ระบบ AI มีความสามารถในการจัดการกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย เช่น AI สามารถช่วยแผนกทรัพยากรบุคคลในการวิเคราะห์ และจัดการข้อมูลต่าง ๆ อย่างการคัดเลือกผู้สมัครงานจำนวนมากให้ง่ายขึ้น แชทบอทสามารถช่วยตอบคำถามที่ผู้สมัครถามเข้ามาได้แบบอัตโนมัติ เช่น นโยบายของบริษัท หรือสวัสดิการต่าง ๆ
     การจัดด้าน IT อาจนับว่าเป็นส่วนแรกๆ ในการนำระบบ AI มาใช้ในแวดวงธุรกิจ และอุตสาหกรรมเลยก็ว่าได้ ด้วยความสามารถของเทคโนโลยี AI จะช่วยทำให้กระบวนการที่อาศัยการทำงานแบบซ้ำ ๆ สามารถทำงานได้แบบอัตโนมัติ ทำให้ทางทีม IT สามารถประเมินปัญหา และป้องกันก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งระบบ AI ได้เข้ามาช่วยพัฒนาระบบ และการบริการให้ดียิ่งขึ้น

      การผลิต ระบบ AI จะช่วยในส่วนที่เป็นงานที่ซับซ้อน ซึ่งในกระบวนการผลิตต่าง ๆ ต้องใช้ความประณีต และทำเหมือนเดิมตลอด การนำ AI มาประยุกต์ใช้ตรงนี้จึงช่วยเพิ่มผลผลิต และช่วยลดข้อผิดพลาดในการผลิตได้อีกด้วย จึงทำให้การผลิตดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง

     บัญชีและการเงิน ในระบบการทำงานที่ต้องทำแบบซ้ำ ๆ และมีข้อมูลตัวเลขจำนวนมหาศาล การนำความสามารถของระบบ AI มาใช้ ช่วยทำให้พนักงานแผนกบัญชีไม่ต้องมาทำงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ แล้วไปโฟกัสงานที่สำคัญกว่าได้ แถมยังช่วยลดความผิดพลาดจากข้อมูลจำนวนมากได้อีกด้วย นอกจากนี้ AI ยังสามารถอ่านข้อความจากเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF หรือไฟล์รูปภาพ ไปจนถึงลายมือในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และแปลงเป็นรูปแบบของตัวอักษรหรือข้อความ ที่จะสามารถนำไปประมวลผลและใช้สำหรับค้นหา ด้วยการจัดทำดัชนีเอกสาร ช่วยให้ค้นหาไฟล์ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วผ่านการค้นหาด้วย keyword ที่ตั้งไว้ ได้ด้วย OCR หรือ Optical Character Recognition หรือตัวช่วยแปลงไฟล์เอกสารนั่นเอง

     ธุรกิจ E-Commerce ระบบ AI เป็นที่นิยมมากในธุรกิจ E-Commerce โดยธุรกิจส่วนใหญ่ได้นำ AI มาใช้งานหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำสินค้า การค้นหาอัจฉริยะ การวิเคราะห์ข้อมูลยอดขาย และวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อขายของลูกค้า ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจ E-Commerce ประเมินสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ และนำมาปรับปรุง พัฒนาประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าที่มาซื้อของบนแพลตฟอร์มออนไลน์

    การบริหารจัดการธุรกิจ ในการบริหารจัดการธุรกิจไม่ว่าธุรกิจไหน ก็ต้องมีเรื่องให้จัดการมากมาย ระบบ AI จึงเป็นประโยชน์มากทั้งในเรื่องของการจัดประเภทอีเมล์ การตอบอีเมล การใช้ Siri ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกได้อัตโนมัติ การตอบคำถามการบริการแก่ลูกค้า ฟีเจอร์การแปลงเสียงเป็นตัวอักษร รวมไปถึงช่วยเรื่องตรวจสอบความปลอดภัย

ประโยชน์ของการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในทางธุรกิจ
      ทุกคนได้ทราบถึงความสำคัญของระบบ AI กันแล้ว ดังนั้น ส่วนนี้เรามาพูดถึงประโยชน์ของการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ทางธุรกิจ โดยมีหลากหลายด้านแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับกระบวนการของแต่ละธุรกิจว่าต้องการให้ AI ไปช่วยพัฒนาในด้านไหน ดังนี้
     1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบ : ระบบ AI จะทำการวิเคราะห์ข้อมูล การใช้ทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อลดค่าใช้จ่ายในองค์กร ไปจนถึงช่วยให้กระบวนการทำงานที่ซับซ้อน ทำงานอัตโนมัติ และทำการประเมินความต้องการในการซ่อมแซมเครื่องจักรล่วงหน้าได้
    2. มีความแม่นยำ ช่วยในการตัดสินใจ : ระบบ AI จะช่วยวิเคราะห์ข้อมูลให้สมบูรณ์ และความสามารถในการคาดการณ์รูปแบบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งจะทำให้การตัดสินใจมีคุณภาพ และมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น
   3. มีความอัจฉริยะ : ระบบ AI เป็นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นจึงแตกต่างจากมนุษย์ AI จะสามารถเติมช่องว่าง และคว้าโอกาสที่มีอยู่ในตลาดได้เร็ว ทำให้ธุรกิจมีการนำเสนอสินค้า และบริการในช่องทางใหม่ๆ ได้มาก
   4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้พนักงาน : ระบบ AI มีเครื่องมือที่สามารถช่วยแนะนำในการทำงานและจัดการ dashboard ต่าง ๆ เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแบบ real-time ช่วยในการวิเคราะห์หาจุด bottleneck ในการผลิต และการแก้ไข เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงานให้กับพนักงานได้
    5. ช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า : ด้วยหลักการ Machine Learning ทำให้มีข้อมูลของลูกค้าอย่างละเอียด จึงสามารถตอบคำถามได้อัตโนมัติ และรวดเร็วจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ รวมถึงยังมีความสามารถในการวิเคราะห์จำนวนการยืนต่อคิวที่เคาน์เตอร์จ่ายเงิน ใน retail shop ทำให้กระบวนการในการชำระเงิน ทำได้รวดเร็วขึ้น ทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น ธุรกิจจะเติบโตขึ้น เพราะสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง และคงมาตรฐานไว้ได้อย่างดี
    6. ช่วยจดจำใบหน้าลูกค้าคนสำคัญ : ด้วยระบบ AI จดจำใบหน้าที่ช่วยให้พนักงานขายไม่พลาดที่จะเข้าไปบริการลูกค้าได้อย่างทันท่วงที ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเป็นคนสำคัญ
    7. ช่วยวิเคราะห์จำนวนลูกค้า : แน่นอนว่าร้านค้า ห้างสรรพสินค้า หรือ Retail Shop ต้องมีลูกค้า และผู้เข้ามาใช้บริการมากมาย ถ้าได้ระบบ AI ตรวจจับใบหน้าเข้ามาช่วยวิเคราะห์จำนวนลูกค้าที่รอคิว เพื่อให้กระบวนการชำระเงินทำได้รวดเร็ว ก็จะส่งผลให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจมากขึ้น

ประโยชน์ของการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในชีวิตประจำวัน
1. ด้านความบันเทิง YouTube, Netflix, TikTok นำข้อมูลหนังหรือคลิปวีดีโอที่ลูกค้าเข้าชมบ่อยมาปรับใช้กับระบบแนะนำภาพยนต์หรือวีดีโอ
2. การทำงานอัตโนมัติ เช่น ตัวช่วยอย่าง Siri และ Alexa ที่สามารถรับคำสั่งจากเสียงของผู้ใช้งาน โดยทำหน้าที่ช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกในบ้าน ตอบคำถามต่าง ๆ รวมไปถึงสั่งของออนไลน์ได้
3. การตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสม เช่น Grammarly เป็นโปรแกรมสามารถช่วยตรวจสอบความถูกต้องของคำ และไวยากรณ์ของภาษาซึ่งเป็นตัวช่วยได้ดีสำหรับธุรกิจที่ต้องการเขียน Content ภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ AI
      สิ่งใกล้ตัวเราที่ใช้ AI ในปัจจุบันนั้น คือ การสแกนใบหน้าโดยเทคโนโลยี Biometrics เพื่อปลดล็อคโทรศัพท์ของ Apple Face ID โดยการใช้เทคโนโลยี AI และ Machine Learning ในการจดจำใบหน้าไว้เพื่อเอาไว้ตัดสินว่าคนที่กำลังจะปลดล็อคโทรศัพท์นั้นใช่เจ้าของหรือไม่ โดยใช้เทคโนโลยี Biometrics นั่นก็คือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการระบุตัวตนและพิสูจน์ผู้ใช้งาน โดยใช้เทคนิคการนำเอกลักษณ์แต่ละบุคคลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่าง โดยเทคโนโลยีหลัก ๆ ที่ใช้ Biometrics 1. การสแกนใบหน้า 2.การสแกนลายนิ้วมือ 3. การสแกนม่านตา 4. การพิสูจน์ลายเซ็น 5. การพิสูจน์เสียง เป็นต้น

DALL·E 2 เป็น AI Art Generator ที่สามารถ Generate หรือสร้างรูปภาพโดยขึ้นโดยขึ้นอยู่กับการใส่ Keyword ของเรา เช่นในรูปภาพตัวอย่างได้ใส่ Keyword ว่า A Beagle eating pad Thai AI ก็จะสร้างผลงานศิลปะออกมาให้เราเห็น ซึ่ง AI ของ DALL·E 2 สามารถเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะอย่างอิสระหรือสร้างไอเดียในการผลิตงานศิลป์ให้กับสายงานต่าง

Bing Image Creator สามารถ Generate คำสั่งที่มนุษย์ได้ป้อนคำสั่งนั้น มาแปลงในรูปแบบของรูปภาพ คล้าย ๆ กับของ DALL·E 2 แต่ความสามารถของ Bing Image Creator นั้นไม่ได้มีแค่ภาพนิ่งเท่านั้นยังสามารถออกแบบข้อความตัวหนังสือ ภาพ และวีดีโอได้อีกด้วย

Google Bard อีกหนึ่ง AI ในรูปแบบ Chatbot ของ Google ที่เพิ่งประกาศเปิดตัวในวันที่ 21 มีนาคม 2023 ซึ่ง ณ เวลาสามารถเข้าไป Join waitlist เพื่อทดลองใช้งานได้แล้ว  
ตัวอย่างฟังก์ชันที่ทำได้
•    ช่วยเขียนนวนิยายได้
•    ไกด์สิ่งของสำหรับเดินทางในสุดสัปดาห์
•    ให้คำแนะนำอาหารมีโปรตีนสูงสำหรับคนที่เป็น Vegan

ChatGPT ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากระแสการเข้ามาของ ChatGPT มาแรงถึงขั้นหลาย ๆ คนต่างเอามาทำคอนเทนต์ หรือไม่ก็เอามาเพื่อส่งเสริมงานให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นในเวลาอันสั้น ซึ่ง ChatGPT เป็น AI ประเภท Chatbot โดย Chat GPT สามารถตอบคำถามในสิ่งที่คุณสงสัยอย่างรวดเร็ว ด้วยรูปประโยคที่เข้าใจง่าย และมีความสร้างสรรค์เป็นธรรมชาติเหมือนมนุษย์มาโต้ตอบกับคุณ
ตัวอย่างฟังก์ชันที่ทำได้
•    ช่วยเขียนเรียงความ
•    ช่วยเขียนรูปแบบอีเมล
•    ช่วยเขียนโปรเเกรมเบื้องต้น
•    ช่วยบอกสูตรอาหารที่คุณอาจไม่เคยรู้
•    ช่วยวางแผนการท่องเที่ยว
•    ช่วยหาโปรเเกรมต่าง ๆ ที่คุณอาจไม่รู้ในอินเตอร์เน็ต

 

<< Go Back