การใช้ AI ในสร้างสื่อการสอนในรูปแบบ VDO ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมเนื้อหา โดยใช้ Google Bard 2. ในช่องให้ใส่ข้อความที่ต้องการเช่น สร้างนิทานคุณธรรมเรื่องความมีน้ำใจ ให้ทาง google bard ทำการ generate ข้อความมาให้ เมื่อใส่ข้อความแล้วคลิกที่ปุ่ม จะแสดงข้อมูลที่สอบถามไปขึ้นมาให้ และยังมีร่างคำตอบอื่น ๆ ให้เราเลือกได้อีก เราสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้งาน โดยเราสามารถปรับข้อมูลเหล่านั้นได้ตามต้องการ ตัวอย่างข้อมูล วันหนึ่ง ไข่มุกกำลังเดินเล่นอยู่ริมแม่น้ำ ก็เห็นชายแก่คนหนึ่งกำลังนั่งร้องไห้อยู่ ไข่มุกจึงเข้าไปถามด้วยความเป็นห่วง ชายแก่เล่าว่า เขาหลงทางมา และไม่รู้ว่าจะกลับบ้านอย่างไร ไข่มุกจึงอาสาช่วยพาชายแก่กลับบ้าน ไข่มุกพาชายแก่เดินลัดเลาะไปตามแม่น้ำ ในที่สุดก็มาถึงหมู่บ้านของชายแก่ ชายแก่รู้สึกขอบคุณไข่มุกมาก เขาบอกว่า ไข่มุกเป็นเด็กดีมีน้ำใจ ไข่มุกยิ้มและบอกว่า “ไม่เป็นไรค่ะ หนูแค่อยากช่วย” ชายแก่ให้รางวัลไข่มุกเป็นถุงผลไม้มากมาย ไข่มุกดีใจมาก เธอขอบคุณชายแก่และนำผลไม้กลับบ้านไปแบ่งปันกับพ่อแม่และเพื่อนบ้าน พ่อแม่ของไข่มุกภูมิใจในตัวไข่มุกมาก พวกเขาบอกว่า “ลูกเป็นเด็กดีมีน้ำใจ พ่อกับแม่จะสอนลูกให้เป็นคนดีแบบนี้ตลอดไป” ไข่มุกเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ เธอยังคงเป็นคนดีมีน้ำใจ ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ เธอเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับคนรอบข้างว่า ความมีน้ำใจเป็นสิ่งที่มีค่าและควรค่าแก่การส่งเสริม คติสอนใจ ความมีน้ำใจเป็นคุณธรรมที่ทุกคนควรมี เราสามารถแสดงน้ำใจได้หลากหลายวิธี เช่น ช่วยเหลือผู้อื่นยามลำบาก แบ่งปันสิ่งของกับผู้อื่น พูดจาไพเราะอ่อนโยน มีน้ำใจต่อสัตว์ เป็นต้น เมื่อเรามีน้ำใจต่อผู้อื่น ผู้อื่นก็จะมีน้ำใจต่อเราเช่นกัน โลกก็จะน่าอยู่ขึ้น คำถามชวนคิด ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมรูปภาพโดยใช้ Ai ในการสร้าง 1. ต้องกำหนด Prompt ที่ใช้ในการ Generate ภาษาที่เหมาะสมในการ Gen คือภาษาอังกฤษ ถ้าไม่รู้ภาษาอังกฤษ ให้ใช้โปรแกรมแปลภาษา เช่น translate google ให้เข้าที่เว็บไซต์ https://translate.google.com/ กำหนดภาษา 2. คัดลอกข้อความภาษาอังกฤษไว้ แล้วไปที่ https://leonardo.ai/ ทำการเข้าสู่ระบบให้เรียบร้อย
4. คลิกเลือกจำนวนรูปภาพผลลัพธ์ที่ต้องการ
5. กำหนดขนาดรูปภาพ
6. ให้ใส่ prompt และเลือกรูปแบบโมเดล Select Other Model
7. เลือกรูปแบบโมเดลเป็น 3D Animation Style แล้วคลิกปุ่ม Generate
8. ภาพที่ได้จากการ Generate
สามารถบันทึกรูปภาพเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยการนำเมาส์ไปชี้ที่รูปภาพที่ต้องการแล้วเลือก Download image
เลือกสถานที่บันทึก และเปลี่ยนชื่อของรูปภาพ จากนั้นกดปุ่ม Save
ถ้าต้องการรูปใหม่ก็สามารถ Generate ได้อีกเรื่อย ๆ จนกว่าเหรียญจะหมด โดยจะมีการหักเหรียญตามจำนวนภาพ และขนาดภาพ 9. จากนั้นให้ทำการ Generate รูปภาพตามข้อมูลที่มีเพื่อนำมาทำเป็น Story ของนิทาน
ขั้นตอนที่ 3 การเตรียมเสียง โดยใช้ Google Bard 1. เข้าที่ Google Bardโดยใช้ ข้อมูลที่เราได้ทำการหาไว้แล้วก็คือ ข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 โดยมีวิธีการนำเสียงมาใช้ 2. ให้เข้าไปที่ข้อมูลที่หา แล้วคลิกขวาที่รูปลำโพง
3. เลือก ตรวจสอบ
4. คลิกเลือก Network จากนั้นคลิกเลือกที่ Media
5. ย้อนกลับไปคลิกที่ลำโพงเพื่อเปิดการใช้งานเสียง
6. มีไฟล์เสียงปรากฏขึ้นมาให้
7. ให้คลิกขวาที่ไฟล์เสียงเลือกคำสั่ง Open in new tab 8. จะเปิดหน้า browser ใหม่ ตามรูป ให้คลิกที่ จุด 3 จุด แล้วเลือกคำสั่ง Download เลือกสถานที่เก็บเปลี่ยนชื่อ แล้วคลิกปุ่ม Save
ขั้นตอนที่ 4 การตัดต่อวิดีโอ โดยใช้โปรแกรม Canva
3. จากนั้นให้ทำการอัพโหลดรูปภาพที่ Generate โดยคลิกที่ อัพโหลด > อัพโหลดไฟล์ เลือกภาพที่ต้องการและคลิกที่ปุ่ม open 4. ในฉากที่ 1 ให้นำรูปภาพที่สอดคล้องกับเนื้อหามาใส่ในหน้าที่ 1 ขยายรูปภาพให้เต็มจอ
เราสามารถลบส่วนที่ไม่ต้องการออกได้ หรือเพิ่มเติมฉากด้านหลัง โดยมีเครื่องมือ Ai ช่วย เช่น - เครื่องมือ Magic Eraser ลบวัตถุที่ไม่ต้องการ - เครื่องมือ Magic Expand เพิ่มเติมรูปภาพ - เครื่องมือ Magic Grab ย้ายวัตถุ วิธีการใช้เครื่องมือเหล่านี้ คลิกที่ภาพ แล้วเลือกที่คำสั่งตกแต่งภาพถ่าย เลือกเครื่องมือ Magic Eraser เมาส์จะเปลี่ยนเป็นวงกลม แล้วนำไประบายตรงวัตถุที่จะลบออก จะได้ภาพที่ลบวัตถุออกแล้ว
เลือกเครื่องมือ Magic Expand เพื่อให้ Ai ช่วยเติมภาพให้
เลือก ทั้งหน้า แล้วคลิกที่ปุ่ม Magic Expand
จะมีรูปตัวอย่างขึ้นมาให้เลือก 4 รูปให้เราเลือกใช้งาน ใส่การเคลื่อนไหวให้กับรูปภาพ คลิกที่รูปภาพ แล้วคลิกที่เคลื่อนไหว เลือกรูปแบบการเคลื่อนไหว
การสร้างแอนิเมชั่นแบบกำหนดเอง คลิกรูปภาพค้างไว้แล้วลากไปยังตำแหน่งอื่น เมื่อได้ตำแหน่งแล้ว ให้ปล่อยเมาส์ จะมีแถบคุณสมบัติขึ้นมาให้เราปรับแต่งเพิ่มเติม เช่นสไตล์การเคลื่อนไหว ความเร็ว หรือเพิ่ม Motion Effects เมื่อปรับแต่งเรียบร้อยคลิกที่ปุ่มเสร็จสิ้น ให้ทำการใส่รูปภาพที่ได้เตรียมไว้ให้ครบและตกแต่ง ใส่การเคลื่อนไหวให้ครอบทุกฉาก การนำเสียงบรรยายมาใส่ในวิดีโอ 1. กำหนดเสียงบรรยายให้สอดคล้องกับรูปภาพที่มี หรือมีการสร้าง Story board เพื่อง่ายต่อการใส่เสียงบรรยาย กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเด็กหญิงคนหนึ่งชื่อ ไข่มุก เธอเป็นเด็กดีมีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ ไข่มุกอาศัยอยู่กับพ่อแม่ในหมู่บ้านเล็ก ๆ ริมแม่น้ำ ทุกวันไข่มุกจะตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อช่วยแม่ทำกับข้าว ล้างจาน และเก็บกวาดบ้าน วันหนึ่ง ไข่มุกกำลังเดินเล่นอยู่ริมแม่น้ำ ก็เห็นชายแก่คนหนึ่งกำลังนั่งร้องไห้อยู่ ไข่มุกจึงเข้าไปถามด้วยความเป็นห่วง ชายแก่เล่าว่า เขาหลงทางมา และไม่รู้ว่าจะกลับบ้านอย่างไร ไข่มุกจึงอาสาช่วยพาชายแก่กลับบ้าน ไข่มุกพาชายแก่เดินลัดเลาะไปตามแม่น้ำ ในที่สุดก็มาถึงหมู่บ้านของชายแก่ ชายแก่รู้สึกขอบคุณไข่มุกมาก เขาบอกว่า ไข่มุกเป็นเด็กดีมีน้ำใจ ไข่มุกยิ้มและบอกว่า “ไม่เป็นไรค่ะ หนูแค่อยากช่วย” ชายแก่ให้รางวัลไข่มุกเป็นถุงผลไม้มากมาย ไข่มุกดีใจมาก เธอขอบคุณชายแก่และนำผลไม้กลับบ้านไปแบ่งปันกับพ่อแม่และเพื่อนบ้าน
พ่อแม่ของไข่มุกภูมิใจในตัวไข่มุกมาก พวกเขาบอกว่า “ลูกเป็นเด็กดีมีน้ำใจ พ่อกับแม่จะสอนลูกให้เป็นคนดีแบบนี้ตลอดไป” ไข่มุกเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ เธอยังคงเป็นคนดีมีน้ำใจ ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ เธอเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับคนรอบข้างว่า ความมีน้ำใจเป็นสิ่งที่มีค่าและควรค่าแก่การส่งเสริม 2. คลิกที่อัพโหลด เลือกคำสั่งอัพโหลดไฟล์ แล้วเลือกไฟล์เสียง เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม Open
การนำเสียงใส่ใน timeline ให้คลิกเสียงที่ต้องการ โปรแกรมจะดึงเสียงใส่ใน timeline อัตโนมัติ ให้ทดลองฟังแล้วค่อยๆ ปรับเวลาของฉากให้ตรงกับเสียงบรรยาย การปรับขยายหรือลดเวลาการเล่นของฉาก ให้คลิกที่ ฉากแล้วไปยังตำแหน่งสุดท้ายของฉาก คลิกค้างไว้แล้วเลื่อนเข้าเลื่อนออกได้ตามต้องการ ค่อยๆ ฟังเสียงบรรยายแล้วค่อยๆ ปรับแต่ละฉากจนครบทุกฉาก การใส่ Effect การเปลี่ยนฉาก นำเมาส์ไปชี้ตรงช่องระหว่างฉาก จะปรากฏ ให้คลิกเพื่อตั้งค่าการเปลี่ยน เลือกรูปแบบการเปลี่ยนและใส่ให้ครบทุกฉาก เมื่อทำการตกแต่งวิดีโอเรียบร้อยแล้ว ถึงขั้นตอนในการดาวน์โหลดเพื่อนำไปใช้งาน ให้คลิกที่ปุ่ม แชร์ แล้วเลือกที่ ดาวน์โหลด เลือกประเภทไฟล์
เมื่อได้ไฟล์ วิดีโอมาแล้วก็สามารถนำไปใช้งานได้ |