การใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลข่าวสาร จะทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลและข่าวสารนั้นมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถทำกรรมวิธีต่างๆ เช่น การเลือกกลุ่มการปรับปรุง ข้อมูล เป็นต้น ในการนำข้อมูลเข้าและออกจากสื่อบันทึกนั้นจำเป็นต้องมีโปรแกรมที่มาจัดการฐานข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งเรียกว่า “ระบบฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS)” Microsoft Access 2013 เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลหนึ่งที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายบนระบบปฏิบัติการ Windows เนื่องจากเป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีความสามารถสูง ใช้งานง่าย และสามารถช่วยในการสร้างระบบจัดการฐานข้อมูลแบบใช้งานเองหรือระบบจัดการฐานข้อมูลบนระบบเครือข่ายก็ได้
สำหรับความสามารถใหม่ๆ ของโปรแกรม Microsoft Access 2013 นั้นจะเน้นไปที่การใช้งานที่ง่ายในการจัดการหรือสร้างฐานข้อมูล ซึ่งส่วนที่เด่นชัดที่เพิ่มเติมมาจากรุ่น Access 2010 นั่นก็คือ
สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows 7 ลงมา สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows 8
วิธีที่ 2 ใช้เมาส์เลื่อนไปที่มุมขวาด้านล่างของหน้าจอ คลิกที่คำสั่ง Search แล้วพิมพ์คำว่า Access แล้วคลิกที่ Access 2013 เมื่อเข้าสู่โปรแกรมแล้ว จะปรากฏหน้าต่างของโปรแกรม Microsoft Access 2013 ดังรูป เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Microsoft Access 2013 จะเจอหน้าต่างแรกของโปรแกรม Microsoft Access 2013 ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่เป็นเครื่องมือในการทำงานของโปรแกรม ดังนี้ ไฟล์ (File) รวบรวมชุดคำสั่งจัดการฐานข้อมูล เช่น การสร้าง การเปิดไฟล์งาน การบันทึก การพิมพ์ และการกำหนดตัวเลือกการทำงานเริ่มต้นของโปรแกรม
การเปิดไฟล์ฐานข้อมูลที่เพิ่งปิดไป ให้คลิกที่แท็บ ไฟล์ แล้วคลิกที่เมนู เปิด จากนั้นคลิกที่ ล่าสุด แล้วเลือกชื่อไฟล์ฐานข้อมูล (ถ้ามีไฟล์ที่ใช้ประจำ ให้คลิกที่ไอคอน ด้านหลังไฟล์ เพื่อปักหมุดไฟล์นั้นให้แสดงเป็นลำดับแรกในรายการเสมอ) การบันทึกไฟล์ฐานข้อมูล สามารถบันทึกไฟฐานข้อมูลได้โดยคลิกที่แท็บ ไฟล์ เลือกเมนู บันทึก แต่ถ้าต้องการบันทึกไฟล์เป็นเวอร์ชั่นอื่นๆ จะต้องเลือกเมนู บันทึกเป็น โดยจะมีเวอร์ชั่นให้เลือกทั้งหมด 4 เวอร์ชั่น ดังนี้ การเข้ารหัสไฟล์ฐานข้อมูล ใช้ตั้งรหัสผ่านเข้าใช้งานฐานข้อมูล เมื่อเปิดไฟล์ฐานข้อมูลในครั้งต่อไปจะมีหน้าต่างให้กรอกรหัสผ่านทุกครั้งที่มีการเปิดใช้งานไฟล์ฐานข้อมูล ตั้งค่าบัญชีผู้ใช้ ใน Access 2013 จะมีเมนู Account (บัญชีผู้ใช้) เพิ่มเข้ามาในแท็บ ไฟล์ สำหรับเข้าถึงแหล่งข้อมูลของบัญชีที่เราลงชื่อเข้าใช้เป็นสมาชิกอยู่ เช่น การบันทึกและดึงไฟล์ข้อมูลจาก OneDrive การเปลี่ยนพื้นหลังหรือธีมให้กับหน้าต่างโปรแกรม เป็นต้น ถ้าหากเรายังไม่ได้ล็อกอินเข้าใช้งานบัญชีผู้ใช้ สามารถทำได้ดังนี้ เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว ก็จะปรากฏข้อมูลผู้ใช้งานแสดงขึ้นมา ดังรูป Quick Access Toolbar (แถบเครื่องมือด่วน) จะรวบรวมปุ่มคำเครื่องมือที่ใช้งานบ่อย ซึ่งตามค่าเริ่มต้นจะแสดงปุ่มคำสั่ง Save, Undo และ Redo แต่สามารถเพิ่มคำสั่งอื่นได้อีก Navigation Pane (หน้าต่างนำทาง) เป็นแถบแสดงและเปิดส่วนประกอบต่างๆ ที่เราสร้างขึ้นในฐานข้อมูล สามารถย่อย/ขยาย เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการสร้างฐานข้อมูลได้ View Selector (สลับมุมมองการทำงาน) มีให้เลือก 2 มุมมอง คือ มุมมองแผ่นข้อมูล และมุมมองออกแบบ แท็บ Ribbon ในโปรแกรม Access จะมีหลายชุดด้วยกัน แต่ละชุดจะใช้งานตามลักษณะของการจัดการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 แท็บหลัก ซึ่งเป็นการทำงานทั่วไป และมีแท็บคำสั่งพิเศษที่เรียกว่า “Contextual Tab” แท็บ Create (สร้าง) รวมคำสั่งเกี่ยวกับการสร้างออบเจ็กต์ของฐานข้อมูลทั้งหมดเอาไว้ โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ได้แก่ เทมเพลต ตาราง คิวรี ฟอร์ม รายงาน แมโครและโค้ด แท็บ External Data (ข้อมูลภายนอก) แสดงรายการคำสั่งเกี่ยวกับการนำฐานข้อมูลจากภายนอกมาใช้ใน Access เช่น Excel, Word และการส่งออกข้อมูลจาก Access ไปใช้งานยังโปรแกรมอื่นๆ แท็บ Database Tools (เครื่องมือฐานข้อมูล) ประกอบด้วยคำสั่งที่ใช้จัดการฐานข้อมูล เช่น การสร้างความสัมพันธ์ (Relationship) ระหว่างตาราง การทำงานร่วมกับแมโคร การติดต่อกับฐานข้อมูล SQL Server และการสร้างรหัสผ่านให้กับฐานข้อมูล เป็นต้น
แท็บ Contextual Tab (แท็บพิเศษ) จะแสดงขึ้นมาเมื่อใช้คำสั่งสร้างหรือเลือกออบเจ็กต์ต่างๆ ภายในฐานข้อมูล เช่น เมื่อเลือกตารางจะได้เครื่องมือตาราง (Table Tools) หรือเมื่อสร้างฟอร์มก็จะมีเครื่องมือ Form Tools ปรากฏขึ้นมา เป็นต้น
|